ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

บทที่๑

บทที่๑
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                ปัญหาจากครู

ปัญหาที่เกิดจากครู ถ้าจะพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ก็จะเห็นว่ามีอยู่มากมายเลยประการเดียว อาจจะมากกว่าปัญหาที่มีอยู่ในตัวของพวกเด็กๆเสียอีก ลองพิจารณาปัญหาต่อไปนี้ดูเถิดว่าเกิดจากครูผู้สอนคนใดบ้าง
.ครูให้เวลากับการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะครูมีงานมาก มีเวลาเข้าห้องสอนน้อยหรือให้ความสำคัