บทที่ ๒
แนวคิด
หลักการ ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด หลักการ
ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พุทธศักราช ๒๕๕๑
๒. การอ่าน
๓. การเขียน
๔. บทความ/งานวิจัยปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทย
๕. แนวคิดและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานในการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย
๖. การสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย
๗. การวิจัยปฏิบัติการ
๘. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๑
รายวิชา ท.๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ที่๑ จำนวน ๒๐๐
ชั่วโมง
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ได้เน้นความสำคัญว่า ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนาธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ
เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย
เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันใน สังคมได้อย่างสันติสุข
และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการ พัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทาง
๑๐
เศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้าน วัฒนธรรม
ประเพณี และสุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คง
อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มไว้เฉพาะ ส่วนที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเป็น
8 กลุ่มสาระ คือ
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา
ศิลปะ การงานอาชีพและ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๑
: ๓๗) ทักษะที่สำคัญของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดขอบข่าย สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ๙ (ส
านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
๒๕๕๑ : ๒-๔) ประกอบด้วย
สาระที่ ๑ : การอ่าน
สาระที่ ๒ : การเขียน
สาระที่ ๓ : การฟัง การดู และการพูด
สาระที่ ๔ : หลักการใช้ภาษา
สาระที่ ๕ : วรรณคดีและวรรณกรรม
รายละเอียดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มีดังนี้
สาระที่
๑ การอ่าน
ตัวชี้วัด
๑. อ่านออกเสียงคำ
คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
๒. บอกความหมายของคำ
และข้อความที่อ่าน
๓.
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๔.
เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
๕.
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่อง ที่อ่าน
๑๑
๖.
อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
๗. บอกความหมายของ
เครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน
๘. มีมารยาท ในการอ่าน
ฝึกอ่านสะกดคำตามมาตราตัวสะกด
การผันวรรณยุกต์ อักษรสูง อักษรกลางและอักษรต่ำ การอ่านออกเสียงถูกต้องตามอักษรวิธี
อ่านได้คล่อง จำคำได้แม่นยำ เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
การอ่านในใจหาใจความสำคัญและรายละเอียดเรื่องที่อ่านโดยหาคำสำคัญของประโยคและข้อความ
ใช้กระบวนการอ่านพัฒนาการอ่านตอบคำถาม คาดคะเนเรื่องหรือเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
นำความรู้จากการอ่านกำหนดแนวทางปฏิบัติ
การอ่านในใจและการอ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วและบทร้อยกรอง
รู้จักเลือกอ่านเลือกอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ทั้งประเภทความรู้และความบันเทิง
มีมารยาทการอ่านและนิสัยรักการอ่าน สาระที่ ๒ การเขียน
ตัวชี้วัด
๑.
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
๒. เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ
๓. มีมารยาทในการเขียน
ฝึกปฏิบัติตนในการเขียนคำสะกดคำใหม่ จำนวน ๔๕๐
คำ การเขียน ตามคำบอก และบอกความหมายของคำ การเรียงประโยคจากคำที่กำหนด
เรียงความจากภาพเขียนเรื่องตามความคิด ความรู้สึกหรือจินตนาการ จดบันทึกประจำวัน ทั้งความรู้
ประสบการณ์ และเรื่องราว ในชีวิตประจำวัน ฝึกนิสัยรักการเขียน และมีมารยาท ในการเขียนอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีทักษะในการเขียน เขียนได้อย่างถูกต้องสวยงาม มีระเบียบ
สื่อความหมายได้
รู้หลักเกณฑ์การเขียน
และเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้สามารถนำการเขียน ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตจริงได้ มีนิสัยที่ดี
ในการเขียนและรักการเขียน
สาระที่ ๓ การฟัง การดู
และการพูด
ตัวชี้วัด
๑.
ฟังคำแนะนำ
คำสั่งง่ายๆ และปฏิบัติตาม
๑๒
๒.
ตอบคำถามและเล่าเรื่องที่ฟัง และดู ทั้งที่เป็นความรู้และ ความบันเทิง
๓.
พูดแสดงความคิดเห็นและ ความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
๔.
พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์
๕.
มีมารยาทในการฟัง การดู และ การพูด
การฟัง การดู และการพูด
ฝึกการฟัง การดู และการพูด
การจับใจความสำคัญสิ่งที่ฟังและดู
การใช้ถ้อยคำ
น้ำเสียงและกิริยาท่าทาง
การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การสนทนา
การพูดแสดงความคิดเห็น
การเล่าเรื่องถ่ายทอดความรู้ความคิดความรู้สึกและประสบการณ์ มีมารยาทที่ดีในการฟัง การดูและการพูด เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่ฟัง ดูและพูด
สามารถจับใจความสำคัญอย่างถูกต้อง
แสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง
พูดเล่าเรื่องได้
รวมถึงการตั้งคำถาม
การตอบคำถามจากสิ่งที่ฟังและดูและประสบการณ์ จาก สิ่งที่ได้ฟังและดูได้ มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูดที่ดี
สาระที่ ๔
หลักการใช้ภาษา
ตัวชี้วัด
๑. บอกและเขียนพยัญชนะ สระ
วรรณยุกต์ และเลขไทย
๒.
เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ
๓.
เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่าย ๆ
๔.
ต่อคำคล้องจองง่ายๆ
ฝึกใช้หลักการทางภาษา พัฒนาคำศัพท์
การสะกดคำและแจกลูก การประสมคำอ่านคำ การเขียนคำ การผันวรรณยุกต์การกลุ่มคำตามชนิด
และหน้าที่ ประโยคการเรียงลำดับคำ การเรียงประโยคตามลำดับเหตุการณ์ คำสุภาพ
การพูดทักทายขอบคุณ การสนทนา
การแสดงความคิดเห็น
การสนทนาด้วยภาษาไทยกลางและภาษาถิ่น
คำคล้องจองการแต่งคำคล้องจอง ๒ พยางค์
ปริศนาคำทายบทร้องเล่น
ตัวเลขไทย
การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
เพื่อให้สามารถนำหลักการทางภาษาไปพัฒนาความรู้ ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกาลเทศะบุคคล
สื่อความได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ในการดำรงชีวิตจริงพร้อมทั้งใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนได้ถูต้องและสร้างสรรค์
สาระที่
๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
ตัวชี้วัด
๑. บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่าน หรือการฟังวรรณกรรม
ร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก
๒.
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และ บทร้อยกรอง
ตามความสนใจ
๓.การอ่านนิทาน
เรื่องสั้น บทร้อยกรอง บทความ ได้ข้อคิดเห็นจากสิ่งที่อ่าน
๑๓
๒. การอ่าน
๑.ความหมายของการอ่าน การอ่านเป็นความสามารถของมนุษย์และเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ของมนุษย์จึงถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น
การอ่านจึงมีผู้ให้ความหมาย ไว้หลายความหมายด้วยกัน ดังนี้ คือ
การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญในการสอนภาษาไทย
เป็นความสามารถของมนุษย์ที่เข้าใจการสื่อความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ
เข้าใจในเนื้อเรื่อง และแนวความคิดจากสิ่งที่อ่าน ดังนั้นจึงได้มีนักการศึกษา
และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอ่าน
ทั้งชาวไปและต่างประเทศได้ให้ความหมายของการอ่านดังนี้ การอ่าน หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้
การอ่านทำให้เป็นบุคคลมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทำให้เกิดกระบวนการและทักษะในการดำเนินชีวิต
ความหมายของการอ่านนั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างดังนี้
การอ่าน คือ
ว่าตามตัวหนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง ถ้าไม่ต้องออกเสียง
เรียกว่า อ่านในใจ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า
อ่านริมฝีปาก อ่านในใจ ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง คิด นับ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ : ๑๓๖๔)
สุนันทา มั่นเศรษฐ์วิทย์ (๒๕๔0, : ๒) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่าการอ่านหมายถึง
การเสาะแสวงหาความรู้นอกเหนือจากการสอนในห้องเรียนที่ครูให้และตัวของผู้อ่านนั้นได้มีการจดจำในเรื่องราวที่อ่านและนำมาคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ออกมาตามความเข้าใจของผู้อ่าน ถ้าพิจารณาในลักษณะของกระบวนการ
การอ่านคือลำดับขั้นที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความหมายของกลุ่มคำ ประโยค
ข้อความและเรื่องราวของสารที่ผู้อ่านสามารถบอกความหมายได้
แต่ถ้าพิจารณาในลักษณะของกระบวนการที่ซับซ้อนแล้วก็จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลายอย่างได้แก่
จิตวิทยาพัฒนาการ ภาษาศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษา
และวิชาการศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการนั้น หมายความว่า
ครูสอนอ่านจะต้องเข้าใจหลักจิตวิทยา
ประภัสสร ปันสวน (๒๕๔๗ : ๖ ) ได้มีความเห็นถึงความหมายของการอ่าน
ว่าการอ่านเป็นความสามารถที่จะเข้าใจความหมายที่เขียนมาแต่ละบรรทัดซึ่งผู้อ่านไม่ต้องไปสนใจกับรายละเอียดแต่จะต้องจับใจความสำคัญจากกลุ่มซึ่งสื่อความหมายา
จิราพร คำด้วง (๒๕๔๖ : ๗) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่านเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ยั่งยืนที่สุด
การอ่านทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
ทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
วาสนา บุญสม (๒๕๔๑ : ๑๒) และกัลยา ยวนมาลัย (๒๕๓๙ : ๘)
ได้ให้ความหมายของการอ่านในแนวใกล้เคียงว่า คือ
การพยายามทำความเข้าใจความหมายของตัวอักษร ถ้อยคำเครื่องหมายต่าง ๆ
ออกมาเป็นความคิดความเข้าใจแล้วนำความคิดความเข้าใจมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ดังนั้นหัวใจของการอ่านอยู่ที่การทำความเข้าใจความหมายของคำ
๑๔
นิตยา ประพฤติกิจ (๒๕๓๒ : ๑)
ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาทุกสาขาวิชาและการอ่านจะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน
บันลือ พฤษะวัน (๒๕๓๒ : ๒) ได้ให้ความหมายการอ่านไว้ดังนี้
๑. การอ่าน เป็นการแปลสัญลักษณ์ออกมาเป็นคำพูด
โดยการผสมเสียงเพื่อใช้ในการออกเสียงให้ตรงกับคำพูด การอ่านแบบนี้มุ่งให้สะกดตัวผสมคำอ่านเป็นคำ
ๆ ไม่สามารถใช้สื่อความโดยการฟังได้ทันที เป็นการอ่านเพื่อการอ่านออก
มุ่งให้อ่านหนังสือได้แตกฉานเท่านั้น
๒. การอ่าน เป็นการใช้ความสามารถในการผสมผสานของตัวอักษร
ออกเสียงเป็นคำหรือเป็นประโยค ทำให้เข้าใจความหมายในการสื่อความโดยการอ่าน
หรือฟังผู้อื่นอ่านแล้วรู้เรื่องเรียกว่า อ่านได้
ซึ่งมุ่งให้อ่านแล้วรู้เรื่องสิ่งที่อ่าน
๓. การอ่าน เป็นการสื่อความหมายที่จะถ่ายโยงความคิดความรู้จากผู้เขียน
ถึงผู้อ่าน การอ่านลักษณะนี้เรียกว่า อ่านเป็น ผู้อ่านย่อมเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน
โดยอ่านแล้วสามารถประเมินผลของสิ่งที่อ่านได้
สมพร มันตะสูตร
แพ่งพิพัฒน์ ( ๒๕๓๘ : ๘ ) กล่าวว่า การอ่าน คือ การับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์
หรือ หนังสือ โดยผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนได้ส่งสารอะไรมายังผู้อ่านทั้งในด้านความคิด
ความรู้ ความหมาย ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นว่าผู้เขียนตั้งใจจะแสดงความคิดอย่างไร
มีความหมายว่ากระไร เกี่ยวข้องถึงอะไรบ้าง
ลำดับขั้นของการอ่านจะเริ่มต้นตั้งแต่การทำความเข้าใจในถ้อยคำแต่ละคำ
กลุ่มคำแต่ละกลุ่ม และเรื่องราวแต่ละเรื่องราวที่เรียงรายต่อเนื่องกันอยู่ในย่อหน้าหนึ่ง
หรือในตอนหนึ่ง หรือในเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้อ่านต้องทำความเข้าใจไปทีละตอนเป็นลำดับ
ประเทิน มหาขันธ์ (๒๕๓o : ๑๓) ได้ให้ความหมายการอ่านไว้ว่า
เป็นกระบวนการในการแปลความหมายของตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่มีการจดบันทึกไว้
การอ่านที่แท้จริงผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมายของเรื่องที่อ่าน
ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานด้วย
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน์ (๒๕๓๕ :
๓) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า
เป็นการคิดที่สามารถเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ดี ย่อมนำไปสู่การคิดที่ดี
เพราะผู้อ่านจะได้ทราบแนวคิดต่าง ๆ จากเรื่องที่อ่าน
เกิดความรู้จากเรื่องที่อ่านนำมาจัดแยกแยะตีความหมาย
ก่อนที่จะเกิดเป็นแนวคิดของตนเอง
สมพร วัฒนศิริ (๒๕๓๘ : ๙ – ๑o ) กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารความคิดจากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน
เป็นการแปลความหมายตัวอักษรหรือสัญลักษณ์
ซึ่งเป็นสื่อกลางใช้แทนคำพูดให้ได้ความแจ่มแจ้งชัดเจนและเข้าใจความหมายสิ่งที่อ่าน
โดยสัมพันธ์กับประสบการณ์เกิดของผู้อ่าน
บัวแก้ว บัวเย็น (๒๕๓๘ : ๑๕ ) กล่าวว่า
การอ่านคือ
การถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรหรือภาพเป็นความคิดความเข้าใจของผู้อ่านและนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านเอง
๑๕
ทัศนีย์ ศุภเมธี (๒๕๔๒ : ๒๔) กล่าวว่า การอ่าน คือ
การแปลสัญลักษณ์ที่เขียนหรือพิมพ์ให้มีความหมายออกมา สัญลักษณ์ในภาษาไทย คือ คำ
ข้อความ
จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการสอนอ่านเพื่อนักเรียนจะต้องเข้าใจความหมายและนำไปใช้ในการฟัง
พูด และเขียนได้อย่างถูกต้อง
ประสารพร ชนะศักดิ์ (๒๕๔๒ : ๑o) กล่าวว่า การอ่าน คือ กระบวนการในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
โดยใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด
และการที่ผู้อ่านจะเข้าใจเรื่องราวตามเจตนารมณ์ของผู้เรียนเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับความสามารถทางภาษา ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม และทัศนคติของผู้อ่าน
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (๒๕๔๒ : ๑ ) กล่าวว่า การอ่าน คือ ความเข้าใจสัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร
คำและข้อความที่พิมพ์หรือเขียนขึ้นมา
แลปป์ (
Lapp, ๑๙๖๘ : ๔๖๓) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า
การอ่านเป็นกระบวนการรับรู้อักษร ความหมายของคำ ตีความของข้อเขียนมาเป็นความเข้าใจ
ขั้นตอนแรกของการอ่าน คือ เพื่อสื่อความหมาย กระบวนการของการอ่าน คือ
รับรู้ตัวอักษะ รู้จุดมุ่งหมาย สามารถสื่อความหมายของข้อความนั้น
และสร้างปฏิกิริยาตอบสนองกับความรู้ใหม่ที่ได้จากข้อเขียนซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้อ่านดี แลบ และเจ ฟลอด (D. Lapp and J. Flood, อ้างถึงใน
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์,๒๕๓๗ :
๒ ) ให้คำจำกัดความของการอ่านว่า
เป็นกระบวนการที่ผู้อ่านแปลความ คำ หรือสัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษรให้เข้าใจ
ซึ่งขั้นตอนของกระบวนการนี้มี ๓ ระดับ คือ
ระดับที่ ๑ การรับรู้ตัวอักษร คำ ประโยค และข้อความ
ระดับที่ ๒ การแปลความหมายของคำ ประโยคและข้อความ
ระดับที่ ๓ การทำความคุ้นเคยกับข้อมูลที่ได้ใหม่ โดยใช้ประสบการณ์เดิมหรือ
ความรู้เดิมช่วยในการตัดสินใจ
ชำเรือง พัชทรชนม์ (๒๕๓๕ : ๑๑ ) มีความเห็นในความหมายของการอ่านว่า
การอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีความสำคัญต่อการพัฒนาถาวร
และความอยู่รอดของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรฝึกทักษะและกระบวนการอ่าน
วัชรี บูรณสิงห์ และนิรมน ศตวุฒิ (๒๕๔๗ : ๒) ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่าน หมายถึง
การอ่านตามการออกเสียงหรือความเข้าใจตามตัวหนังสือ การค้นหาความหมาย หรือเครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำมาตีความสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจในสิ่ง นั้น ๆ
ได้
ฐะปะนีย์
นาครทรรพ และคณะ (๒๕๔๓ : ๔๑-๔๓) กล่าวว่า การอ่าน
หมายถึง การแปลความหมายของอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ ความคิดทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน
ตรงกับเรื่องราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด
หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ การอ่านจึงเป็นการรับรู้ความหมายถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ
รับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไร พูดอะไร หมายความว่าอะไร เกี่ยวข้องไปถึงเรื่องอะไรบ้าง
ขั้นตอนของการ อ่านหนังสือ เริ่มต้นด้วยการทำความ
๑๖
เข้าใจถ้อยคำแต่ละคำ เข้าใจกลุ่มคำ
ประโยคทุกประโยคที่ ๑๓ เรียบง่ายต่อเนื่องกันในย่อหน้าหนึ่ง ๆ เมื่อเข้าใจความตลอดทั้งย่อหน้าแล้วก็ทำความเข้าใจย่อหน้า
ต่อๆไปจนจบเรื่อง
สนิท
สัตโยภาส (๒๕๔๙ : ๙๒) ให้ความหมายของการอ่าน หมายถึง การมองดู ตัวอักษรแล้วถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรออกมาเป็นความคิดจากนั้นจึงนำความรู้
ความคิดหรือ สิ่งที่ได้จากการอ่านไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
เมื่อถึงเวลาอันควร
จากความหมายของการอ่านสรุปได้ว่า
การอ่านคือ กระบวนการแปลความหมายจากสิ่ง ที่อ่านทางสายตา
เพื่อเก็บรวบรวมความคิดอย่างมีเหตุผล จนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องใน สิ่งที่อ่าน
การอ่านจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในสังคมที่เจริญแล้ว
เพราะ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด
รวมทั้งความเพลิดเพลินใจ ความสามารถ ด้านการอ่านของแต่ละคนนั้นต่างกัน
สมรรถภาพในการอ่านนั้น มิใช่ความสามารถที่มนุษย์มีมาแต่ กำเนิด
แต่เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ และฝึกฝนได้อย่างต่อเนื่อง
ยิ่งฝึกมากยิ่งมีความสามารถสูงขึ้นเป็น ลำดับ
๒. ความสำคัญของการอ่าน
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์ (๒๕๔๒ : ๒) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านว่า
การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
และช่วยสนองความอยากรู้อยากเห็นอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ได้ทุกเรื่อง
ซึ่งมีอยู่ในทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภท โดยเฉพาะ ความอยากรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ในโลกนี้
พนิตนันท์ บุญพามี (๒๕๔๒ : ๓) ได้สรุปความสำคัญของการอ่านได้ว่า
การอ่าน มีความจำเป็นต่อชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านวัตถุ วิทยาการและความนึกคิด
การอ่านช่วยให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหว และความก้าวหน้าได้ ทันการ
การอ่านจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ ความคิด
และวิจารณญาณให้คนเรามีความงอกงามทางวุฒิภาวะ วุฒิปัญญา และความสามารถมากยิ่งขึ้น
การอ่านส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตวิญญาณของผู้อ่านให้เป็นไปในทางที่ดีงามได้โดยตนเอง
รวมทั้งสามารถพัฒนาคนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างดี
การอ่านเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมประสานความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาให้ถึงกัน
ให้ประจักษ์ในความจริงอย่างเดียว และให้สามารถประกอบกิจต่าง ๆ
อันเป็นคุณประโยชน์ร่วมกันได้เป็นอย่างดีหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า การอ่านนำมนุษย์ผ่านพรมแดนทางภูมิประเทศ
และวัฒนธรรม ขณะเดียวกันการอ่านช่วยให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินในชีวิตมากขึ้น
เพราะการอ่านวรรณกรรมดี ๆ ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินในยามว่าง
ฉวีลักษณ์
บุญยะกาญจ (๒๕๔๗ : ๑) ให้ความสำคัญของการอ่านไว้ว่า การอ่านทำให้ได้ข้อมูล ข้อคิดเห็น
และข้อคิดเท็จจริงเพื่อนำไปประมวลให้เกิดภูมิปัญญา (Knowledge) และอัจฉริยภาพ
(Intelligence) ส่วนตน
รวมทั้งได้นำข้อมูลที่ได้สนับสนุนความเชื่อของตน รวมถึงการ พิสูจน์ยืนยันความถูกต้องในเรื่องที่ตนสนใจ
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ได้รับความเพลิดเพลิน พักผ่อนหย่อนใจจากการ
๑๗
อ่านหนังสือและถือเป็นงานอดิเรก
อีกทั้งการอ่านเป็นทักษะสำคัญที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
หากเด็กรักการอ่านสามารถอ่านได้อย่างแตกฉาน
ก็จะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในชั้นเรียนและสร้างนิสัยถาวรให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
วรรณี
โสมประยูร (๒๕๕๓ : ๒) สรุปความสำคัญของการอ่านไว้ ดังนี้
๑. การอ่านเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการศึกษาเล่าเรียนทุกระดับ
ผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของวิชาการต่าง ๆ
เพื่อให้ตนเองได้รับความรู้และประสบการณ์ตามที่ต้องการ
๑. ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป
คนเราต้องอาศัยการอ่านติดต่อสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นร่วมไปกับทักษะการฟัง
การพูด และการเขียน ทั้งในด้านภารกิจส่วนตัว และการประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ
ในสังคม
๓. การอ่านช่วยให้บุคคลสามารถนำความรู้
และประสบการณ์จากสิ่งที่อ่านไปปรับปรุงและพัฒนาอาชีพหรือธุรกิจการงานที่ตัวเองกระทำอยู่ให้เจริญก้าวหน้า
และประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
๔.
การอ่านสามารถสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคลในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น
ช่วยให้มั่นคงปลอดภัย ช่วยให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ ช่วยให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ช่วยให้มีเกียรติยศและชื่อเสียง ฯลฯ
๕.
การอ่านทั้งหลายจะส่งเสริมให้บุคคลได้ขยายความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
ทำให้เป็นผู้รอบรู้ เกิดความมั่นใจในการพูดปราศรัย การบรรยาย หรือการอภิปรายปัญหาต่าง
ๆ นับว่าเป็นกา
๖.
การอ่านหนังสือหรือสิ่งพิมพ์หลายชนิด นับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการที่น่าสนใจมาก
เช่น การอ่าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร นวนิยาย การ์ตูน ฯลฯ เป็นการช่วยให้บุคคลรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
และเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนานได้เป็นอย่างดี
๗. การอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีต เช่น
ศิลาจารึก ประวัติศาสตร์ เอกสารสำคัญ วรรณคดี ฯลฯ
จะช่วยให้อนุชารู้จักอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยเอาไว้
และสามารถพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้
สรุปได้ว่าการอ่านมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมากมนุษย์จำเป็นต้องใช้การอ่านในการติดต่อสื่อสาร
ทำความเข้าใจกับบุคคลอื่น และนำความรู้ประสบการณ์ต่างๆ
จากเรื่องที่อ่านไปสร้างประโยชน์แก่ตนเองได้
๓. องค์ประกอบในการอ่าน
องค์ประกอบซึ่งจะส่งผลต่อการอ่าน มีดังนี้
๑๘
๑. ระดับสติปัญญา
เด็กมีสติปัญญาไม่เท่ากันย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการอ่าน
จึงไม่ควรเน้นให้อ่านได้เท่ากันในเวลาเดียวกัน
๒. วุฒิสภาวะและความพร้อม
การอ่านต้องอาศัยทักษะต่างๆ เป็นองค์ประกอบย่อยๆ เช่นทักษะการใช้สายตา
การใช้อวัยวะเกี่ยวกับการออกเสียง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายของเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นการสอนอ่าน
๓. แรงจูงใจ
แรงจูงใจมีทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ พ่อ แม่ ครู ภายใน ได้แก่ การชอบหรือไม่อย่างไร
๔. สภาพร่างกาย
สภาพร่างกายที่สมบูรณ์จะช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส มีความกระตือรือร้นมากกว่าร่างกายที่อ่อนแอ
และเจ็บป่วย
๕. สภาพอารมณ์ อารมณ์ที่มั่นคงสม่ำเสมอ
แจ่มใส ไม่มีแรงกดดันจากความคาดหวังของครูหรือผู้ปกครองจะทำให้เด็กอ่านได้ดี
๖. สภาพแวดล้อม ทั้งที่บ้าน
และที่โรงเรียนจะมีอิทธิพลต่อการอ่านสูงมาก เช่น บุคคลใกล้ชิดชอบอ่าน
ที่โรงเรียนมีหนังสือให้อ่าน มีห้องสมุดที่เข้าไปศึกษาค้นคว้า
มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจและเหมาะสมกับความพร้อมของเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๗. การวางแผนการอ่านให้เด็ก นอกจากวิธีสอนและสื่อแล้ว
การวางกำหนดให้อ่านก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการอ่านมากกว่าเดิม
๔.
ลักษณะของนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการอ่าน ได้มีบุคคลทางการศึกษาหลายท่าน
ได้กล่าวถึงลักษณะของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านไว้ดังนี้
ศรียา นิยมธรรม (๒๕๔๑ : ๔๒)
กล่าวถึงลักษณะของนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ดังนี้
๑. ขมวดคิ้ว นิ่วหน้าเวลาอ่าน
๒. อ่านหลงบรรทัด
๓. อ่านสลับคำ อ่านข้ามคำ
๔. อ่านสลับตัวอักษร
๔. อ่านซ้ำ อ่านถอยหลัง
๖. อ่านออกเสียงไม่ชัด
๗. จับใจความของเรื่องที่อ่าน หรือลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
๘. จับใจความของเรื่องไม่ได้
๙. เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้
กรมวิชาการ (๒๕๔๖ : ๑) ได้ระบุพฤติกรรมเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางด้านการอ่าน
ดังนี้
๑.
จับตัวอักษรไม่ได้ ทำให้อ่านไม่ได้หรือจำตัวอักษรได้บ้าง
แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
๑๙
๒. อ่านช้ามีความยากลำบากในการอ่าน เช่น อ่านคำต่อคำ
ต้องสะกดคำจึงอ่านได้
๓. อ่านคำผิด อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
๔. อ่านข้ามคำ อ่านเพิ่มคำ หรือลดพยัญชนะในคำ
อ่านฉีกคำ
๕. อ่านคำโดยสลับตัวอักษร หรือสลับคำกัน
๖. อ่านคำจากตัวอักษรบางตัวที่มีอยู่ในคำ
๗. อ่านเว้นวรรคไม่ถูกต้อง
๘. ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
๙. เล่าเรื่องที่อ่านตามลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
จากการศึกษาข้างต้นจะเห็นว่านักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านมีลักษณะปลีกย่อยของปัญหาที่หลากหลาย
การจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งนี้ครูจำเป็นต้องทำ
การประเมินคัดแยก เพื่อให้ทราบลักษณะปัญหาของนักเรียนแต่ละคน
๕. วิธีสอนอ่าน
วิธีสอนการเริ่มการอ่านใช้วิธีดูคำ (sight reading method) วิธีนี้นักเรียนไม่ได้เรียนเกี่ยวกับตัวอักษรแต่เรียนคำศัพท์ง่าย
ๆโดยเปรียบเทียบรูปร่างคำต่าง ๆ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา (๒๕๔๘ : ๑๑๒-๑๑๘) กล่าวถึงวิธีสอนอ่าน ๖ วิธีสอนอ่านที่นำมาใช้ได้ทั้งนักเรียนที่เรียนรู้ช้าและเด็กปกติ
คือ วิธีสอนอ่านเป็นคำ วิธีสอนหน่วยเสียง วิธีสอนอ่านเบื้องต้น
วิธีรวมทักษะทางภาษา วิธีจัดประสบการณ์ทางภาษา และวิธีสอนอ่านรายบุคคล
แต่ละวิธีมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
๑. วิธีการสอนอ่านเป็นคำ ( Sight Word Approach) เป็นการสอนให้เด็กอ่านเป็นคำ
และให้เด็กอ่านก่อนที่เด็กจะจำตัวอักษรได้ เมื่อเด็กอ่านคำได้มากพอสมควรแล้ว
จึงสอนให้รู้ตัวสระและพยัญชนะในภายหลัง ครูอาจใช้บัตรคำแทนการสอน ให้เด็กอ่านตาม
ให้ดูภาพประกอบ เด็กอาจอ่านคำได้โดยการจำ
ครูอาจทำได้โดยบันทึกเสียงลงในเทปก็ได้ แล้วจึงเปิดเสียงให้เด็กฟังและให้เด็กอ่านบัตรคำ
การสอนวิธีนี้จะทำ ให้เด็กอ่านคำโดยใช้สายตา มีรายงานวิจัยระบุว่าเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้คะแนนต่ำ
กว่าเด็กปกติในชั้นเรียนเดียวกันเมื่อทดสอบโดยใช้วิธีนี้
๒. วิธีสอนหน่วยเสียง (Phonics Approach) เป็นการสอนโดยให้เด็กอ่านโดยวิธีให้เด็กเข้าใจหน่วยเสียงในภาษา
เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และให้เด็กเปล่งเสียงให้ถูกต้อง หน่วยเสียง
สระและพยัญชนะจะปรากฏในคำ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า วิธีนี้เป็นวิธีการสอนอ่านเป็นคำๆ
ในแต่ละคำ มีที่ให้สังเกตหน่วยเสียงได้อย่างชัดเจน เช่น
คอ ตอ กอ เสียงสระออ
บ้าน ปาน ด้าน พยัญชนะต้นที่ต่างกัน
กิน บิน ดิน พยัญชนะต้นที่ต่างกัน
๒๐
บวบ บวช บวม ตัวสะกดที่ต่างกัน
เป็นต้น
๓. วิธีสอนอ่านเบื้องต้น (Basal Reading Approach) เป็นการสอนอ่านโดยมีเนื้อหาเป็นชุด
ตามระดับความสามารถของเด็กตั้งแต่ง่ายไปถึงยาก เริ่มจากอ่านเป็นคำ อ่านฟังเสียง
ไปจนถึง การอ่านเพื่อเข้าใจความหมาย
เนื้อหามีตั้งแต่สั้น ๆ ไปจนถึงเนื้อหาที่มีความยาวหลายหน้ากระดาษภายในชุดการสอนประกอบด้วยบัตรคำ
บัตรภาพ เนื้อหาสาระที่จะให้เด็กอ่านมีการจำกัดคำยากและเพิ่มปริมาณคำยากขึ้นตามลำดับ
มีคู่มือครู และมีการทดสอบไว้สำหรับแต่ละตอนแต่ละชุด ดังนั้น การสอนอ่านด้วยวิธีนี้จึงเป็นการกำหนดเนื้อหาที่เป็นระบบจากง่ายไปหายาก
๔. วิธีองค์รวมทางภาษา (Whole Language Approach) เป็นการสอนภาษาแก่เด็ก ที่สอนรวมทักษะทั้งการฟัง การอ่าน
การพูด และการเขียน ไม่ควรแยกสอนทีละทักษะ เด็กจะพัฒนาทุกทักษะไปพร้อม ๆ กัน
การสอนภาษาแก่เด็กควรสอนในเนื้อหาสาระที่มีความหมายสำหรับเด็กโดยมีขั้นตอนในการสอนอาจเป็น
ดังนี้
๔.๑ อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
๔.๒
ฝึกให้เด็กอ่านหนังสือในใจทุกวันโดยใช้เวลาไม่มาก
๔.๓ เรื่องที่นำมาให้เด็กอ่านควรเป็นเรื่องที่จัดเนื้อหาแล้วให้เด็กอ่านเรื่องในลักษณะนี้ทุกวัน
๔.๔ ในการสอนเขียน
ครูอาจเขียนให้ดูเป็นตัวอย่างบ่อย ๆ
๔.๕ ให้เด็กเขียนอธิบายภาพในสมุดภาพของเด็กที่เด็กจัดทำขึ้น
๔.๖ จัดทำเรื่องที่อ่านให้ง่ายขึ้น
เช่น จัดรวบรวมคำยากหรือจัดหมวดหมู่ของคำตามเนื้อหาที่อ่าน
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว
วิธีการที่เหมาะสำหรับสอนอ่านแก่นักเรียนที่เรียนรู้ช้าโดยเฉพาะ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑. วิธีของเฟอร์นาลด์ (The Fernald Method) วิธีนี้ประกอบด้วย ๔ ขั้นย่อย คือ
ขั้นที่
๑ เด็กเลือกคำ ที่ต้องการอ่าน ครูเขียนคำ ดังกล่าวลงบนกระดาษด้วยสีเทียน
ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ แล้วให้เด็กใช้นิ้วมือลากตามสีเทียน
ในขณะที่เด็กลากเส้นด้วยนิ้วมือ เด็กพูดไปด้วยว่าตัวอักษรอะไร ให้เด็กปฏิบัติหลาย
ๆ ครั้ง จนกว่าเด็กจะอ่านและเขียนได้
ขั้นที่ ๒ เด็กเรียนรู้คำใหม่ด้วยวิธีเดิม
แต่เป็นการเรียนรู้คำใหม่ ครูเขียนคำใหม่ลงบนกระดาน ให้เด็กอ่านออกเสียงตามครู
แล้วให้เด็กลอกคำลงในสมุด
ขั้นที่ ๓ เด็กเรียนรู้คำใหม่จากหนังสืออ่านออกเสียง
เด็กเรียนรู้คำใหม่จากการอ่าน หากมีปัญหาให้กลับไปที่ขั้นที่ ๑ ใหม่
๒๑
ขั้นที่ ๔ จัดกิจกรรมการอ่านให้ยากขึ้น
เพื่อเด็กจะได้นำความรู้เกี่ยวกับคำที่ได้เรียนไปแล้วไปใช้ในการอ่าน หลังจากเด็กอ่านไปแล้วให้เด็กเขียน
การสอนของเฟอร์นาลด์ เน้นการใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้หลายด้านทั้งการฟัง ทางสายตา
และการสัมผัส
๒. วิธีของจิลลิงแฮม (Gillingham Method) วิธีสอนเน้นกำหนดการสอนอ่านไว้อย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน สอนโดยการนำหลักวิชาสัทศาสตร์
และวิชาเสรีวิทยามาใช้เน้นคำที่ประสมด้วยเสียงสระ และเสียงพยัญชนะเดียวกับใช้บัตรคำในการสอน
เด็กเรียนรู้คำ ว่าประสมด้วยอักษรตัวใด เช่น ก ไก่ ข ไข่ ฮ นกฮูก เป็นต้น
๓. วิธีอ่านพร้อมกัน (Joint Reading) เป็นการฝึกเด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่านให้อ่านได้และอ่านด้วยความเร็วที่สอดคล้องกับความสามารถของตน
ในทางปฏิบัติครูจะให้นักเรียนอ่านออกเสียงไปพร้อมกับครู เด็กจะได้ยินเสียงครู
และเสียงของตนเองด้วย ครูจะให้เด็กนั่งอยู่ด้านหน้า หัน หน้าเข้าหาครู
ทั้งสองคนหันหน้าเข้าหากัน กำหนดเวลาในการอ่านร่วมกัน เช่น ๕ นาที
ทั้งสองเริ่มอ่านพร้อมกัน ในตอนแรกครูอ่านด้วยเสียงอันดังและอ่านเร็ว
ต่อมาครูจะลดความดังของเสียงอ่าน
และลดความเร็วในการอ่านลงจนกระทั่งเด็กอ่านคนเดียวได้ในที่สุด
๔. การเล่าเรื่องซ้ำ (Story Retelling) ครูให้นักเรียนอ่านเรื่องที่ต่ำกว่าความสามารถของเด็กเล็กน้อย
เมื่อเด็กอ่านเข้าใจแล้วให้เล่าเรื่องที่อ่านให้ครูฟัง หรือให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
หรือผลัดกันเล่าเรื่องโดยใช้ภาษาของตนเอง หลังจากนั้นให้ตั้งคำถามของตนเอง
และให้หาคำตอบเอง
วิธีนี้จะช่วยให้เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น
หลังจากนั้นครูให้นักเรียนอ่านเรื่องที่ยากขึ้นตามลำดับ
ผดุง อารยะวิญญู (๒๕๔๖ : ๔๕-๔๖) กล่าวถึง
การที่เด็กที่มีปัญหาทางการอ่านเขียนจะอ่านหนังสือได้หรือไม่นั้นต้องอาศัยทักษะเบื้องต้น
๓ ด้าน คือ การจดจำ การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ และความสามารถในการเข้าใจสิ่งที่อ่าน
ดังนี้
๑. การจำคำได้
การที่เด็กจะจดจำคำได้นั้นจะต้องอาศัยความพร้อมในการอ่านการจำคำได้มีเนื้อหา
ดังนี้
๑.๑ การจับคู่ภาพเหมือน
๒๒
๑.๒ การจับคู่อักษรเหมือน
๑.๓ การจับคู่คำเหมือน
๑.๔ มีความตั้งใจที่จะฟัง
๑.๕ การจำแนกเสียงพยัญชนะต้น ตัวสะกด
และพยัญชนะควบกล้า
๑.๖ การจำแนกเสียงสระสั้น – ยาว
๑.๗ การจำแนกเสียงสระแท้ สระประสม
เมื่อเด็กมีทักษะทั้งหมดแล้ว
เด็กก็จะสามารถจำคำ
ได้ซึ่งเป็นความพร้อมอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กอ่านหนังสือได้ในโอกาสต่อไป
๒. การเข้าใจความหมายของคำศัพท์
การที่เด็กจะสามารถอ่านหนังสือได้นั้นจำเป็นต้องรู้คำศัพท์จำนวนมาก
ก่อนที่เด็กจะรู้คำศัพท์จำนวนมาก ได้นั้น เด็กจะต้องมีทักษะเบื้องต้นดังต่อไปนี้
๒.๑ จัดกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกันได้
๒.๒ จัดกลุ่มคำที่มีความหมายตรงข้ามกันได้
๒.๓ บอกได้ว่าคำใดสะกดผิด
๒.๔ ใช้พจนานุกรมเป็น
๒.๕ จัดกลุ่มคำที่มีความหมายเดียวกันได้
๒.๖ เขียนประโยคโดยใช้คำที่กำหนดให้
๒.๗ ให้ความหมายของคำตามที่ปรากฏในประโยคได้
๒.๘ จัดประเภทของคำได้
๓.๙ เดาความหมายของประโยคได้ถูกต้อง แม้จะมีคำขาดหายไปบ้างก็ตาม
๒๓
๓. การเข้าใจความหมายในสิ่งที่อ่าน การเข้าใจความหมายในสิ่งที่อ่านเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นความสามารถในการใช้ภาษาอย่างหนึ่ง
ผู้อ่านต้องมีทักษะ ดังนี้
๓.๑ ทักษะเกี่ยวกับระบบเสียงในภาษาไทย คำแต่ละคำสามารถอ่านออกเสียงได้และจะต้องออกเสียงตามวรรณยุกต์
จึงจะสามารถเข้าใจได้ถูกต้อง
๓.๒ ทักษะเกี่ยวกับการเข้าใจความหมายคำ แต่ละคำมีความหมายในตัวของมันเอง
นักเรียนจะต้องจำความหมายของคำให้ได้จึงจะสามารถอ่านหนังสือและเข้าใจความหมาย
๓.๓ ทักษะเกี่ยวกับเรียงคำ นั่นคือ การนำคำหลายคำมาเรียงกันเป็นวลี
หรือประโยค และจะต้องเรียงกันในลักษณะที่ถูกต้องจึงจะมีความหมาย
๓.๔ ความสนใจ
เราจะอ่านและเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีหากเรื่องที่อ่านนั้นอยู่ในความสนใจของเรา
ดังนั้น การจัดเนื้อหาให้นักเรียนอ่านจึงควรสอดคล้องกับอายุ เพศ
ระดับชั้นจึงจะช่วยให้เขาอ่านได้
๓.๕ แรงจูงใจในการอ่าน หากผู้อ่านได้รับผลประโยชน์จากการอ่าน
ก็จะทำ ให้เขาสนใจเรื่องที่อ่านเพิ่มขึ้น
๓.๖ การจัดลำดับความยากง่ายในการอ่าน
การจัดเนื้อหาการอ่านให้แก่เด็กจะต้องเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก จึงจะช่วยให้เด็กอ่านเข้าใจได้ดีขึ้น
จัดลำดับคำที่เป็นรูปธรรมก่อนคำที่เป็นนามธรรม
๓.๗ การเรียงลำดับประโยค ควรเรียงลำดับประโยคที่มีคำไม่มากนักและเป็นประโยคสั้น
ๆ ไปจนถึงประโยคที่ประกอบด้วยคำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นประโยคยาว ๆ
๓.๘ การอ่านจับใจความสำคัญ ใจความสำคัญ คือ
ข้อมูลที่สำคัญที่สุดที่ผู้เขียนต้องการแสดงไว้ในย่อหน้าที่อ่าน ใจความสำคัญอาจอยู่ตอนกลาง
หรือตอนท้ายก็ได้ ผู้อ่านจะต้องหาให้พบ
จากวิธีการสอนอ่านแก่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ดังกล่าว
แต่ละวิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ในการสอนอ่านแก่เด็กโดยเฉพาะการอ่านเบื้องต้นที่มุ่งให้เด็กอ่านได้
อ่านออกเป็นหลักนั้นครูจะต้องเลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะกับ สภาพและวัยของเด็ก
ไม่ใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่ควรใช้หลาย ๆ วิธี ยิ่งเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้วยแล้วเด็กจะต้องได้รับการฝึกหัดมาก
ทักษะการอ่านของเด็กจึงจะเกิดขึ้น การฝึกให้
๒๔
รู้จัก พยัญชนะและสระ การจำแนกตัวอักษร
การสอนเป็นคำการวิเคราะห์คำ และวิธีโฟนิกส์ ซึ่งแต่ละวิธีมีหลักการ
เนื้อหาและวิธีการฝึกที่แตกต่างกันออกไป
๓.การเขียน
๑. ความหมายของการเขียน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่มีความสลับซับซ้อนกว่าการใช้ทักษะอื่น
ๆ ซึ่งนักการศึกษา ได้ให้ความหมายของการเขียนแตกต่างกันหลายทัศนะ ดังนี้
การเขียน หมายถึง
การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร
เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น
ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า
มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน
ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย
ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า
ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์
ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๒๕๕๔ : ๑๙๓) การเขียน คือ การแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ
ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น
ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักเขียน ก็ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด
และประสบการณ์แก่บุคคลชั้นหลัง ๆ ได้โดยถูกต้องสมบูรณ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ( ๒๕๔๖, หน้า ๒๐๓
)ให้ความหมายของการเขียนว่า เขียน เป็นคํากริยา
หมายถึงขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปวาดต่างๆ แต่งหนังสือ
วิจิตรา แสงพลสิทธิ์ และคณะ (
๒๕๒๒, หน้า ๑๓๕ – ๑๓๖ ) ให้ความหมายของการเขียนว่า การเขียน
คือการแสดงออกเพื่อการสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยอาศัยภาษา ตัวอักษร
และอุปกรณ์อื่นๆเป็นสื่อ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ความต้องการและความเข้าใจทุกอย่างให้ผู้อื่นได้ทราบ
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และประภาศรี สีหอำไพ (๒๕๕o : ๙๑) ได้สรุปว่า การเขียน คือ
การแสดงออกในการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์โดยอาศัยภาษาตัวอักษรเป็นสื่อเพื่อถ่ายทอด
ความรู้สึก
๒๕
นึกคิด ความต้องการและความสนใจของเราให้ผู้อื่นทราบ
มีลักษณะเป็นการสื่อสารที่ถาวรสามารถคงอยู่ได้นานตรวจสอบได้
นภดล จันทร์เพ็ญ (๒๕๔๙ : ๙) ให้ความหมายของการเขียนไว้ว่า การเขียน หมายถึง การแสดงออกการแสดงออกในการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์โดยอาศัยภาษาตัวอักษรเป็นสื่อเพื่อถ่ายทอด
ความรู้สึกนึกคิด ความต้องการและความสนใจของเราให้ผู้อื่นทราบ
วรรณี โสมประยูร (๒๕๕๔ : ๑๓๙) ให้ความหมายของการเขียนไว้ว่า การเขียน หมายถึง
การแสดงออกการแสดงออกในการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของบุคคลออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือตัวอักษร
เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
สรุปได้ว่า การเขียน
เป็นการแสดงออกการแสดงออกในการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์โดยอาศัยภาษาตัวอักษรเป็นสื่อโดยอาศัยความรู้
ความคิด ความรู้สึก ความต้องการประสบการณ์ของผู้เขียนประกอบกัน
๒. ความสำคัญของการเขียน
นภดล จันทร์เพ็ญ (๒๕๔๙ : ๙-๑o) ได้สรุปความสำคัญของการเขียนไว้ ดังนี้
๑. การเขียนเป็นการสื่อสารของมนุษย์
๒. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้และสติปัญญาของมนุษย์
๓. การเขียนสามารถสร้างความสามัคคีในหมู่มนุษยชาติ
๔. การเขียนเป็นเครื่องมือระบายออกทางอารมณ์ของมนุษย์
๕. การเขียนทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิต
๓. การสอนเขียน
กำชัย ทองหล่อ (๒๕๔๓ : ๑๖o) กล่าวว่า ภาษาพูดจะเข้าใจเรื่องกันได้ต้องกำหนดสำเนียงที่เปล่งออกมาเป็นสำคัญ
เพราะสำเนียงที่เปล่งออกมาจึงต้องชัดเจน มีจังหวะ ความหนักเบาความแข็งกร้าว ความ
๒๖
อ่อนโยนและบางที่จะต้องใช้กิริยาอาการประกอบด้วย
เพื่อให้เรื่องนั้นแสดงอาการภายในของผู้พูดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความรู้สึก
แต่ภาษาเขียนจะทำให้เข้าใจความหมาย กันได้ ต้องกำหนดตัวอักษรเป็นหลัก เพราะตัวอักษรเป็นเครื่องหมายแทนคำพูด
เพราะฉะนั้น การเขียนผิด ความหมายก็แปรไปหรืออาจไม่มีความหมาย
สุธิวงศ์
พงศ์ไพบูลย์ (๒๕๔๓
: ๒๙o) กล่าวว่า
การเขียนหนังสือผิดนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ควรสนใจเป็นพิเศษ
เพราะการเขียนหนังสือผิดเป็นเครื่องบ่งบอกว่า ผู้นั้นไม่สนใจในการใช้ภาษา
ดวงใจ
ไทยอุบุญ (๒๕๔๓ : ๑๕-๑๖) ได้กล่าวว่า
การเขียนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการกลั่นกรองเนื้อหาสาระ
โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียน
เพื่อการให้การสื่อสารบรรลุผลซึ่งมีหลักการเขียนดังนี้
๑. มีความชัดเจน
ผู้เขียนจะต้องใช้คำที่มีความหมายชัดเจน ใช้ประโยคไม่คลุมเครือหรือกำกวมผู้เขียนต้องคำนึงเสมอว่าการที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องตรงกับผู้เขียนนั้นขึ้นอยู่ที่การใช้คำ
ประโยค และการใช้ถ้อยคำสำนวน
๒. มีความถูกต้อง ผู้เขียนต้องคำนึงถึงระเบียบของการใช้ภาษาและเขียนให้ถูกต้อง
เหมาะสมตามกาลเทศะ
๓. มีความกระชับ ผู้เขียนต้องรู้จักเลือกสรรถ้อยคำมาใช้รู้จักใช้สำนวนโวหารภาพพจน์
คำอุปมา อุปไมย สุภาษิต คำพังเพย รู้จักการรวมประโยคให้ข้อความชัดเจนและมีน้ำหนักเพื่อให้ประโยคมีความกระชับ
๔. ความเรียบง่ายในการใช้ภาษา
ผู้เขียนต้องรู้จักใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่ใช้คำปฏิเสธ
เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
๕. มีความรับผิดชอบในความถูกต้องของเนื้อหา
ผู้เขียนต้องแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
๖. มีความประทับใจ
การใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจทำให้ผู้อ่าน เกิดความประทับใจซึ่งเป็นผลอันเกิดจากการใช้คำที่ไพเราะ
การเรียงลำดับคำในประโยค
๒๗
๗. มีความไพเราะในการใช้ภาษาผู้เขียนควรใช้ภาษาสุภาพ
มีความประณีต ในการใช้ภาษา เนื้อหาอ่านแล้วไม่สะดุดหรือขัดหู
กองเทพ เคลือบพณิชกุล (๒๕๕๑ ๑๖๗-๑๖๘) ได้สรุปการสอนเขียนโดยทั่วไป มีดังนี้
๑. การคัดลอกข้อความและการสะกดคำ
๒. การเขียนเรียบเรียงข้อความ
๓. การเขียนเพื่อติดต่อสื่อสาร
๔. การเขียนในโอกาสต่าง ๆ
๕. การเขียนเชิงสร้างสรรค์
และได้เสนอแนะหลักสำคัญในการสอนเขียนสำหรับนักเรียน
ดังนี้
๑. ก่อนสอนผู้สอนควรทดสอบความสามารถในการเขียนของผู้เรียน
๒. ควรปลูกฝังให้ผู้เรียนตระหนักในคุณค่าของการเขียนที่ดีที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ในอนาคต
๓. การสอนแต่ละครั้งผู้สอนต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการสอนให้ชัดเจน
๔. ในการสอนเขียนไม่ควรกำหนดหัวข้อในการเขียนที่ตายตัว
ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เสนอและเลือกหัวข้อเอง
๕. ผู้สอนควรใช้กลวิธีการจูงใจหลาย ๆ วิธี
๖. ผู้สอนควรใช้วิธีสอนหลาย ๆ
แบบเพื่อให้บรรยากาศการเรียนการสอนน่าสนใจ
และเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเขียน
๗. ผู้สอนควรจัดกิจกรรมหรือมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ทำงานนอกจากการเรียนในชั้นเรียนปกติ
เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเขียนอย่างสม่ำเสมอ
๒๘
๔. ปัญหาในการสอนเขียน
วรรณี โสมประยูร (๒๕๔๒, หน้า ๑๕๗) ได้ศึกษาคำยากที่นักเรียนส่วนมากเขียนผิดนั้น พอสรุปสาเหตุได้ดังนี้
๑. นักเรียนเห็นแบบอย่างคำที่เขียนผิดแล้วจำมาใช้
๒. นักเรียนไม่มีพื้นฐานทักษะทางภาษา
เช่นไม่รู้จักคำที่ประวิสรรชนีย์ หลักการใช้คำ ที่มี ศ ษ ส หลักการใช้ตัวการันต์
หลักการนับวรรณยุกต์ หลักการใช้มาตราตัวสะกดแม่ต่าง ๆ
๓. นักเรียนไม่ทราบความหมายของคำ เพราะคำ ไทยมีคำพ้องรูป
พ้องเสียงทำให้เข้าใจความหมายสับสน เช่น กัณฑ์ - กรรณ ขันธ์-ขรรค์ พรรณ-พันธ์
๔. นักเรียนฟังไม่ชัด เพราะคำไทยมีคำควบกล้า เช่น
โครง - โคลง , ขริบ - ขลิบ ,ครอง -
คลอง , กรอง - กลอง
๕. นักเรียนไม่สามารถถ่ายทอดคำตามเสียงคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
ซึ่งเขียนแตกต่างจากเสียงได้ เช่น ชอลก์ ด๊อกเตอร์ แท็กซี่
๖. นักเรียนใช้คำ ที่มีตัว ร ล ไม่ถูกต้อง เช่น
ราว-ลาว , ราด-ลาด , รัก-ลัก
จิราพร พรมวาศรี (๒๕๔๙ : ๕๔-๕๕) กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้นักเรียนสะกดคำผิดมี ดังนี้
๑. เขียนผิดเพราะเคยเห็นแบบอย่างที่ผิด เช่น สบาย
เขียนเป็น สะบาย
๒. เขียนผิดเพราะเข้าใจหลักภาษาผิด เนื่องจากเกิดความสับสนในพจนานุกรมเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การประวิสรรชนีย์และคำในภาษาไทยบางคำ
ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ เช่นคำว่า “ท่าน” ออกเสียงว่า
“ทั่น” คำ
อ่านออกเสียงสั้นแต่รูปสระเป็นเสียงยาว ค าลักษณะนี้นักเรียนไม่รู้ กฎเกณฑ์ที่ยกเว้น
จึงเขียนผิด เป็นต้น
๓. เขียนผิดเพราะไม่ทราบความหมายของคำ เช่น จันทร์
กับ จรรย์
๔. เขียนผิดเพราะเขียนตามเสียงพูด เสียงอ่าน เช่น คำ
สาป เขียนเป็น คำสาบ
๕. เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิด เช่น สังเกต
เขียนผิดเป็น สังเกต เพราะเทียบมาจากคำว่า สาเหตุ
๒๙
๖. เขียนผิดเพราะขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอและการฝึกฝนไม่สม่ำเสมอ
๗. เขียนผิดเพราะเดา เนื่องจากไม่เคยเห็นคำนั้นมาก่อน
ไม่เคยใช้พจนานุกรมและขาดการฝึกอย่างสม่ำเสมอจึงลืม
๘. เขียนผิดเพราะจำความสัมพันธ์ของตัวสะกดกับความหมายของคำพ้องเสียงไม่ได้จึงสับสนและเขียนผิด
เช่น บิณฑบาต บาตรพระ เงินบาท บาดแผล เป็นต้น
๙. เขียนผิดเพราะความบกพร่องทางสมอง สายตา หู
และวุฒิภาวะไม่เพียงพอ นอกจากนั้นสวัสดิ์ สุขโสม (๒๕๕๑ : ๒๒)
กล่าวถึงปัญหาในการสอนเขียนว่า มีหลายลักษณะ ดังนี้
๑. เขียนพยัญชนะ สระ และเขียนคำไม่ได้ การเขียนพยัญชนะสระไม่ได้
มักจะเป็นนักเรียนที่เริ่มต้นเรียน ได้แก่ นักเรียนประถมปีที่ ๑
เมื่อนักเรียนเขียนพยัญชนะ สระไม่ได้ นักเรียนเหล่านี้จะเขียนคำไม่ได้ การเขียนคำไม่ได้นั้นมีในนักเรียนชั้นสูง
ๆเป็นจำนวนมาก ทั้งๆที่เขียนพยัญชนะและสระได้คล่องแล้ว แต่ยังเขียนคำไม่ถูก
๒. สะกดคำผิด การเขียนสะกดคำผิดนั้นมีหลายรูปแบบ คือ
๑.๑
วางสระและวรรณยุกต์ไม่ถูกที่
๑.๒ ค
าพ้องเสียง นักเรียนเขียนคำพ้องเสียงผิด
๑.๓ เขียนคำที่ใช้ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
๑.๔ เขียนคำที่มีตัวการันต์ผิด
๑.๕ คำที่มีสระเสียงสั้นและเสียงยาวเขียนสลับกัน
บางคำ ใช้สระเสียงสั้น นักเรียนเขียนเป็นสระเสียงยาว
๑.๖ เขียนคำควบกล้ำผิด
๑.๗ เขียนพยัญชนะบางตัวในคำเบียดกันบางตัวห่างออกไป
๑.๘ เขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศผิด
๓๐
๓. เว้นวรรคตอนและย่อหน้าไม่ถูก
๔. ใช้คำไม่เหมาะสม น าภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียน
๕. เขียนคำที่ใช้อักษรย่อไม่ถูกต้อง
๖. ลำดับความคิดในการเขียนไม่ได้
ทำให้เรื่องสับสน วกวน ผู้อ่านไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน
๗. ลายมืออ่านยาก การเขียนเป็นการแสดงความคิด
ความรู้ ความเข้าใจ ให้ผู้อื่นได้ทราบ ลายมืออ่านยากผู้อ่านไม่สามารถจะนำ ความคิด
ความเข้าใจนั้นไปใช้ประโยชน์ได้
๘. ไม่มีความคิดในการเขียน
จะเขียนด้วยความคิดของตนไม่ค่อยได้จะต้องลอกแบบ เลียนแบบ ไม่สามารถจะใช้คำใช้ภาษาให้สัมพันธ์เป็นเรื่องเป็นราวได้
จากสาเหตุและผลเสียดังกล่าว
สรุปได้ว่า การเขียนคำที่ผิดส่วนมากมาจากตัวผู้เขียนซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป เช่น
ใช้แนวเทียบผิด มีประสบการณ์ในด้านการเขียนผิด ไม่รู้หลักภาษา เป็นต้น ขาดการฝึกฝนต่อเนื่อง
ขาดความแม่นยำในหลักภาษา ออกเสียงบกพร่องจนกลายเป็นความเคยชิน
รวมทั้งอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้เขียนจำคำที่เคยเขียนผิดไปใช้
สรุปได้ว่า
การจัดการเรียนการสอนอ่านเขียนภาษาไทยในปัจจุบันยังประสบปัญหามาก
เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาในด้านการอ่านการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการสะกดคำ การเว้นวรรคผิด
ทำให้สื่อความหมายไม่ตรงกันตามความเป็นจริง
อีกทั้งการอ่านการเขียนเป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กัน การอ่านการเขียนเป็นทักษะพื้นฐานและในระดับสูง
จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้ถูกต้อง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆของนักเรียนต่อไป
๔. บทความ/งานวิจัยปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทย
๑.
สาเหตุเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ
เขต๑ ได้นำเสนอบทความสาเหตุการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนในสังกัดว่ามีหลายประการ
ดังนี้
๑.๑ ไอคิวต่ำเพราะพันธุกรรม ความยากจนจากการสารอาหาร
๑.๒
ผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจดูแลในเรื่องการเรียนของบุตรเท่าที่ควร
๓๑
๑.๓ ขาดการเตรียมความพร้อมที่ดีในระดับชั้นอนุบาล
๑.๔ ถูกทอดทิ้งจากครูผู้สอน
ซึ่งสืบเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
๑.๔.๑ ครูไม่เพียงพอ
๑.๔.๒ ครูต้องทำงานอื่น ๆ
สารพัด
๑.๔.๓
นักเรียนต่อห้องมีมากเกินไป
๑.๔.๔
ครูขาดแรงจูงใจเพราะเหนื่อยในการสอนกับนักเรียนกลุ่มนี้
๑.๔.๕ ครูทิ้งเด็กเพื่อมุ่งทำผลงานทางวิชาการ
๑.๔.๖
ครูสอนเช้าชามเย็นชามไม่ใส่ใจเด็กเท่าที่ควร
๑.๔.๗ ผู้บริหารขาดการเอาใจใส่
ไม่มีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ครูขยันสอน
จากเนื้อหาของบทความดังกล่าว
สรุปได้ว่า สาเหตุที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มีอยู่ ๓ สาเหตุใหญ่ๆ คือ
๑. เกิดจากตัวเด็ก
๒. เกิดจากการขากความอบอุ่นในครอบครัว
๓. เกิดจากครู
งานวิจัยข้อปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยด้านปัจจัยภายนอก
โดย รศ.ดร.รื่นฤทัยสัจจพันธุ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ระบุการใช้ภาษาไทยมีปัจจัยจากภายนอก๓ ส่วน ได้แก่ สื่ออินเทอร์เน็ต
บุคคลที่มีชื่อเสียง และสื่อมวลชน โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากสื่อ อินเทอร์เน็ตทำให้การเขียนภาษาไทยบกพร่อง
เช่น ๕๕๕ แทนเสียงหัวเราะ ๔U แทนคำว่า for
you ซึ่งคำเหล่านี้เด็กนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ
นำมาเขียนในการบ้านและรายงาน ส่วนดาราและพิธีกร มักอ่านคำผิด เช่น คำว่า พระเมรุ
กลับอ่านว่า พระ-เม-รุ และอ่าน ฉ ออกเสียง เป็นตัว CH ในภาษาอังกฤษ
๓๒
งานวิจัยของธรรมนูญ
มุลาลินน์ (๒๕๕o : ๖o) เรื่อง
รูปแบบกระบวนการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
โรงเรียนบ้านผา อำเภอเมือง จังหวัดเลย
พบว่า โรงเรียนบ้านผาได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้
โดยที่ครูมีการเตรียมสื่อในการสอนนักเรียนแล้วแจ้งให้นักเรียนทราบจุดมุ่งหมายของการอ่านเพื่อจับใจความและเข้าใจในเรื่อง
และการอ่านอย่างคร่าว ให้ได้เรื่องทั้งหมดอย่างละเอียดบ่อย ๆ บันทึกความหมายของคำศัพท์ท่องคำศัพท์และหัดเขียนบ่อย
ๆ ส่วนนักเรียนต้องหัดอ่านคำง่าย ๆ ที่ใกล้ตัว อ่านประโยคสั้น ๆ และหัดอ่านออกเสียงดัง
อ่านในใจเพื่อจับใจความสำคัญ อ่านหนังสือก่อนนอน อ่านหนังสือร่วมกันทั้งชั้นและหัดเขียนคำยาก
ๆ หรืออ่านสำนวนบ่อย ๆ
อ่านการบ้านตามที่ครูสั่งและผู้ปกครองต้องพาลูกอ่านหนังสือส่งเสริมการอ่านของลูก
เล่านิทานให้ลูกฟังเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ชมเชยความสามารถของลูกและให้รางวัล
ต้องมีกติการ่วมกันให้ลูกอ่านหนังสือให้ฟังอย่างน้อย ๑o นาที
มีเวลาให้ลูกได้อ่านหนังสือตามที่ครูได้สอนด้วย
ศ.ดร.
กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต กล่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ
และรัฐบาลไม่ควรคิดว่าวิชาภาษาไทยเป็นเพียงวิชาการเรียนการสอน
แต่ภาษาไทยเป็นสิ่งที่สร้างคุณลักษณะของคนไทยทุกหน่วยจึงควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่รู้จักการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารตามโอกาสต่าง
ๆ ที่เหมาะสม การที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเล็งเห็นด้วยว่าการสอนให้ท่องจำบทอาขยานเป็นสิ่งที่พัฒนาการจดจำการเรียนรู้ภาษาไทย
หากไม่ให้ท่องจำและฝึกคิด ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ มีความตื่นตัวและน้อมนำพระราชดำริเพื่อเร่งแก้ปัญหาการเรียนการสอน
ซึ่งเป็น ๓o จุดเริ่มต้นของการฝึกเด็กไทยให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการใช้ภาษาไทยสำหรับการสื่อสารและการทำงานในอนาคต
๒. ระดมงานวิจัยแก้ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย
อ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติงานฉลอง ๒oo
ปี วันคล้ายวันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท และมีพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง
ปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน โดยมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
ภาษาไทย ตามธรรมชาติภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามสถานการณ์ในสังคม
วิธีการสอนภาษามีหลายอย่างหลายทฤษฎีการจะตัดสินว่าแบบไหนดีกว่าต้องพิจารณาสถานการณ์เป็นสำคัญ
ซึ่งการมาร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งการเทิดพระเกียรติผู้ทรงนิพนธ์วรรณคดีและตำราแบบเรียนภาษาไทยไว้เป็นตัวอย่างในการจรรโลงภาษาไทย
จึงควรได้ศึกษาแนวทางของครูภาษาไทยแต่
๓๓
โบราณด้วย
อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างหนึ่งคือ เราคนแก่ ๆ เคยใช้คำนี้ว่าเป็นคำดีใช้ได้มีความสุภาพ
แต่อีกสมัยหนึ่งก็เปลี่ยนไป คำไม่สุภาพ ความหมายเปลี่ยนไป บางคาที่เป็นคำไม่สุภาพ
ก็กลับเป็นคำสุภาพในสมัยนี้บางคำทำให้ข้าพเจ้าไม่กล้าใช้คำนั้น
ไม่รู้ว่าสุภาพหรือไม่สุภาพสำหรับการสัมมนาทางวิชาการเรื่องปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
นับเป็นเวทีนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาภาษาไทย เริ่มจากงานวิจัยเรื่องนโยบาย เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
โดย รศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุรักษ์ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งพบว่า
อุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุด ส่วนปัญหาการใช้ภาษาไทย พบว่า
การพูดมีปัญหามากที่สุด คือ พูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพูดวกวน
ขณะที่การเขียนมักใช้คำผิดความหมาย การอ่านออกเสียงไม่ถูก จับใจความไม่ได้ ทั้งนี้
กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และคนในสังคมไม่เห็น ความสำคัญของวิชาภาษาไทย
ส่งผลให้ผู้เรียนและผู้สอนไม่ใส่ใจวิชานี้เท่าที่ควร ทำให้การเรียนการสอนประสบปัญหา
นอกจากนี้ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ ภาษาไทยอย่างถูกต้องของคนในหน่วยงาน
และไม่มีส่วนราชการที่กำกับดูแลการใช้ภาษาไทยและประชาสัมพันธ์การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
กลุ่มตัวอย่างยังมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาด้านนโยบายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
๑. นโยบายของรัฐ ควรเน้นหนักไปในทางปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยที่รักภาษาไทยน้อยกว่าภาษาต่างชาติ
๒. กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาสำคัญวิชาหนึ่งในการตัดสินการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับต่าง
ๆ และในการรับบุคคลเข้าทำงาน
๓. มีนโยบายด้านการ เรียนการสอนเพื่อให้ได้ผลมากที่สุด
๔. รณรงค์ให้สถาบันการศึกษาและสถานที่ราชการในท้องถิ่นใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องในชั้นเรียน
และในช่วงเวลาทำการ และให้เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
๕. กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวัฒนธรรมยกย่องและเผยแพร่เกียรติคุณของผู้ใช้ภาษาได้ดีเพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนในสังคมด้านงานวิจัยเรื่องปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันด้านหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน
โดย ผศ.ธัญญา สังขพันธานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
๓๔
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า
ปัญหาหลักสูตรภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาไม่สอดคล้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
หรือโอเน็ต หรือเอเน็ต ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากพึ่งโรงเรียนกวดวิชา และจำเป็นต้องปรับหลักสูตรภาษาไทยให้สอดคล้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย
ดังนั้นสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งควรใช้หลักสูตรเหมือนกัน
ให้การเรียนอยู่ในระดับมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้หลักสูตรภาษาไทยปัจจุบันดีสู้ของเดิมไม่ได้
ซึ่งมีการสอนคัดลายมือท่องบทอาขยาน การผันวรรณยุกต์ การแจกลูก
อย่างไรก็ตามไม่ควรเปลี่ยนหลักสูตรบ่อยเกินไปจัดหลักสูตรให้เหมาะสมและให้ความสำคัญกับภาษาไทยมากขึ้น
และควรจัดหลักสูตรให้มีเนื้อหาที่เน้นการใช้ภาษาไทยให้เข้มข้นและจริงจังในทุก ๆ
สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
ประชาชนกลุ่มตัวอย่างเสนอแนะว่าควรทบทวนหลักสูตรการศึกษาระดับต้นใหม่
ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กหากหลักสูตรกำหนดเนื้อหาให้นักเรียนมากเกินไป ทำให้การเรียนในแต่ละเรื่องผิวเผินมากไม่มีโอกาสเจาะลึกและฝึกทักษะอย่างแท้จริง
ซึ่งช่วงชั้นที่ ๒ โดยเฉพาะ ป.๔
ควรเป็นหลักภาษาให้มากเพราะนักเรียนในชั้นนี้จะต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง
แต่หลักสูตรเน้นการเขียน ซึ่งนักเรียนยังไม่ได้อะไรเลย เพราะยังอ่านไม่คล่อง
เขียนไม่คล่อง ปัญหาที่พบอีกย่างคือ มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่ให้ความสำคัญกับการสอนภาษาไทยในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปหรือวิชาพื้นฐาน
นอกจากนี้ยังพบว่านโยบายการเปิดสื่อการเรียนการสอนเสรีทำให้โรงเรียนเลือกแบบเรียนได้อย่างอิสระ
ซึ่งแบบเรียนภาษาไทยที่ภาคเอกชนผลิตขึ้นมาพบว่า ไม่ได้คุณภาพตามหลักวิชา
แต่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการของกระทรวงศึกษาธิการ และนำไปขายในโรงเรียนชนบทจำนวนมาก
และมีผลประโยชน์ระหว่างสำนักพิมพ์เอกชนกับโรงเรียนที่มีอำนาจในการคัดเลือกสื่อและแบบเรียนเหล่านี้ด้วย
หนังสือเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ยังมีเนื้อหาอ่านเข้าใจยาก แบบฝึกหัดยาก
ไกลตัวเด็ก บางเรื่องไม่เหมาะกับชั้นเรียน เนื้อหาหลักภาษาไม่ครอบคลุม
หนังสือเรียนหลักสูตรเก่าจะมีเนื้อหาสาระดีกว่าหนังสือเรียนหลักสูตรใหม่
อีกทั้งหนังสือภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการเช่น ภาษาพาที วรรณคดีลำนำ ปฏิสัมพันธ์
ไม่สอดคล้องกับหลักสูตร เนื้อหาไม่ต่อเนื่อง ทำให้นักเรียน ไม่สนใจอยากจะอ่าน
ผู้คิดไม่เคยได้สัมผัสจริงว่ามีปัญหาอย่างไร
จึงควรมีรายการส่งเสริมภาษาไทยเพื่อสอนเยาวชนให้อ่านถูกเขียนได้
จากบทความสรุปได้ว่า
ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติงานฉลอง ๒oo ปี
วันคล้ายวนประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
และมีพระราชดำรัสเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง
ปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน โดยมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
นโยบายการเปิดเสรีสื่อการเรียนการสอน ทำให้
๓๕
โรงเรียนเลือกแบบเรียนได้อย่างอิสระ
ซึ่งแบบเรียนภาษาไทยที่เอกชนผลิตขึ้นมาพบว่า ไม่ได้คุณภาพตามหลักวิชาการ
แต่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการของ กระทรวงศึกษาธิการ
และนำไปขายในโรงเรียนชนบทจำนวนมาก และมีผลประโยชน์ระหว่างสำนักพิมพ์เอกชนกับ
โรงเรียนที่มีอำนาจในการคัดเลือกสื่อและแบบเรียน
และทรงเล็งเห็นด้วยว่าการสอนให้ท่องจำบทอาขยานเป็นสิ่งที่พัฒนาการจดจำการเรียนรู้ภาษาไทย
หากไม่ให้ท่องจำและฝึกคิด การเรียนรู้ภาษาไทยก็จะเสียไป
๕.ปรัชญา
๑. ปรัชญาการศึกษา
จากการที่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาและปรัชญามาโดยลำดับแล้วจะได้พิจารณาต่อไปว่า
ปรัชญาและการศึกษามีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดและนำไปใช้ประโยชน์ต่อการศึกษาได้อย่างไร
(จำนง ทองประเสริฐ ๒๕๒o
; วิไล ตั้งจิตสมคิด ๒๕๔o)
๑.
ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ
ปรัชญามุ่งศึกษาของชีวิตและจักรวาลเพื่อหาความจริงอันเป็นที่สุด
ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม
สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทั้งปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
สรุปวาว่าปรัชญา มีความสัมพันธ์กับการศึกษาดังนี้
๑.๑
ปรัชญาช่วยพิจารณาและกำหนดเป้าหมายทางการศึกษา การศึกษาเป็นกิจกรรมที่ทำให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่พึงปรารถนา
ปรัชญาจะช่วยกำหนดแนวทางหรือเป้าหมายที่พึงปรารถนา
ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมฯลฯ
และปรัชญาจะช่วยให้เห็นว่าเป้าหมายทางการศึกษาที่จะเลือกนั้นสอดคล้องกับการมีชีวิตที่ดีหรือไม่
ชีวิตที่ดีควรเป็นอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์คืออะไร
ปัญหาเหล่านี้นักปรัชญาอาจเสนอแนวความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกเปาหมายทางการศึกษา
(วิทย์ วิศทเวทย์ ๒๕๓๒ : ๒๙)
๑.๒
ความหมายที่จะวิเคราะห์ วิพากย์ วิจารณ์ และพิจารณาดูการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้ง ทุกแง่ทุกมุม
ให้เข้าใจถึงแนวคิดหลัก ความสำคัญ ความสัมพันธ์ ละเหตุผลต่างๆ
อย่างชัดเจนมีความต่อเนื่อง และมี
๓๖
ความหมายต่อมนุษย์
สังคมและสิ่งแวดล้อมนี้เองที่เป็นงานสำคัญของปรัชญาต่อการศึกษาหรือที่เราเรียกว่า
ปรัชญาการศึกษา นั่นเอง (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ๒๕๒๓ : ๓๔)
สรุปว่าปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างมาก
ปรัชญาช่วยให้เกิดความชัดเจนทางการศึกษาและทำให้นักศึกษาสามารถดำเนินการทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องรัดกุมเพราะได้ผ่านการพิจารณา
วิพากย์วิเคราะห์อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ขจัดความไม่สอดคล้อง
และหาทางพัฒนาแนวคิดใหม่ ให้กับการศึกษา
๒.
ความหมายของปรัชญาการศึกษา มีผู้ให้นิยามปรัชญาการศึกษา
แตกต่างกันหลายทัศนะดังต่อไปนี้ จอร์จ เอฟ เนลเลอร์ (Kneller ๑๙๗๑ : ๑)
กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือ การค้นหาความเข้าใจในเรื่องการศึกษาทั้งหมด การตีความหมายโดยการใช้ความคิดรวบยอดทั่วไปที่จะช่วยแนะแนวทางในการเลือกจุดมุ่งหมายและนโยบายของการศึกษา
เจมส์ อี แมคเคลนเลน (Mcclellan ๑๙๗๖ :๑ อ้างถึงใน อรสา สุขเปรม
๒๕๔๑) กล่าวว่าปรัชญาการศึกษา คือ สาขาวิชาหนึ่งในบรรดาสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย
อันเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ วิจิตร ศรีสอ้าน (๒๕๒๔ : ๑o๕) กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือจุดมุ่งหมาย ระบบความเชื่อ
หรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์ หรืออุดมคติ
ทำนองเดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง อุดมการณ์ของชีวิต
อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิตนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป
ปรัชญาการศึกษาคือ จุดมุ่งหมายของการศึกษานั่นเอง สุมิตร คุณานุกร (๒๕๒๓ : ๓๙)
กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือ อุดมคติ อุดมการณ์อันสูงสุด
ซึ่งยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษา มีบทบาทในการเป็นแม่บท
เป็นต้นกำเนิดความคิดในการกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาและเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
ตลอดจนถึงกระบวนการในการเรียนการสอน สรุปว่า ปรัชญาการศึกษาคือ แนวความคิด หลักการ
และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทาง ในการจัดการศึกษา
ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา
ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน
ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ
ชัดเจน และสมเหตุสมผล
๓.ลัทธิปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษามีอยู่มากมายหลายลัทธิ
ตามลักษณะและตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ต่างก็คิดและเชื่อไม่เหมือนกัน
อาศัยแนวคิดของปรัชญาพื้นฐานที่แตกต่างกัน หรือนำมา
๓๗
ผสมผสานกัน ทำให้มีลักษณะที่คาบเกี่ยวกัน
หรืออาจมาจากความคิดของปรัชญาพื้นฐานสาขาเดียวกันดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีหลายลัทธิ
หลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึงปรัชญาการศึกษาที่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางดังต่อไปนี้
(บรรจง จันทรสา ๒๕๒๒
; อรสา สุขเปรม ๒๕๔๖ : ๖๓ – ๗๔)
๓.๑ ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism)
๓.๒ ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)
๓.๓ ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism)
๓.๔ ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
๓.๕ ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
๓.๑
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เกิดในอเมริกา
เมื่อประมาณ ปี ค.ศ.๑๓๙o โดยการนำของ วิลเลี่ยม ซี แบคลี (William
C. Bagley) และคณะ
ได้รวมกลุ่มกันเพื่อเผยแพร่แนวคิดทางการศึกษาฝ่ายสารัตถนิยม
และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และยังนิยมเรื่อยมาอีกเป็นเวลานาน
เพราะมีความเชื่อว่าลัทธิปรัชญาสารัตถนิยมมีความเข้มแข็งในทางวิชาการและมีประสิทธิภาพในการสร้างค่านิยมเกี่ยวกับระเบียบวินัยได้ดีพอที่จะทำให้โลกเสรีต่อสู้กับโลกเผด็จการของคอมมิวนิสต์
(ภิญโญ สาธร :๒๕๒๕, ๓๑)
๓.๒
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพื้นฐานกลุ่มวัตถุนิยมเชิงเหตุผล(Rational
realism) หรือบางทีเรียกว่าเป็นพวกโทมนัสนิยมใหม่ (Neo –
Thomism) เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกกำลังมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น
โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบสินค้า
ราคาสูงเกิดปัญหาครอบครัว ขาดระเบียบวินัย
มนุษย์ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ทำให้วัฒนธรรมเสื่อมสลายลงไป
จึงมีการเสนอปรัชญาการศึกษาลัทธินี้ขึ้นมาเพื่อให้การศึกษาเป็นสิ่งนำพามนุษย์ไปสู่ความมีระเบียบเรียบร้อย
มีเหตุและผล มีคุณธรรมและจริยธรรม จึงเป็นที่มาของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม มีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
ผู้เป็นต้นคิดของปรัชญาลัทธินี้ คือ อริสโตเติล (Aristotle) และเซนต์
โทมัส อะ
๓๘
ไควนัส (St. Thomas Aquinas) อริสโตเติลได้พัฒนาปรัชญาลัทธินี้โดยเน้น
การใช้ความคิดและเหตุผล จนเชื่อได้ว่า Rational humanism ส่วนอะไควนัส
ได้นำมาปรับให้เข้ากับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า เรื่องศาสนา
ซึ่งเป็นเรื่องของเหตุและผล
แนวคิดนี้มีส่วนสำคัญโดยตรงต่อแนวคิดทางการศึกษาในศตวรรษที่ 20
นักปรัชญาที่เป็นผู้นำของปรัชญานี้ในขณะนี้คือ โรเบิร์ท เอ็ม ฮัทชินส์ (Robert
M. Hutchins) และคณะได้รวบรวมหลักการและให้กำเนิดปรัชญานิรันตรนิยมขึ้นมาใหม่ในปี
ค.ศ.๑๙๒๙
๓.๓
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism) ปรัชญานี้ให้กำเนิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดดั้งเดิมที่การศึกษามักเน้นแต่เนื้อหา
สอนให้ท่องจำเพียงอย่างเดียว ทำให้เด็กพัฒนาด้านสติปัญญาอย่างเดียว
ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
ไม่มีความกล้าและความมั่นใจในตนเองประกอบกับมีความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำให้เกิดแนวความคิดปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมขึ้นปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมเกิดขึ้นใน
ค.ศ.๑๘๗o โดยฟรานซิส ดับเบิ้ลยูปาร์คเกอร์ (Francis
W. Parker) ได้เสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษาเสียใหม่
เพราะการเรียนแบบเก่าเข้มงวดเรื่องระเบียบวินัย แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับ
ต่อมา จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)ได้นำแนวคิดนี้มาทบทวนใหม่
โดยเริ่มงานเขียนชื่อ School of Tomorrow ออกตีพิมพ์ในปีค.ศ.๑๙๑๕
ต่อมามีผู้สนับสนุนมากขึ้นจึงตั้งเป็นสมาคมการศึกษาแบบพิพัฒนาการ (ProgessiveEducation
Association) (Kneller ๑๙๗๑ : ๔๗) และนำแนวคิดไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ
แต่ก็ถูกจู่โจมตีจากฝ่ายปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
ปรัชญาการศึกษา สารัตถนิยมกลับมาได้รับความนิยมอีก
จนสมาคมการศึกษาพิพัฒนาการนิยมต้องยุบเลิกไป
แต่แนวคิดทางการศึกษาปรัชญาพิพัฒนาการนิยมยังคงใช้ในสหรัฐอเมริกา
ต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นและแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
๓.๔
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)ในปี ค.ศ.๑๙๓o
ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในสหรัฐอเมริกา เกิดปัญหาการว่างงาน
คนไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม
จึงมีนักคิดกลุ่มหนึ่งพยายามจะแก่ปัญหาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม
ผู้นำของกลุ่มนักคิดกลุ่มนี้ ได้แก่ จอรัจ เอส เค้าทส์ (George S.Counts) ซึ่งมีความเห็นด้วยกับหลักการประชาธิปไตย
แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
และควรเห็นว่าโรงเรียนควรมีหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะอย่างของสังคมผู้ที่วางรากฐานและตั้งทฤษฎีปฏิรูปนิยม
ได้แก่ ธีโอดอร์ บราเมลด์ (Theodore Brameld)ในปีค.ศ.๑๙๕o โดยได้เสนอปรัชญาการศึกษาเพื่อปฏิรูปสังคมและได้ตีพิมพ์
ลงในหนังสือหลายเล่ม ธีโอดอร์ บราเมลด์
จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
๓๙
๓.๕
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ปรัชญานี้เกิดขึ้นเนื่องจากความรู้สึกที่ว่ามนุษย์กำลังสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง
การศึกษาที่มีอยู่ก็มีส่วนทำลายความเป็นมนุษย์
เพราะสอนให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพความเป็นตัวของตัวเองให้ลดน้อยลง
นอกจากนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีส่วนในการทำลายความเป็นมนุษย์
เพราะต้องพึ่งพามันมากเกินไปนั่นเองผู้ให้กำเนิดแนวความคิดใหม่ทางปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม
ได้แก่ ซอเร็น คีร์เคอร์การ์ด (Soren Kierkegard) นักปรัชญาชาวเดนมาร์ค
เขาได้เสนอความคิดว่า ปรัชญาเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน
ดังนั้นทุกคนจึงควรสร้างปรัชญาของตนเองจากประสบการณ์ ไม่มีความ
จริงนิรันดร์ให้ยึดเหนี่ยวเป็นสรณะตัวตาย ความจริงที่แท้คือสภาพของมนุษย์ (Human
condition)(กีรติ บุญเจือ ๒๕๕๒: ๑๔ ) แนวคิด ของ คีร์เคอร์การ์ด
มีผู้สนับสนุนอีกหลายคน ซึ่งเป็นคนร่วมสมัยในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๕o – ๑๙๖๕ แต่ความพยายาม ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาก็เป็นเวลาราว๑o ปีต่อมาและผู้ริเริ่มนำมาใช้ทดลองในโรงเรียน คือ เอ เอส นีลล์ (A.S.
Neil) โดยทดลองในโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ (Summer
hill) ในประเทศอังกฤษ
๒. ปรัชญาหลักภาษา
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทักษะทางภาษาไทยและหลักภาษาไทยเข้าใจและตระหนักในคุณค่าและ
ความสำคัญของภาษาไทยและหลักภาษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
มีวิจารณญาณและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยบูรณาการองค์ความรู้จากภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล
จนสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและงานอาชีพ
ตลอดจนเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
ทฤษฎีการเรียนรู้
๑.
การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก
ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
๒.
การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
๓.
การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว 4.
การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ
สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้ การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
๔๐
๑.
ในการสอน
การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตรากาตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
๒. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ
หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
๓.
การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก
ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้
ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
๔.
หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน
ควรแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น
โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
และจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน
๒.
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism) ทฤษฎี Constructivism มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active)
และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก ๒ แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้
ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น ๒ ทฤษฎี คือ
๑.
Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (active)
และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น
เป็นเหตุให้ผู้เรียน ปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่
จนกระทั่ง เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
๒.
Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้
ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น
(ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social
Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น
ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
๔๑
๑.ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
๒.การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
๓.การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
๔.การจัดสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยม ทฤษฎีทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์
บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ
และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของ บรุนเนอร์
6.จิตวิทยาการสอน
ความหมายของจิตวิทยา
จิตวิทยา
หรือ Psychology มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ๒ คำ คือ Psyche
หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับ (Logos) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษา (Study) ดังนั้น
หากให้ความหมายตามนิยามดั้งเดิม จิตวิทยาจึงหมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study
of soul ) ต่อมา
มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น
โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำ หรือกระบวนการคิด พร้อมๆ
กับการศึกษาเรื่องสติปัญญา ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล รวมทั้งเรื่องของตน (Self)
และเรื่องราวของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวของบุคคล
โดยนำการสังเกตและการทดลองมาเกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความรู้มาใช้ในการศึกษาอย่างเป็นระบบ
เป็นการศึกษาที่เน้นเฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เท่านั้นมีผู้ให้คำจำกัดความจิตวิทยาที่น่าสนใจ
ดังนี้
- John B. Watson กล่าวว่า
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
๔๒
- Crow & Crow เห็นจิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
- Good คิดว่า
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
- Hilgard กล่าวว่า
จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ
- William Jamesให้ทัศนะว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการมนุษย์
กล่าวโดยสรุป
คือ จิตวิทยาได้เปลี่ยนเป็นศาสตร์ที่ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม (Behavior)ของมนุษย์ (Psychology
is the science of behavior)
ความสำคัญของจิตวิทยา
จิตวิทยามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอย่างกว้างขวาง
ผู้ศึกษาจิตวิทยาสามารถได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
๑.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ความต้องการ
การแก้ปัญหา การปรับตัว อารมณ์และความรู่สึกในสถานการณ์ต่างๆ
๒.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี
สามารถเอาชนะปมด้อยต่างๆ รู้วิธีแก้ปัญหาและปรับตัวอย่างเหมาะสม
ขจัดความขัดแย้งในใจได้และความวิตกกังวลได้
๓.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม
๔.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ขอบข่ายของจิตวิทยา
๑.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้
การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น
จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
๔๓
๒.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ
ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
๓.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม
ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
๔.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
๕.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ
ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา
เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน
และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
๖.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต
สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
๗.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ
เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้นT
๘.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน
ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน
การประเมินผลงาน
๙.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน
การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
๑o.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ
วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต
ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
๔๔
จิตวิทยาการศึกษา
หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน
โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา
คือ เพื่อให้เข้าใจ (Understanding)
เพื่อการทำนาย (Prediction) และเพื่อควบคุม (Control)
พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ กู๊ดวินและคลอส
ไมเออร์(Goodwill & Cross Mier,๑๙๗๕) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา ไว้ดังนี้
๑.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี
หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
๒.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
๓.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน
เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา
มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
๑.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ
ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ
ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
๔๕
๒.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม
ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย
ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
๓.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ
การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
๔.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก
ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
๕.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
๖.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร
อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
๗.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
๕. แนวคิดและทฤษฏีที่เป็นพื้นฐานในการสอนซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย
๑. ทฤษฎี BBL
Brain
Based Learning หมายถึง การเรียนรู้
ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็น เครื่องมือในการเรียนรู้โดยไม่สกัดกั้นการท
างานของสมอง แต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติ หน้าที่ให้สมบูรณ์ ที่สุด
ภายใต้แนวคิดที่ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกคนมีสมองพร้อมที่จะทำ เรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด
องค์ประกอบ
องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้แบบ
Brain Based Learning ประกอบด้วยองค์ประกอบของการส่งเสริมการคิดต่างๆ
โดยองค์ประกอบการคิดประกอบด้วย
๑. สิ่งเร้า
เป็นสื่อและองค์ประกอบแรกที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดการรับรู้ สิ่งเร้าทำให้เกิดปัญหา
ความสงสัย ความขัดแย้ง และก่อให้เกิดการคิด
๔๖
๒. การรับรู้ บุคคลสามารถรับรู้ด้วยประสาททั้ง ๕ คือ
หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง
ระดับการรับรู้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของสิ่งเร้า
๓.จุดมุ่งหมายในการคิด ผู้คิดจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนในการคิดแต่ละครั้งว่ามีเหตุผลเพื่ออะไร
๔. วิธีคิด
การคิดแต่ละครั้งจะต้องเลือกวิธีคิดให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย เช่น
คิดเพื่อตัดสินใจควรใช้คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหาควรใช้วิธีคิดแบบแก้ปัญหา
๕. ข้อมูลหรือเนื้อหา เป็นความรู้ ประสบการณ์หรือข้อมูลการรู้ใหม่ที่ศึกษาค้นคว้า
๖. ผลของการคิด
เป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติงานทางสมองหรือกระบวนการคิดของสมองกระบวนการ กระบวนการเบื้องต้นที่สำคัญของการสอนมี๓
ประการ(The Three Elements of Great Teaching) ได้แก่
๑.กระบวนการการผ่อนคลาย ( Relaxed Alertness)
การสร้างอารมณ์ บรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดีที่สุด มีลักษณะผ่อนคลาย
ท้าทายให้ผู้เรียนมีความรู้สึกสามารถเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ ที่อยากจะเรียน
จัดสิ่งแวดล้อม
โอกาสประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนร่วมได้และเชื่อมโยงการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเป้าหมายของแต่ละคนที่สนใจ
๒.กระบวนการสร้างความตระหนัก จดจ่อ(Orchestrated
immersion) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับความรู้สึก
ตระหนัก จดจ่อที่จะเรียนของผู้เรียนโดยผ่านการได้เห็น ได้ยิน ได้ดม สัมผัส
ได้ชิมรส และได้เคลื่อนไหวร่างกาย ได้เชื่อมโยงความรู้เดิมมาใช้กับการเรียนรู้สิ่งใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาที่เข้ามาเผชิญหน้าฝึกปฏิบัติค้นหาคำตอบ
๓.หลักในการจัดประสบการณ์ที่เป็นกระบวนการอย่างกระตือรือร้น
(Active Processing of Experience) เป็นการจัดประสบการณ์ที่สร้างสรรค์นำไปสู่ความแข็งแกร่งในการเรียนรู้
โดยจัดกิจกรรมที่มีความหมาย ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนพิจารณา หรือค้นหาคำตอบ
ข้อมูลสารสนเทศอย่างกระตือรือร้น และ feed back นักเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด
หาทางพิสูจน์หรือค้นหาคำตอบ วิเคราะห์สถานการณ์บนพื้นฐานของพวกเขาได้ฝึกทักษะการตัดสินใจในช่วงวิกฤติและสื่อสารบนความ
๔๗
เข้าใจของตนเองปัจจัยการพัฒนาสมองเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
( Brain Based Learning Development)ผู้สอนจำต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสมองเพื่อการเรียนรู้เพื่อจะได้บริหารจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนที่ดีและเหมาะสม
๑. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง
เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของสมองตามแนวใหม่นี้คือกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่ได้รับการยกระดับ
และให้ความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
๒.กระบวนการสร้างความตระหนัก จดจ่อ(Orchestrated
immersion) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับความรู้สึก
ตระหนัก จดจ่อที่จะเรียนของผู้เรียนโดยผ่านการได้เห็น ได้ยิน ได้ดม สัมผัส
ได้ชิมรส และได้เคลื่อนไหวร่างกาย
ได้เชื่อมโยงความรู้เดิมมาใช้กับการเรียนรู้สิ่งใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาที่เข้ามาเผชิญหน้าฝึกปฏิบัติค้นหาคำตอบ
๓.หลักในการจัดประสบการณ์ที่เป็นกระบวนการอย่างกระตือรือร้น
(Active Processing of Experience) เป็นการจัดประสบการณ์ที่สร้างสรรค์นำไปสู่ความแข็งแกร่งในการเรียนรู้
โดยจัดกิจกรรมที่มีความหมาย ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนพิจารณา หรือค้นหาคำตอบ
ข้อมูลสารสนเทศอย่างกระตือรือร้น และ feed back นักเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด
หาทางพิสูจน์หรือค้นหาคำตอบ
วิเคราะห์สถานการณ์บนพื้นฐานของพวกเขาได้ฝึกทักษะการตัดสินใจในช่วงวิกฤติและสื่อสารบนความเข้าใจของตนเองปัจจัยการพัฒนาสมองเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
( Brain Based Learning Development) ผู้สอนจำต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสมองเพื่อการเรียนรู้เพื่อจะได้บริหารจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนที่ดีและเหมาะสม
๑. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง
เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของสมองตามแนวใหม่นี้คือกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่ได้รับการยกระดับ
และให้ความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจากการศึกษาระดับสติปัญญา (IQ)
ของเด็กไทยของ ลัดดา เหมาะสุวรรณ และคนอื่นๆปรากฏผล
๒. ธรรมชาติของการเรียนรู้กับสมอง
๔๘
(๑) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ
- สิ่งที่เรียนมีความหมายต่อผู้เรียน (Meaningful) เกิดขึ้นโดยผู้เรียนเอง
(Self-Learning)และเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละคน (Personal)
(๒) สมองมีผลต่อการเรียนรู้โดยตรง
(๓) ถ้าสมองได้รับการพัฒนา
การฝึกฝน การใช้การบำรุงรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการเรียนรู้
(๔) อัตราการเรียนรู้ของสมองสูงสุดเมื่ออายุ0-10
ปีซึ่งเป็นโอกาสทองของการเรียนรู้
(๕) สมองจะเรียนรู้ในเรื่องหลักคือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก
การมองเห็น คำศัพท์ ภาษา ดนตรีสุนทรียะ คณิตศาสตร์และตรรกะ สังคมและอารมณ์
ความรู้สึก
Brain
Based Learning หมายถึงการเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมองเป็น
เครื่องมือในการเรียนรู้โดยไม่สกัดกั้นการท างานของสมอง
แต่เป็นการส่งเสริมให้สมองได้ปฏิบัติ หน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด ภายใต้แนวคิดที่ว่า
ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ทุกคนมีสมองพร้อมที่จะทำ เรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด BBL
มีหลักการที่ผู้สอนอาจนำไปใช้เป็นข้อคิดก่อนออกแบบกิจกรรมให้กับ ผู้เรียนไว้
๑๒ ข้อคือ
๑. สมองเปรียบเสมือนผู้ดำเนินการสามารถปฏิบัติกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้
๒. BBL เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยาทั้งหมด
๓. BBL เป็นกระบวนการค้นหาคำตอบในตัวมันเอง
๔. BBL เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบและมีแบบแผน
๕. BBL เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และ
วิกฤตการณ์นำไปสู่การวางแบบการ เรียนรู้ที่ดี
๖. สมองมีกระบวนการท างานของทุกส่วนโดยพร้อมเพรียงกัน
๗. BBL เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับจุดสนใจและการรับรู้ที่อยู่รอบนอก
๘. BBL เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก
๔๙
๙. BBL เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการจำและการลืม
๑๐. เราจะเข้าใจได้ดีที่สุดเมื่อความจริงที่เรียนรู้อยู่ในความทรงจำของเราโดยธรรมชาติ
๑๑. การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อถูกท้าทายและห้ามบังคับขู่เข็ญ
๑๒. สมองของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะพิเศษไม่เหมือนกัน
นอกจากนี้การสอนตามแนวทาง
Brain Based Learningยังคำนึงถึง หลักการธรรมชาติ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์(The
Natural Human Learning Process) มนุษย์มีระบบประสาท มี เซลสมองมีจุดเชื่อมต่อเซลสมองหลายๆอันที่เป็นเครือข่าย
และการเรียนรู้สิ่งใหม่จะเริ่มต้นที่เซล สมอง ( body) ซึ่งมีสายใยประสาท(
dendrite ) เป็นตัวรับข้อมูล โดยจะมีจุดเชื่อม ( Synapse
) ระหว่างประสาท ( neuronal)และ dendriteจะเกิดมากขึ้นและเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายมากขึ้นเมื่อถูก กระตุ้นและมีการปฏิบัติการเรียนรู้และถ้าหากมนุษย์มีอารมณ์ทางลบ
สมองจะหยุดการหลั่งสาร ถ้า มีอารมณ์ทางบวกสมองจะหลั่งสารเคมีไหลผ่าน synaptic
gap จะทำให้ความจำและการคิดเพิ่ม ประสิทธิภาพมาก ธรรมชาติของ
สมองชอบเรียนรู้และรู้วิธีการเรียนรู้มาตั้งแต่เกิด การเรียนรู้เกิด จากการปฏิบัติ
และการทำสิ่งที่ผิดพลาดให้ให้ดีขึ้นถือว่าเป็นการเรียนรู้การเรียนรู้เริ่มจากการ เชื่อมต่อความรู้เดิมและความรู้ใหม่
จะเรียนรู้อะไรต้องทำหรือปฏิบัติสิ่งนั้น สมองได้ทำงาน มากผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมมากๆจะทำให้
dendriteมีการเชื่อมต่อมากขึ้นและถ้าไม่ใช้สมองมัน ส่วนที่ไม่ใช้ก็จะฝ่อ
สูญหายไป ถ้าสมองถูกใช้ถูกกระตุ้นdendrite จะเพิ่มมากขึ้นจะทำให้การทำงาน
ของสมองมีประสิทธิภาพ สมองของเรามีธรรมชาติในการคิดมาตั้งแต่กำเนิดครูต้องเข้าใจวิธีการ
เรียนรู้ของสมองๆเป็นอวัยวะที่มีพลังในตัวเอง หากเกิดความสุขและความพอใจ
สมองจะผลิต
๒.ทฤษฎีพหุปัญญา ( Theory of Multiple Intelligences )
การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด
หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด
ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์
คณิตศาสตร์ และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น
ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น
เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น
๕๐
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด
การ์ดเนอร์ (Howard
Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of
Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า
สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน
แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๖ การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย ๗ ด้าน คือ
ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก ๑ ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา
เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา
ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย ๘ ด้าน ดังนี้
๑. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ
ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย
สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู
ทนายความ หรือนักการเมือง
๒. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence)
คือ
ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์
และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี
นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
๓. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ
ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง
และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน
มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร
๕๑
ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป
ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
๔. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily
Kinesthetic Intelligence)
คือ
ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง
ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง
นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
๕. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ
ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้
การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี
และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
๖. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal
Intelligence)
คือ
ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์
และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง
สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน
แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา
นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง
หรือนักธุรกิจ
๗. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal
Intelligence)
คือ
ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง
ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า
เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง
รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง
หรือความสามารถในเรื่องใดมีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด
๕๒
ความคาดหวัง ความปรารถนา
และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
๘. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist
Intelligence)
คือ
ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์
และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต
เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก
แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ
เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน ๓ เรื่องหลัก ดังนี้
๑. แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด
เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
๒. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย
เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
๓. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย
เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ทฤษฎีพหุปัญญา
ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม
แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม
ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน
แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว
หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ
แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ
ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด
หรือไม่มีเลยสักด้านเดียวนับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง
และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
บันไดทักษะ ๔ ขั้น
๕๓
ขั้นที่๑ ครูนำเด็กเปล่งเสียงอ่านแจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง
กระทำซ้ำๆ คำละประมาณ๒-๓ ครั้ง หรือจนกว่าเด็กจะมีทักษะ
ขั้นที่๒
ครูนำเด็กเปล่งเสียงอ่านคำ กลุ่มคำ และข้อความที่ผูกไว้เป็นเรื่องแต่ละตอน
กระทำซ้ำๆประมาณ๒-๓ เที่ยว หรือจนกว่าจะจำ
ขั้นที่๓ ให้เด็ก
คัดลายมือ จากคำ กลุ่มคำ และข้อความที่ผูกเป็นเรื่อง
เสร็จแล้วให้นำสมุดคัดลายมือนี้กลับไปอ่านอวดผู้ปกครองที่บ้าน
ข้อพึงระวังในขั้นตอนนี้ก็คือ ให้เด็กคัดลายมือ เพียง กลุ่มคำ และเรื่องเท่านั้น
อย่าให้เด็กคัดการแจกลูกของคำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ
ขั้นที่๔ ทดสอบ
เขียนตามคำบอก โดยครูเลือกคำจากคำ หรือกลุ่มคำ หรือข้อความที่ผูกไว้เป็นเรื่อง
ซึ่งเด็กได้คัดลายมือแล้วนั้นมาเป็นคำทดสอบ โดยให้ครูบอกคำละ๒ ครั้ง ในแต่ละคำอาจม๑
พยางค์หรือ๒พยางค์ หรือ ๔ พยางค์ก็ได้
ให้คำนึงถึงทักษะและลำดับแห่งการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ให้เด็กนั่งห่างกันประมาณ ๑ เมตร
๗. การสอนซ่อมเสริมด้านการอ่านและการเขียน
ความหมายของการสอนซ่อมเสริม
กมลรัตน์ วงศ์ถามาตย์ (๒๕๔๒ : ๘)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า ได้ให้ความรู้ไว้ว่า “การสอนซ่อมเสริมเป็นการสอนนอกชั้นเรียนปกติในเนื้อหาวิชาที่เรียนมาแล้วในชั้นเรียนปกติเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องให้กับนักเรียนเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้”
ไพจิตรา
นาคแย้ม ( ๒๕๔๖ : ๒๐) กล่าวว่า การสอนซ่อมเสริม
คือ การจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติ
แก่นักเรียนที่มีความบกพร่องและประสบปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียน
โดยมุ่งแก้ไขข้อบกพร่อง และเพิ่มประสิทธิผล
ในการเรียนและในขณะเดียวกันอาจจะจัดขึ้นเพื่อ เป็นการเสริมทักษะการเรียนรู้ใหม่
ให้นักเรียนได้พัฒนาเด็กอย่างเต็มความสามารถ
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ ( ๒๕๔๕ : ๑๔๒)
กล่าวว่า การสอนซ่อมเสริม คือการให้โอกาสแก่ ผู้เรียนได้มีเวลาเรียนได้มีเวลาเรียนเพิ่มขึ้น
ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นจนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ที่กำหนด
จากที่นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายการสอนซ่อมเสริมดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า
การสอนซ่อมเสริม เป็นการสอนที่แตกต่างจากการสอนในชั้นเรียนปกติ
เป็นการสอนในเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว
๕๔
เพื่อช่วยแก้ไขนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียน
หรือ เรียนช้า ให้เรียนได้ทันเพื่อนในระดับเดียวกันและพัฒนาทักษะให้ดีขึ้นไป
ความสำคัญของการสอนซ่อมเสริม
ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ (Online : ๒๐๐๙) กล่าวว่า
การสอนซ่อมเสริม มีบทบาทสำคัญยิ่งใน การจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
จึงต้องการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน
การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง
ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
การจัดการศึกษาควรตั้งอยู่บนพื้นฐานดังต่อไปนี้
๑. ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย
สติปัญญา อารมณ์และสังคม
๒. ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน
และแต่ละคนจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าหากันและให้ทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
๓.
ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้าง
การศึกษาจะช่วยให้ความสามารถของผู้เรียนปรากฏเด่นชัดขึ้น
๔.
ในสังคมมนุษย์นั้นย่อมมีทั้งคนปกติและคนพิการ ในเมื่อเราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมของคนปกติได้เราก็ไม่ควรแยกให้การศึกษาแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับคนปกติเท่าที่สามารถจะทำได้
๕.
การให้การศึกษาควรมีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีศักยภาพการเรียนรู้ได้เต็มที่
หลักการสอนซ่อมเสริม
เพื่อให้การสอนซ่อมเสริมบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักการสอนที่ดีและเหมาะสม
เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมากที่สุดทั้งตัวผู้สอนและตัวผู้เรียน
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (๒๕๔๕ : ๑๔๒) ได้ให้หลักการสอนซ่อมเสริมดังนี้
๕๕
๑.
การสอนซ่อมเสริมจะต้องเริ่มต้นจากความต้องการ
ความเหมาะสมและปัญหาของผู้เรียนควรมีการศึกษาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผู้เรียนเรียนอ่อน
๒. การสอนซ่อมเสริมจะต้องให้ความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล
และควรเปิดโอกาสให้มีการท างานเป็นกลุ่มบ้าง
เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
๓.
การสอนซ่อมเสริมจะต้องมีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า
๔. อุปกรณ์สำหรับการสอนซ่อมเสริม
ควรเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน และควรมีหลายอย่างเพื่อปูองกันความเบื่อหน่าย
๕.
ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนในภาคปฏิบัติมาก ๆ
๖. กระบวนการในการจัดการสอนซ่อมเสริมจะต้องมีความพอเหมาะพอควร
๗. ควรใช้เทคนิคการสอนหลาย ๆ แบบ
และจะต้องมีความยืดหยุ่นสามารถปรับให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน
๘.
มีการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว
๙. การสอนซ่อมเสริมควรเป็นการสอนเฉพาะเรื่อง
มิใช่เป็นการจัดการสอนเหมือนปกติโดยทั่ว ๆไป
๑๐. จัดช่วงเวลาในการฝึกให้พอเหมาะ ควรให้มีระยะพัก
๑๑. ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้เรียนโดยการให้กำลังใจ
ความหวัง และเป็นคู่คิดในการแก้ปัญหา ตลอดจนเสริมกำลังใจ เสริมแรง ให้ความรัก
ความเมตตา และให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
๑๒. กิจกรรมและแบบฝึกหัดสำหรับการสอนซ่อมเสริม
จะต้องน่าสนใจ สนุกและไม่ซ้ำซาก
๑๓. ให้ผู้เรียนแข่งขันกับตัวเองมากกว่าแข่งขันกับเพื่อนในกลุ่ม
๕๖
๑๔. ต้องให้ผู้เรียนได้ทราบความก้าวหน้าของตนเองทุกระยะอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นครูพึงระลึกอยู่เสมอว่ามีวิธีการต่างๆอย่างหลากหลายวิธีที่ครูสามารถเลือกมาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อขจัดข้อบกพร่องของเด็กได้ดังที่
Ashlock (๑๙๘๒ :๑๔ – ๑๗) ได้เสนอแนะไว้เป็นแนวทางบางประการ ดังนี้
๑. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการประเมินตนเอง
ด้วยการมีส่วนร่วมในกระบวนการวัดและประเมินผล เพื่อหาข้อบกพร่องในการเรียนของตนเอง
๒.
คำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียนในแง่ของการมีพื้นฐานความรู้
ความเข้าใจ ความคิดรวบยอดย่อย
ก่อนที่จะเรียนรู้ความคิดรวบยอดใหม่ซึ่งซับซ้อนกว่าเดิม
๓. คำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อตนเอง คือ
ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าตนเองยังเป็นคนมีคุณค่าละสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้
๔.
การสอนซ่อมควรพยายามให้เป็นการสอนรายบุคคลให้มากที่สุดถึงแม้ว่าบางครั้งครูจำเป็นต้องสอนซ่อมเป็นกลุ่ม
ผู้เรียนแต่ละคนก็ต้องได้รับการดูแลแก้ไขเป็นรายบุคคลด้วย
๕.
สร้างโปรแกรมการสอนซ่อมบนรากฐานของการวินิจฉัยการเรียน
๖. วางแผนการสอนซ่อมอย่างเป็นลำดับขั้น
พยายามให้ง่าย ไม่ซับซ้อน
๗. พยายามเลือกวิธีสอนที่แตกต่างไปจากวิธีสอนเดิมที่เคยเรียนไปแล้ว
เพราะผู้เรียนมักมีความกังวล หรือเกิดความรู้สึกกลัวต่อวิธีการเดิม ซึ่งทำให้ตนไม่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว
๘.
ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย
เพื่อให้ประสบการณ์ที่กว้างขวางแก่ผู้เรียน
ซึ่งประสบการณ์ที่หลากหลายเหล่านี้จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
๙.
สนับสนุนให้ผู้เรียนได้จัดกระทำกับวัตถุให้มากที่สุดเท่าที่ตนเองเห็นว่าจะช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นการเสียเวลา
๑๐. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความเข้าใจด้วยภาษาของตนเอง
๕๗
๑๑. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจจากกิจกรรมที่ครูเตรียมไว้ให้โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
๑๒. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดด้วยความรอบคอบ
โดยเริ่มจากประสบการณ์รูปธรรมไปสู่ประสบการณ์กึ่งรูปธรรมและไปสู่การใช้สัญลักษณ์ในที่สุด
๑๓. เน้นการจัดระบบการเรียนรู้โดยนำผลการเรียนรู้ใหม่ไปผสมผสานกับผลการเรียนรู้เดิม
ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ใหม่ที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียนดียิ่งขึ้น
๑๔.
เน้นทักษะและความสามารถอันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน เช่น
เด็กที่คิดคำนวณผิดจะสามารถคิดคำนวณได้แม่นยำขึ้นถ้ามีความสามารถในการกะประมาณ
ซึ่งจะช่วยในการพิจารณาคำตอบว่าน่าจะถูกต้องหรือไม่
๑๕. ให้ความสนใจเรื่องลายมือ เพราะผู้เรียนจำนวนไม่น้อยที่คิดคำนวณผิดเพราะเขียนตัวเลขไม่ชัดเจน
ทำให้ตนเองอ่านตัวเลขผิด จึงคิดคำนวณผิดไปด้วย
๑๖. การฝึกหัดควรทำหลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่เรียนดีแล้ว
๑๗. สร้างแรงจูงใจโดยเลือกกิจกรรมการฝึก
ซึ่งเห็นผลได้ทันทีว่าคำตอบของผู้เรียนถูกหรือผิด
๑๘. ในเรื่องการฝึกทักษะการคิดคำนวณ
ควรฝึกโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆแต่ฝึกบ่อยๆ
๑๙. ฝึกให้ผู้เรียนสนใจและเอาใจใส่ต่อความก้าวหน้าของตนเอง
เช่น ให้ผู้เรียนเก็บแผนภูมิและกราฟแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของตนไว้
สรุปได้ว่า การสอนซ่อม เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
การสอนซ่อมและการวินิจฉัยเป็นของ คู่กัน กล่าวคือ
การวินิจฉัยที่มีคุณค่าจะต้องตามด้วยการสอนซ่อม เช่น เดียวกับการสอนซ่อมที่มีคุณค่าจะต้องเป็นการสอนซ่อมที่ดำเนินการต่อจากวินิจฉัย
การสอนซ่อมใดที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวินิจฉัย กล่าวคือ
สอนไปโดยไม่ทราบข้อบกพร่องของนักเรียนการสอนซ่อมนั้นย่อมไร้จุดมุ่งหมายที่แน่นอน
จึงไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควรประเภทของผู้เรียนที่ควรได้รับการสอนซ่อมเสริม
ผู้ที่ควรได้รับการสอนซ่อมเสริม อาจจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ (ศรียา นิยมธรรม และ
ประภัสร นิยมธรรม. ๒๕๔๑ : ๔๗)
๕๘
๑. ผู้ที่เรียนช้า ได้แก่ผู้ทีที่มีไอคิวระหว่าง ๗๐-๙๐ คนเหล่านี้มีความสามารถจำกัด จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
และเรียนรู้ช้ากว่าปกตินอกจากนี้ยังขาดทักษะเบื้องต้นต่างๆ ซึ่งทำให้การเรียนยิ่งช้าลงไปอีก
เป็นผลให้เด็กเกิดความท้อแท้และมีปัญหาจึงควรได้รับการสอนเสริม
๒.
ผู้ที่มีปัญญาเลิศ
ปกติคนกลุ่มนี้จะถูกละเลยเพราะครูคิดว่าเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้การสอนตามปกติมักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้เต็มตามศักยภาพ
๓. ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา
ได้แก่ผู้ที่มีปัญหาการเรียนอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางสภาพร่างกาย เช่น หูหนวก
ตาบอด ปัญญาอ่อน เป็นต้น
๔. ผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
คนเหล่านี้ไม่ใช่ผู้พิการ แต่มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท
มีปัญหาในการเรียนบางเรื่อง เช่น การรับรู้ การฟัง การพูด
การอ่านหรือการเขียนและมักมีช่วงความสนใจสั้น จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริมตามความจำเป็น
๕. ผู้ที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ทำให้มีผลการเรียนต่ำกว่าระดับสติปัญญาและขีดความสามารถที่มีทั้งนี้อันเนื่องมาจากการไม่ตั้งใจเรียน
ขาดแรงจูงใจในการเรียน มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์ หรือมีจิตใจแปรปรวนง่าย
๖. ผู้ทีมีประสบการณ์และภูมิหลังจำกัด
ได้แก่ผู้ที่มาจากครอบครัวซึ่งยึดมั่นในวัฒนธรรมหรือความเชื่อบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้รวมถึงผู้ที่มาจากครอบครัวที่อยู่ห่างไกลความเจริญ
มีปัญหาทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวเขา ชาวเรือ ทำให้ขาดโอกาสที่จะแสวงหาประสบการณ์
ความรู้อย่างที่บุคคลทั่วไปรู้จักและเรียนรู้ดังนั้นเมื่อคนเหล่านี้มาเรียนในโรงเรียนปกติจึงต้องการการสอนซ่อมเสริม
วิธีการสอนซ่อมเสริมด้านการอ่าน
การสอนซ่อมเสริมผู้เรียนผู้เรียนมีหมายวิธีขึ้นอยู่กับว่าสภาพของโรงเรียนเป็นอย่างไรควรเลือกวิธีใดจึงเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
หรืออาจจะเลือกหลาย ๆ วิธี หรืออาจผสมผสานวิธีการต่าง ๆ มาใช้ตลอดจนสามารถคิดค้น
ดัดแปลงวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพโรงเรียนให้มากที่สุด ซึ่งสมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (๒๕๔๕ : ๑๔๕-๑๔๖) ได้เสนอหลายวิธีดังนี้
๕๙
๑. ผู้เรียนสอนกันเอง
๒.
สอนแบบตัวต่อตัวระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
ครูผู้สอนสามารถติดตามผลได้ทันที
๓. การสอนโดยการแบ่งกลุ่มย่อย
ดูปฏิกิริยาการเข้ากลุ่มเด็กจะเริ่มดูคนอื่นมากขึ้นและทำตาม
๔. การสอนโดยใช้ชุดการเรียน สอนโดยการนำเอานวัตกรรมเกม
แบบทดสอบจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
๕.
ใช้แบบเรียนสำเร็จรูป จะใช้สำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาบางเรื่องโดยแบบเรียนจะไม่มีความซับซ้อน
๖.
สมุดแบบฝึกหัดเรียนด้วยตนเอง มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดเป็นการฝึกหัดทักษะให้มากยิ่งขึ้น
๗.
เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์และการสอนโดยใช้เกม
เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นโดยการได้ดูภาพ
๘.
การผสมผสานหลาย ๆ วิธี นำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนข้อนี้น่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับแต่ละโรงเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายวิชาการซึ่งรับผิดชอบโดยตรงในการจัดและประสานงานการสอนซ่อมเสริมหลาย
ๆ วิธี ตามความต้องการในแต่ละแบบ วราลักษณ์ จันต๊ะโมกข์ (๒๕๕๐ :๑๘) ได้เสนอแนะหลักสำคัญบางประการในการสอนเขียนไว้ ดังนี้
๑. ครูควรจะได้ทำการทดสอบความรู้พื้นฐานทางการเขียนของนักเรียนเสียก่อนที่จะมีการสอน
ในกรณีไม่มีแบบทดสอบมาตรฐาน ก็ควรจะสร้างแบบทดสอบตัวเลือกไว้ใช้เอง ซึ่งใช้สำหรับวัดความสามารถในการสะกดคำ
การใช้คำ การผูกประโยคและการเรียบเรียงข้อความ แบบทดสอบดังกล่าวนี้
จะช่วยให้ครูทราบว่านักเรียนเหล่านี้มีความสามารถทางการเขียนมากน้อยแค่ไหนนอกจากนั้นยังช่วยให้ครูได้ทราบถึงพัฒนาการทางการเขียนหลังจากได้สอนไปแล้วทุกระยะ
๒. การสอนทักษะทางการเขียนนั้น
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเรื่องใดก็ตาม ครูไม่ควรไปกำหนดเรื่องให้ตายตัว
ควรให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรื่องที่จะเขียน
หรือเขาควรจะมีส่วนร่วมในการเสนอหัวเรื่องด้วย
๖๐
๓. การสอนทักษะการเขียน
ครูไม่ควรแยกสอนจากทักษะอื่น ๆ คือทักษะการฟัง
การพูดการอ่านและสามารถให้สัมพันธ์ไปถึงวิชาวรรณคดี หลักภาษา ศิลปศึกษาและวิชาอื่น
ๆ ได้ก็จะเป็นการดี
๔. ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน
นักเรียนส่วนมากไม่ค่อยสนใจเรียนเหมือนทักษะอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ผู้สอนจึงควรใช้หลักของการเสริมแรง
เสริมกำลังใจหลายรูปแบบ
๕. การสอนเขียนนั้นครูไม่ควรมุ่งแต่จะให้กฎเกณฑ์หรือทฤษฎี
ควรให้การปฏิบัติจริงทำจริงให้ได้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
๖. การสอนทักษะการเขียนที่จะให้ได้ผลนั้น
คือ ไม่ควรใช้คำอธิบายอย่างเดียวควรใช้สื่อประกอบด้วย
เพราะสื่อการสอนจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจ และไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย
๗. ครูควรวางแผนการสอนอย่างละเอียดชัดเจน
เช่น ควรจะมีวัตถุประสงค์อะไรบ้างและควรจะให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
สามารถเน้นพฤติกรรมการเขียนของผู้เรียนได้อย่างแจ่มชัดการนำเข้าสู่บทเรียน การดำเนินการสอน
การจัดกิจกรรมที่จะให้ทักษะการเขียนสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ พร้อมทั้งสื่อการเรียนและเกณฑ์การและเมินผล
๘. นักเรียนควรจะมีส่วนร่วมในการวัดผล และการสร้างเกณฑ์ในการประเมินผลการเขียนด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้ทราบแนวทางในการวัดผลว่าควรจะเป็นอย่างไร
เพื่อว่าตัวเขาเองจะได้รู้จักใช้ ดุลยพินิจและใช้วิจารณญาณในการทำงาน
จะเห็นได้ว่าวิธีการสอนซ่อมเสริมที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมีด้วยกันหลายวิธี
การเลือกวิธีการสอนซ่อมเสริม
จึงควรเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งให้เหมาะสมของผู้ควรได้รับการซ่อมเสริม
แต่ละคนแต่ละกลุ่ม แต่ละระดับ
จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีและต่อยอดพัฒนาการของเด็กที่ซ่อมเสริมได้ต่อไปการประยุกต์ใช้
การนำความคิดการสอนซ่อมเสริมไปใช้ในชั้นเรียนปกติสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ
และได้กำหนดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่ผู้เรียน
ซึ่งไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)
แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาในประเด็นที่ว่า ครูยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันและมักมีความเข้าใจผิดกันอยู่ไม่น้อย
ทั้งในเรื่องของการจัดประเภทผู้เรียนที่จะเข้ารับบริการสอนซ่อมเสริม
การวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนวิธีการสอนซ่อมเสริม คือ ผู้ที่เรียนช้า สติปัญญาต่ำ
การสอนซ่อมเสริมจึงมุ่งเฉพาะผู้ที่เรียนอ่อน และจุดประสงค์ในการสอนซ่อมเสริมก็เพื่อที่จะให้เรียนทันเพื่อนทันหลักสูตร
และสอบผ่านเท่านั้น
๖๑
วิธีการสอนก็มักทำโดยการสอนพิเศษ คือ
เพิ่มเวลาสอนโดยสอนซ้ำวิธีการเดิม ให้ทำแบบฝึกหัดมากขึ้น ไม่ได้พิจารณาถึงการนำสื่อการสอนที่เหมาะสมมาใช้
ผลก็คือผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย เคร่งเครียดจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และหาทางออกด้วยการเกเร
แกล้งเพื่อน หนีโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น (ศรียา นิยมธรรม และประภัสร นิยมธรรม. ๒๕๔๕ : ๔๙)
การฝึกทักษะ
การฝึกทักษะ (Skill Training) เป็นวิธีการสอนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้วิธีหนึ่งและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับวิชาทักษะ
ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงการฝึกทักษะไว้ดังนี้ พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (๒๕๔๔ : ๑๕๕)
ได้กล่าวถึงการฝึกทักษะว่า
การที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในเรื่องใดนั้น
จะต้องให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนได้กระทำซ้ำ ๆเพื่อเป็นการฝึกทักษะ
รวมทั้งให้แรงเสริมควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ศาทูล ถาธัญ และคณะ (๒๕๕๓ :๗๙-๘๐) ได้เสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติดังนี้
๑. สอนโดยเน้นความสามารถที่เด่นๆของเด็กเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ของความสำเร็จ
เช่น ถ้าพบว่า เด็กใช้สายตาในการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ครูควรให้เด็กมองดูวัตถุต่างๆแทนที่จะพูด ให้เด็กฟังเท่านั้น
๒. พยายามลดกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะหรือความสามารถที่เป็นจุดบกพร่องของเด็กเช่น
ถ้าพบว่าเด็กมีปัญหาการเขียน ก็ไม่ควรให้งานที่เด็กต้องเขียนมาก
แต่อาจให้เด็กตอบปากเปล่าหรือตอบใส่เทปบันทึกเสียงแทนการเขียน
๓.
พยายามพัฒนาจุดบกพร่องของเด็กหลังจากที่เด็กประสบความสำเร็จจากการใช้ความสามารถเด่นได้แล้ว
๔. กำหนดความคิดรวบยอดให้เด็กเรียนให้ชัดเจน
ถ้าจะสอนความคิดรวบยอดใหม่ครูต้องนา
ความคิดรวบยอดใหม่ไปสัมพันธ์กับสิ่งที่เด็กเคยเรียนรู้มาแล้วและสรุปความคิดรวบยอดให้ชัดเจน
เพราะเด็กจะไม่สามารถสรุปใจความสำคัญได้เอง
๖๒
๕.
ช่วยให้เด็กตระหนักถึงเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โดยชี้ให้เด็กเห็นว่าเมื่อวานนี้เด็กทำอะไรได้บ้าง วันนี้เด็กทำอะไรสำเร็จ
และเด็กจะทำอะไรได้ในวันพรุ่งนี้บ้าง
๖. ตั้งเป้าหมายระยะสั้นอย่างชัดเจนที่เด็กสามารถทำได้
โดยจัดลำดับของงานให้มีความยากง่ายต่างๆกันไป โดยให้เด็กทำงานในอันดับแรกๆตามความสามารถของเขา
จากนั้นค่อยๆ จำกัดเวลา พร้อมทั้งบันทึกความก้าวหน้าของเด็ก เมื่อเด็กทำงานก้าวแรกได้เสร็จตามกำหนดเวลาจึงค่อยให้งานที่ยากขึ้น
โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบเดียวกัน
๗. ให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีที่เด็กทำงานได้สำเร็จ
ถ้าเด็กทำผิดบอกให้ทราบทันที อธิบายใหม่และให้เด็กแก้ไขใหม่ทันที แต่ต้องใช้วิธีทางบวก
ถ้าเด็กทำได้สำเร็จต้องรีบให้คำชมและบอกเหตุผลที่เด็กรับคำชมโดยเน้นความพยายามในการทำงานเป็นหลัก
ไม่ชมเชยเฉพาะงานที่ครูพอใจ
๘.
ให้หยุดกิจกรรมนั้นชั่วคราว
รอเวลาอีกระยะหนึ่งถ้าครูได้พยายามใช้วิธีการใหม่ ๆหรือกิจกรรมใหม่ๆ
เพื่อช่วยเหลือเด็กแล้วแต่เด็กยังไม่สามารถพัฒนาได้
๙. อย่าพยายามสอนสิ่งที่เด็กไม่สามารถเรียนรู้และไม่อาจเรียนรู้ได้
๑๐. เนื้อหา บทเรียน และเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่จะนำมาใช้สอนนั้นควรเริ่มสอนเนื้อหา
หรือบทเรียนที่ต่ำกว่าระดับชั้นของเด็ก 1 ปี เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ของความสำเร็จ
๑๑.
จัดกิจกรรมในทักษะเดียวกันให้หลากหลาย
เพื่อว่าเด็กจะได้เลือกงานที่ทำได้และให้เด็กทำงานตามแนวทางของเขาเอง เช่น ใช้ปากกาสีแดง
เลือกมุมที่จะนั่งทำงานเอง ใช้อุปกรณ์ช่วยประเภทเครื่องเล่นเทป หรือคอมพิวเตอร์
เป็นต้น
๑๒. ใช้อุปกรณ์การสอนที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
๑๓.
ใช้เกมหรือกิจกรรมที่ให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหว ได้สัมผัส
ได้มองเห็นและได้ยินได้ฟัง เพราะทำให้เด็กสนุกในการเรียนรู้ และเรียนรู้ได้เร็ว
๑๔.
สอนซ้ำและทบทวนบ่อยๆ
เพราะตามปกติเด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้ต้องการประสบการณ์และบ่อยมากกว่าเด็กปกติ
๖๓
๑๕. จัดทำป้ายกระดาษแข็งหรือธงสีแดง
ซึ่งมีความหมายว่า ต้องการความช่วยเหลือซึ่งข้างหนึ่งของป้ายอาจเขียนว่า “พยายามทา งานต่อไป” และอีกข้างหนึ่งเขียนว่า “หนูมีปัญหา” ให้เด็กยกขึ้นตั้งหันออกนอกตัวเมื่อต้องการความช่วยเหลือจากครู
วิธีนี้จะช่วยลดความคับข้องใจให้แก่เด็กได้บ้าง และป้ายหรือธงก็จะช่วยลดความวุ่นวายไปได้โดยที่เด็กไม่ต้องลุกจากที่นั่งหรือยกมือ
หรือเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากครูบ่อยๆ และนอกจากนี้ ป้ายดังกล่าวยังทำหน้าที่เตือนเด็กให้ทำงานต่อไปอีก
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาหรือมีความบกพร่องด้านการอ่านและเขียนหรือเรียนรู้ช้าจึงควรจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
โดยจัดลำดับของงานให้มีความยากง่ายต่างๆกันไป
และกิจกรรมที่จัดขึ้นควรมีความหลากหลายเพื่อให้เด็กได้สามารถเลือกงานที่ทำได้รูปแบบของกิจกรรมหรือเกมที่จัดขึ้นควรให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหว
ได้สัมผัส ได้มองเห็นได้ยินและได้ฟัง เพราะจะทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานในการเรียนและเรียนรู้ได้รวดเร็ว
และใช้อุปกรณ์การสอนที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน
๔.๒
ความสำคัญและประโยชน์ของแบบฝึก
อาภรณ์ ใจเที่ยง
(๒๕๔๒ : ๒๗)
ได้บอกถึงความสำคัญของแบบฝึกว่า เป็นวิธีสอนที่สนุกอีกวิธีหนึ่ง คือ
การให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดมาก ๆ สิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น
เพราะนักเรียนมีโอกาสนำเอาความรู้ที่เรียนมาแล้วมาฝึกให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (๒๕๔๖ : ๑๓๑)
กล่าวถึง ความสำคัญของแบบฝึกว่า แบบฝึกเป็นเทคนิคการสอนที่สนุกอีกวิธีหนึ่งคือการให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกมากๆ
เป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้น
คือแบบฝึก เพราะนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนมาแล้ว
มาฝึกให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น
แบบฝึกเป็นส่วนเพิ่มหรือเสริมจากหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ
เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก เพราะ แบบฝึกเป็นสิ่งที่ทำขึ้นอย่างเป็นระเบียบระบบ
ช่วยให้นักเรียนฝึกทักษะการใช้ภาษาดีขึ้น และช่วยเสริมทักษะทางภาษาให้คงทน
นอกจากนี้แบบฝึกยังใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากบทเรียนในแต่ละครั้ง
และได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ ดังนี้
๑.
ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
๖๔
๒. ทำให้ครูทราบความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
๓.
ครูได้แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้นักเรียนเรียนได้ดีที่สุดตามความสามารถของตนเอง
๔.
ฝึกให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นและสามารถประเมินผลงานของตนเองได้
๕.
ฝึกให้นักเรียนได้ทำงานด้วยตนเอง
๖.
ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
๗.
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกทักษะของตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลาหรือความกดดันอื่น
ๆ
๘. แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาให้คงทน
ลักษณะการฝึกที่จะช่วยให้เกิดผลดังกล่าว ได้แก่ ฝึกทันทีหลังจากเรียนเนื้อหา ฝึกซ้ำ
ๆในเรื่องที่เรียน กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๔๖ : ๑๔๖
) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกเสริมทักษะ ดังนี้
๑.
เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียน
๒.
ช่วยเสริมทักษะการใช้ภาษาให้ดีขึ้น
แต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยการส่งเสริม และการเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย
๓.
ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะการที่ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับความสามารถของเขา
จะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
๔. แบบฝึกช่วยเสริมทักษะทางภาษาให้คงทนในการเรียน
๕.
การให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด
ช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือจุดบกพร่องของนักเรียนได้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุง
แก้ไขปัญหานั้น ๆได้ทันท่วงที
๖๕
๖.
แบบฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จะช่วยให้ครูประหยัดแรงงาน
และเวลาในการที่จะเตรียมการสร้างแบบฝึก นักเรียนก็ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดลอกแบบฝึกหัด
ทำให้มีเวลาและโอกาสได้ฝึกฝนมากขึ้น ออมทรัพย์ ใจชื่น (๒๕๕๐ : ๓๕-๓๖) ได้สรุปประโยชน์ของแบบฝึกไว้
ดังนี้
๑. เป็นอุปกรณ์ช่วยลดภาระของครู
๒.
ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยดีขึ้น
๓. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในทางจิตใจมากขึ้น
๔.
ช่วยเสริมทักษะทางภาษาไทยให้คงทน
๕.
เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว
๖.
ช่วยให้เด็กสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง
๗.
ช่วยให้ครูมองปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน
๘.
ช่วยให้นักเรียนฝึกฝนได้เต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในบทเรียน
๙.
ช่วยให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง
๑๐.
ช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
จากความสำคัญและประโยชน์ของแบบฝึกดังกล่าว
สรุปได้ว่า
แบบฝึกนอกจากจะช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะและทบทวนได้ด้วยตนเองแล้ว
ยังช่วยให้ครูมองเห็นปัญหาและข้อบกพร่องในการสอน ทราบปัญหาและข้อบกพร่อง
จุดอ่อนของนักเรียน เพื่อครูจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลา
แรงงาน ในการเตรียมการสอนของครู
ตลอดจนช่วยประหยัดเวลาในการลอกโจทย์แบบฝึกหัดของนักเรียนอีกด้วย
๔.๓
ลักษณะของแบบฝึกที่ดี
ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ
ผู้สอนควรสร้างแบบฝึกเพื่อทบทวนความรู้หรือฝึกทักษะให้แก่นักเรียน
ลักษณะของแบบฝึกควรสั้นและมีหลายแบบเพื่อฝึกทักษะเดียวใช้ได้ตามสภาพ
๖๖
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีการประเมินผลการใช้แบบฝึกของนักเรียนด้วย
มีคำสั่งและคำอธิบายอย่างชัดเจน มีตัวอย่างที่ให้ความคิดหลายแนวมีภาพประกอบและเส้นบรรทัดที่เว้นให้เติมมีขนาดพอเหมาะการฝึกฝนควรมีหลาย
ๆ แบบ และต้องคำนึงถึงความยากง่ายและระยะเวลาในการฝึกด้วย ใช้เวลาฝึกไม่นานเกินไปแบบฝึกมีหลายรูปแบบ
คำศัพท์ที่ใช้ฝึกสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้กรมวิชาการ (๒๕๔๕ : ๑๔๕)
ได้กล่าวว่า ลักษณะของแบบฝึกที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
๑. เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว
๒.
เหมาะสมกับระดับวัยหรือความสามารถของนักเรียน
๓. มีคำชี้แจงสั้น ๆ
ที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิธีทำได้ง่าย
๔.
ใช้เวลาที่เหมาะสม
๕. มีสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
๖.
ควรมีข้อแนะนำในการใช้
๗.
มีให้เลือกทั้งแบบตอบอย่างจำกัด และตอบอย่างเสรี
๘. ถ้าเป็นแบบฝึกที่ต้องการให้ผู้ทำการศึกษาด้วยตนเองแบบฝึกหัดนั้นควรมีหลายรูปแบบและให้ความหมายแก่ผู้ฝึกทำด้วย
๙.
ควรใช้สำนวนภาษาง่าย ๆ ฝึกให้คิดได้เร็วและสนุก
๑๐.
ปลุกความสนใจและใช้หลักจิตวิทยา
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (๒๕๔๖ : ๑๓๑) ได้กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกที่ดีควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
๑. เป็นสิ่งที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว
๒.
เหมาะสมกับระดับวัย หรือความสามารถของนักเรียน
๓. มีคำชี้แจงสั้น ๆ
ที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิธีทำได้ง่าย
๖๗
๔. ใช้เวลาที่เหมาะสม คือไม่นานเกินไป
๕.
เป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้นักเรียนแสดงความสามารถ
๖.
เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกทั้งแบบตอบอย่างจำกัด และตอบอย่างเสรี
๗. มีคำสั่งหรือตัวอย่างแบบฝึกที่ไม่ยาวเกินไป
และไม่ยากแก่การเข้าใจ
๘. ควรมีหลายรูปแบบ
มีความหมายแก่นักเรียนที่ทำแบบฝึก
๙.
ใช้หลักจิตวิทยา
๑๐.
ใช้สำนวนภาษาที่เข้าใจง่าย
๑๑.
ฝึกให้คิดได้เร็วและสนุกสนาน
๑๒. ปลุกความสนใจหรือเร้าใจ
๑๓. เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
๑๔. สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
จากข้อความที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า
ลักษณะของแบบฝึกที่ดีนั้นต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับนักเรียนตลอดจนคำนึงถึงจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและการตอบสนองพัฒนาการของเด็กและลำดับขั้นของการเรียน
นอกจากนั้นจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก ซึ่งแบบฝึกจะประกอบด้วยคำชี้แจงและตัวอย่างสั้น
ๆ ที่จะทำให้เด็กเข้าใจง่าย
ใช้เวลาเหมาะสมและมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนที่เรียนไปแล้ว
นอกจากนี้แบบฝึกควรมีหลายแบบเพื่อสร้างความสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
การวิจัยปฏิบัติการ
๑.
ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการ แนวทางการวิจัยปฏิบัติการ
เป็นรูปแบบของการสืบสวนแบบสภาพสะท้อนของ ตนเองเป็นส่วนร่วม
ของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ทางสังคม เพื่อที่จะพัฒนาหลักการพื้นฐาน และความเป็นธรรมของวิธีการปฏิบัติงาน
เพื่อให้ได้รูปแบบหรือแนวทางในการพัฒนา
๖๘
๒.
คุณภาพการ ปฏิบัติงานนั้น
ในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาความเข้าใจในการปฏิบัติงานนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับ ภาวะของสังคมและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ประวิต เอราวรรณ์(๒๕๔๕ : ๔ – ๕) ได้กล่าวถึง การวิจัยปฏิบัติการไว้ว่า การวิจัย ปฏิบัติการ
หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าร่วมกันอย่างเป็นระบบของกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เพื่อทำ ความเข้าใจต่อปัญหาหรือข้อสงสัยที่กำลังเผชิญอยู่และได้แนวทางปฏิบัติหรือวิธีแก้ไขปรับปรุงที่ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการปฏิบัติงาน
นอกจากนั้น ทองสุข ชาภัคดี(๒๕๔๕ : ๙) ได้กล่าวว่า การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) หมายถึงกระบวนการศึกษาค้นคว้าของครูและ
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อ แก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
และพฤติกรรมนักเรียน โดยการระบุปัญหาหรือความ ต้องการในการพัฒนา ในงานที่รับผิดชอบ
เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการวิจัยที่ทำอย่างรวดเร็วนำผลไปใช้ทันทีและสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านต่าง
ๆให้ เพื่อนร่วมงานได้มีโอกาสอภิอปลายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในแนวทางที่ได้ปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาการท างานต่อไป
๒. จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการ คือ มีความมุ่งหมายที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติงานประจำให้ดีขึ้น
โดยนำงานที่ปฏิบัติอยู่มาวิเคราะห์สถานการปัญหาอันเป็นเหตุให้ ปฏิบัติงานนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจากนั้นจะใช้แนวคิดทางทฤษฎีและประสบการณ์ที่ผ่าน
มา เสาะหาข้อมูล และวิธีการที่คาดว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้วนำวิธีการดังกล่าวไปทดลองใช้กับ
กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
๓. กรอบแสดงลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการ
มี๔ ลักษณะ ดังนี้
๑. เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและมีการร่วมมือ
(Participation and Collaboration)ใช้ทำงานเป็นกลุ่ม
ผู้ร่วมวัยทุกคนมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกันใน ๕๓ กระบวนการของวิจัย
ทั้งการเสนอความคิดเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติตลอดจนการวางนโยบายการ วิจัย
๒. เน้นการปฏิบัติ(Action
Orientation ) การวิจัยชนิดนี้ใช้การปฏิบัติการเป็นสิ่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
และศึกษาผลของการปฏิบัติเพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนา
๓. ใช้การวิเคราะห์วิจารณ์(Critical
Function) การวิเคราะห์การปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง จากสิ่งที่สังเกตได้นำไปสู่การตัดสินใจสมเหตุสมผลเพื่อปรับแผนการปฏิบัติการ
๔. ใช้วงจรการปฏิบัติการ (The Action
Research Spiral) ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ(Actiong)
การสังเกต (Opservating) และการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน
(Reflecting) ตลอดจนการปรับปรุงแผน (Re - planning ) เพื่อนำไปปฏิบัติเพื่อเผยแพร่ต่อไป (Kemmis and McTaggart.๑๙๙๒ ; Zuber – Skerritt. ๑๙๙๑)
๔. กระบวนการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ
เนื่องจากการวิจัยปฏิบัติการมีข้อตกลงเบื้องต้น (Basic Assumption) ว่าเป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สืบค้นปัญหา
และวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จะต้องมีการจัดระบบการสืบค้นหาความรู้อย่างมีเหตุผล
การวิจัยจึงเน้นกระบวนการคิด และระดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่ได้จากคิดและการกระทำ
ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ระดับขั้นตอนของจิตวิทยาการเรียนรู้มากกว่าการใช้ลำดับความคิดเชิงจิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อบอกความเป็นเหตุผลต่อกันกระบวนการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ
มีขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ในการดำเนินการดังนี้
๑. การจำแนกหรือพิจารณาปัญหาที่ประสงค์จะศึกษา
ผู้วิจัยและกลุ่มที่ทำการวิจัยจะต้องศึกษารายละเอียดของปัญหาที่จะศึกษาอย่างชัดแจ้ง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนซึ่งจะทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะต้องมีทฤษฎีรองรับในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
การวิเคราะห์สภาพปัญหาควรพิจารณาให้ครบทั้ง 4
องค์ประกอบดังนี้คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับครูนักเรียน เนื้อหาวิชา และสภาพแวดล้อม
๒. เลือกปัญหาสำคัญที่เป็นสาระแก่การศึกษาวิจัย
เลือกโดยอาศัยทฤษฎีมาร่วมพิจารณาลักษณะของปัญหา แล้วสร้างวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ตลอดจนอาจจะต้องสร้างสมมติฐานของการวิจัยในรูปแบบข้อความที่ต้องการที่จะประเมิน
ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับหลักการหรือทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
๓. เลือกเครื่องมือดำเนินการวิจัยที่จะช่วยให้ได้คำตอบของปัญหาตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เครื่องมือที่จะมี๒ ลักษณะ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติหรือฝึกหัดถามวิธีการเช่น
อุปกรณ์การเรียน การสอน
๗๐
แบบฝึก
เป็นต้น และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติเช่น แบบทดสอบ
แบบสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น
๔. บันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียดของแต่ละขั้นตอนของการวิจัย
ทั้งส่วนที่เป็นความก้าวหน้าและอุปสรรคตามวงจรของการปฏิบัติการ คือ
ในขั้นตอนของการวางแผนงานการปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนการปฏิบัติการ
เก็บบันทึกเพื่อรับวงจรปฏิบัติการต่อไปและเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลข้อมูลหาคำตอบของสมมติฐาน
๕. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ในเรื่องต่าง
ๆ ของข้อมูลที่รวบรวม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ได้แก่การตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลเพื่อให้แน่ใจความถูกต้องแสดงรายละเอียดอธิบายสถานการณ์จัดหมวดหมู่และแยกประเภทของกลุ่มข้อมูลตามหัวข้อที่เหมาะสมเปรียบเทียบข้อแตกต่าง
และคล้ายคลึงของข้อมูล
๖. ตรวจสอบข้อมูลที่กลุ่มผู้วิจัยได้พิจารณาไว้แล้วอีกครึ่งหนึ่ง
เพื่อสรุปหาคำตอบที่เป็นสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหานั้นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยสรุปประมวลเป็นหลักการรูปแบบของการปฏิบัติหรือข้อเสนอเชิงทฤษฎีทั้งนี้ต้องอาศัยหลักตรรกวิทยาโดยวิธีอุปนิสัย
และความรู้เชิงทฤษฎีของผู้วิจัย
๕ ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิบัติ
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์(๒๕๓๙ : ๑๓๕-๑๓๖) กล่าวว่า
การวิจัยปฏิบัติการไม่แตกต่างจากการวิจัยประเภทอื่น ๆ ในแง่ของเทคนิควิธีการวิจัย
(Technique) คือ ใช้การทดลอง การสำรวจแบบทดสอบ
แบบสัมภาษณ์การสังเกตและอื่น ๆ นั่นคือ การวิจัยปฏิบัติการ
ใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลไม่แตกต่างจากวิธีการวิจัยประเภทอื่น
หากแต่จะแตกต่างที่วิธีการ (Method) ซึ่งการวิจัยปฏิบัติการมีลักษณะของวิธีการที่บ่งชี้ถึงการวิจัยที่เป็นวงรอบแบบเกลียวสว่านซึ่งสะท้อนถึงตนเอง
ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้
๑.
ขั้นวางแผน
เริ่มต้นด้วยการสำรวจปัญหาร่วมกันระหว่างครูนักเรียนผู้ปกครองหรือผู้บริหาร
เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่ต้องการแก้ไข ตลอดจนแยกแยะปัญหา
ลักษณะของปัญหารวมทั้งแนวทางแก้ไข
๗๑
๒. ขั้นปฏิบัติการ
เป็นการกำหนดกิจกรรมในขั้นวางแผน มาดำเนินตามแผนที่วางไว้มีการวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับทีมงาน
๓. ขั้นสังเกต
เป็นการสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยความรอบคอบซึ่งอาจจะมีทั้งที่เกิดขึ้นโดยคาดหวังและไม่คาดหวัง
ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องอาศัยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าช่วยเช่น การจดบันทึก การใช้บันทึกภาคสนาม
การบันทึกหรือบรรยายพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การใช้แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์การใช้แบบทดสอบ เป็นต้น
๔. ขั้นสะท้อนการปฏิบัติการ
เป็นขั้นสุดท้ายของวงจรการท าวิจัยปฏิบัติการเป็นการประเมินหรือตรวจสอบกระบวนการ
และผู้วิจัยที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมต่าง ๆโดยการอภิปลายและถกถึงปัญหาต่าง
ๆ โดยจะได้นำแนวทางของขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมไปปรับปรุงและวางแผนการปฏิบัติการต่อไปแนวทางการวิจัยปฏิบัติการ
เมื่อนำมาวิจัยเพื่อพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัย รักการอ่านโดยครูเป็นผู้เรียนรู้และวิเคราะห์จากผลการปฏิบัติจะทำให้ได้รูปแบบการการพัฒนากิจกรรมต่าง
ๆ รวมทั้งการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับบริบทนักเรียนและโรงเรียนของตน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑. งานวิจัยในประเทศ
สมควร น้อยเสนา (๒๕๔๘ : บทคัดย่อ) ได้พัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดและแบบฝึกทักษะ
กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒-๕
โรงเรียนบ้านโคกวิชัย จำนวน ๙
คน ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเรียน นักเรียนได้คะแนนการอ่านการเขียนร้อยละ
๒๔.๔๔ หลังเรียนได้คะแนนร้อยละ ๘o.๕๖โดยภาพรวมจากการใช้แบบฝึกทั้ง ๑o ชุด ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและมีพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทยที่ดี
ทำให้นักเรียนอ่านคำ กลุ่มคำ
หรือประโยคได้เพิ่มมากขึ้น
จันทรา เทพชุมพล (๒๕๔๙ : ๑๔๑) ได้วิจัยเรื่อง
การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยโดยใช้หนังสืออ่านประกอบการเรียนและแบบฝึกทักษะการอ่าน
เรื่อง การประสมสระเดี่ยวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ผลการวิจัยพบว่า
นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยหนังสืออ่านประกอบการเรียนและ
๗๒
แบบฝึกทักษะการอ่าน
เรื่อง การประสมสระเดี่ยว โดยภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.o๑
ทิฎฐิ ขลิกค า (๒๕๔๙ : ๘๖)
ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้เกมและเพลงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
๓ จากผลการวิจัยหลังทดลอง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนสะกดคำสูงกว่าก่อนทดลอง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .o๑
ยุวรัตน์ คนหาญ (๒๕๔๙ : ๕๖)
ได้ศึกษาผลการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนวัดดิษฐ์หงสาราม สำนักงานเขตราชเทวี สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า
แบบฝึกความเข้าใจการอ่านภาษาไทยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ ๘o.๖๙/๘๑.๑๑ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘o/๘o ที่ตั้งไว้ และความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนหลังเรียนที่ได้รับการฝึกกับก่อนการฝึก
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .o๑
ธรรมนูญ
มุลาลินน์ (๒๕๖o : ๖o) ได้วิจัย เรื่อง
รูปแบบกระบวนการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านผา อำเภอเมือง จังหวัดเลย พบว่า โรงเรียนบ้านผาได้รูปแบบกระบวนการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้
โดยที่ครูมีการเตรียมสื่อในการสอนนักเรียนแล้วแจ้งให้นักเรียนทราบจุดมุ่งหมายของการอ่านเพื่อจับใจความและเข้าใจในเรื่อง
และการอ่านอย่างคร่าว ให้ได้เรื่องทั้งหมดอย่างละเอียดบ่อย ๆ บันทึกความหมายของคำศัพท์ท่องคำศัพท์และหัดเขียนบ่อย
ๆ ส่วนนักเรียนต้องหัดอ่านคำง่าย ๆ ที่ใกล้ตัว อ่านประโยคสั้น ๆ และหัดอ่านออก เสียงดัง อ่านในใจเพื่อจับใจความสำคัญ อ่านหนังสือก่อนนอน
อ่านหนังสือร่วมกันทั้งชั้นและหัดเขียนคำยาก ๆ หรืออ่านสำนวนบ่อย ๆ
อ่านการบ้านตามที่ครูสั่งและผู้ปกครองต้องพาลูกอ่านหนังสือ ส่งเสริมการอ่านของลูก
เล่านิทานให้ลูกฟังเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ชมเชยความสามารถของลูกและให้รางวัล
ต้องมีกติการ่วมกันให้ลูกอ่านหนังสือให้ฟังอย่างน้อย ๑o นาที มีเวลาให้ลูกได้อ่านหนังสือตามที่ครูได้สอนด้วย
ออมทรัพย์
ใจชื่น (๒๕๕o : บทคัดย่อ) ท าการศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
เรื่องสระในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ผลการศึกษาพบว่า แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
๗๓
เรื่องสระในภาษาไทย
จำนวน ๓ ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
คือ ๘๔.๖๑/๗๙.๑๒
ดวงมาลา จาริชานนท์ (๒๕๕๑ : บทคัดย่อ)
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะ
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนแก้งสนามนางพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา
เขต ๖ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕o
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๑.๔๓/๘o.o๘ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์๘o/๘oที่ตั้งไว้มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ o.๖o๒๓
แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ ๖o.๒๓
และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจักกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่อง การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านเพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะ
อยู่ในระดับมากที่สุด
เทียมจันทร์ ไสยวรรณ (๒๕๕๒ : ๘๙)
ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง
การอ่านการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ผลการศึกษาพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่อง การอ่านการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วยสระ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๙๑.๗๙/๘๔.๒๒ ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ o.๖๙๔o นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่ประสมด้วย สระได้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดี
มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีความกระตือรือร้น
มีพฤติกรรมใฝ่เรียนใฝ่รู้ นักเรียนมีความสุขสนุกสนานในการร่วมกิจกรรม
มนตรี วงค์ค าผิว (๒๕๕๓ : ๑o๑-๑o๒) ได้ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวแฮต
อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย โดยใช้กลยุทธ์ประชุมเชิงปฏิบัติการครูประจำชั้นและการนิเทศภายในโดยผู้อำนวยการโรงเรียน
ทำการศึกษา ๒ วงรอบ ปรากฏผลในวงรอบแรก
จากการทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน พบว่า นักเรียนส่วนมากมี ความแตกต่างของ
๗๔
คะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนมาก
ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีพัฒนาการในการ อ่านและเขียนเป็นไปในทิศทางที่ดี
แต่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ที่มีความแตกต่างระหว่างคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนน้อย จากปัญหาดังกล่าว
กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าได้นำผลจาก
วงรอบแรกมาวิเคราะห์พบว่า
นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ เป็นนักเรียนที่อยู่ไกลบ้านไม่สามารถที่จะเรียนตามเวลาที่กำหนดได้
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เปลี่ยนเวลาในการสอน การดำเนินงาน ในวงรอบที่ ๒ จึงสามารถดำเนินงานได้
แต่ใช้รูปแบบการสอนแบบเดียวกับในวงรอบที่ ๑ ทำให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มีพัฒนาการในการอ่านและเขียนไปในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยภาพรวม การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวแฮต
อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
สามารถแก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ได้ดีในระดับที่น่าพอใจ
นักเรียนที่ผ่านกิจกรรมการดำเนินงานสามารถอ่านออกและเขียนได้ แต่นักเรียนกลุ่มดังกล่าวต้องอาศัยการสะกดคำไปทีละคำในการอ่านและเขียน
เมื่อเปรียบเทียบนักเรียนรายบุคคลก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินงานจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
จะอ่านออกและเขียนได้เป็นที่น่าพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง
ศรีทูล ถาธัญ และคณะ (๒๕๕๓ : ๗๖-๗๗) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๒
ผลการวิจัยพบว่า
๑.
ประสิทธิภาพของสื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
คือ ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีปัญหาด้านการอ่านและเขียน
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ๗๕/๗๕ ที่กำหนดทุกชุด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที่ ๕
ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๙.๗๑ ความก้าวหน้าร้อยละ ๕๕.๘๙ ด้านการเขียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๕.๕๙ ความก้าวหน้าร้อยละ ๕๙.๗๑
๗๕
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน เรื่อง วัดบ้านฉัน
มีค่าเฉลี่ยร้อยละ๗๘.๘๒ ความก้าวหน้าร้อยละ ๔๖.๔๗ เรื่อง ประเพณีสำคัญ : วันสงกรานต์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๒.๙๔ ความก้าวหน้าร้อยละ ๕๖.๔๗ และ เรื่อง ผูกพันท้องทุ่ง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๗ต.๔๗ ความก้าวหน้าร้อยละ๔๔.๑๒
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียน เรื่อง วัดบ้านฉัน
มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๗๖.๔๗ ความก้าวหน้าร้อยละ ๕o.๕๙ เรื่อง ประเพณีสำคัญ : วันสงกรานต์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๗๕.๒๙ ความก้าวหน้าร้อยละ ๕๒.๓๕และ เรื่อง ผูกพันท้องทุ่ง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ๗๕.๘๘ ความก้าวหน้าร้อยละ ๕๒
๒. งานวิจัยต่างประเทศ
Jonhson (๒ooo : ๔๓๒๖-A) ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านของนักเรียนเกรด 1โรงเรียนที่อยู่ในเมืองที่ใช้หลักสูตรบูรณาการ
โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ในการอ่านและศึกษาผลของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลนักเรียนทำการบ้านที่บ้านโดยการเปรียบเทียบการสอนด้วยกระการเพิ่มการเรียนรู้ของนักเรียนกับการสอนด้วยวิธีแยกวิชาแบบเดิม
มีการสำรวจทั้งความสัมพันธ์ของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการท าการการบ้าน การอ่าน
และคะแนนความสำเร็จของนักเรียนของ นักเรียน
ปรากฏว่าผู้ปกครองมีความกระตือรือร้นในการดูแลนักเรียนทำการบ้านที่ครูกำหนดให้และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะนักเรียนที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลาง
Ahmed (๒ooo : ๓o๓๒-B) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสะกดคำตามเสียงที่เปล่ง ออกมาและตามตัวสะกด การประเมินระดับความรู้ด้านการสะกดคำของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ถึงปีที่ ๕
พบว่า การสะกดคำในภาษาอังกฤษเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน
ใช้วิธีการรวบเสียงของตัวอักษรไว้ด้วยกันตามกฎของการเปล่งเสียงและการสะกดตามตัวอักษร
ทฤษฎีในปัจจุบันที่กล่าวถึงการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการสะกดคำได้กล่าวว่า
เด็กๆให้ความเชื่อมั่นต่อการใช้วิธีการเปล่งเสียงและการสะกดคำกำลังได้รับความสนใจจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน
ดังเช่นครูในชั้นเรียนซึ่งให้ความสนใจกับการจัดหาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด
เช่นเดียวกับ นักวาทวิทยาภาษาศาสตร์
ซึ่งให้ความสนใจการศึกษาเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องด้านทักษะการสะกดคำ
และนำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อทดสอบการพัฒนารูปแบบการสะกด
๗๖
คำตามการเปล่งเสียงและตามตัวสะกด
ในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาของสหรัฐอเมริกา โดยใช้แบบทดสอบของ Early Spelling
Recognition Test(ESRT) ประกอบด้วยแบบฝึกซึ่งเป็นวลีที่มีพยางค์เดียว
และ ๒ พยางค์ จำนวน ๓๕ วลี โดยใช้ รูปแบบการฝึกสะกดคำด้วยเทคนิค
๓ อย่าง คือ ฝึกสะกดคำตามเสียงที่เปล่งออกมา (PA-Only) ฝึกสะกดคำตามตัวสะกด (Ortho- Only) และฝึกทั้งสองอย่างพร้อมกัน (PA-Ortho) ผลการวิจัยพบว่ามีแนวโน้มด้านพัฒนาการอย่างชัดเจนในรูปแบบของการฝึกสะกดคำโดยใช้เทคนิคทั้ง
๓ อย่างกับนักเรียนทั้ง ๔ ระดับชั้น การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติด้านการสะกดคำ
ได้รับการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มอิสระ ๒ กลุ่ม พบว่า
มีแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันทั้ง ๒ กลุ่มและพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ในผลการการปฏิบัติด้านการสะกดคำระหว่างนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และ ๔
นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
และ ๕ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๓ และ ๔
รวมทั้งนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓และ ๕
นอกจากนี้ยังพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ในผลการปฏิบัติงานระหว่างกลุ่มที่ฝึกสะกดคำตามเสียงที่เปล่งออกมา (PA-Only) กับกลุ่มที่ใช้วิธีการฝึกสะกดคำตามตัวสะกด (Ortho- Only) และผลสัมฤทธิ์ด้านการปฏิบัติงานระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีฝึกสะกดคำตามเสียงที่เปล่งออกมา
(PA-Only) กับกลุ่มที่ใช้วิธีการสะกดคำโดยรวมทั้งเทคนิคการสะกดคำตามเสียงที่เปล่งออกมาและสะกดคำตามตัวสะกด
(PA-Ortho) ด้วยการสนับสนุนของทฤษฎีด้านการหลอมรวมเข้าด้วยกันนี้จึงทำให้เราพบว่า
นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้แสดงให้เห็นถึงระดับความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการเปล่งเสียงและการสะกดคำตามตัวอักษรได้ตั้งแต่อยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๒ และสามารถพัฒนาแนวคิดอย่างเป็นระบบได้ในระดับชั้นต่อมา
คือ ประถมศึกษาปีที่ ๒
จากการประเมินผลลัพธ์ทั้ง ๓
รูปแบบ พบว่า วิธีการฝึกสะกดคำตามตัวสะกดคำเป็นวิธีการที่ยากที่สุด แต่ด้วยการสะกดคำโดยมีตัวแปรที่เป็นการเปล่งเสียงตามลักษณะโครงสร้าง
Williams (๒oo๑ : ๔o๒๑-A) ได้ศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนและความแตกต่างในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ซึ่งเริ่มฝึกทักษะด้านการอ่าน วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการวิจัยครั้งนี้ คือ
เพื่อศึกษาว่ามีความแตกต่างในผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนซึ่งประเมินผลจากคอมพิวเตอร์
โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในระดับประถมศึกษาที่ได้รับการสอนวิชาการอ่านด้วยวิธีสอนที่หลากหลายกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับการสอนวิชาการอ่านด้วยวิธีสอนปกติ
นอกจากนี้ยังทำการศึกษาว่าความแตกต่างเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านเชื้อชาติ เพศ ฐานะทางด้านเศรษฐกิจ
และระดับการศึกษาของผู้ปกครองหรือไม่
ผลการวิจัยที่ได้จากเกณฑ์การวัดค่าตัวแปรด้านผลสัมฤทธิ์ทางการ
๗๗
อ่านตามแบบทดสอบของ
Terra Nova survey
battery test ในช่วงปีการศึกษา
๑๙๙๒-๒ooo และปี ๒ooo-๒oo๑ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนจำนวน ๑๒๒ คนที่เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาในช่วงปี ๑๙๙๙๘-๑๙๙๙๙ม ๑๙๙๙-๒ooo และ ๒ooo-๒oo๑
โดยที่กลุ่มตัวอย่างต้องผ่านโปรแกรมการฝึกทักษะในช่วงเริ่มต้น ซึ่งใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเมิน
ผลด้านความสามารถทางการอ่านของผู้เรียนก่อนที่จะเริ่มการทดลอง จัดการเรียนการสอนเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ๕ ข้อ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ค่าที
การวิเคราะห์ค่าความถดถอยแบบหลายขั้น และการวิเคราะห์ค่าตัวแปรแบบทางเดียว ANOVAผลการวิจัยที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
(๑) ทั้งผลการวิเคราะห์ค่าความถดถอยแบบหลายขั้น และการวิเคราะห์ค่าตัวแปรแบบทางเดียว
ANOVA ต่างก็พบว่า วิธีการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านมิใช่ตัวทำนายผลความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านระหว่างโรงเรียน
A และโรงเรียน B
(๒) ฐานะทางด้านเศรษฐกิจ
คือ ปัจจัยที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐานอ้างอิงทางด้านสถิติ ซึ่งนำไปสู่ความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน
นอกจากนี้ ยังระบุว่า มีตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้
ในการวิจัยครั้งนี้และยังสามารถมีผลกระทบต่อผลการวิจัยด้วย
ซึ่งตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้เหล่านี้คือ
การเตรียมความพร้อมของครูและอิทธิพลที่มีต่อครู พลวัตรในการขับเคลื่อนของนักเรียน
และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนนั่นเอง จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้นั้น
ครูจะต้องใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ
มีจิตวิทยาในการสอนและใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก อีกทั้งเครื่องมือที่นำมาใช้สอนต้องให้ความร่วมมือในการดูแลเด็กนักเรียนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น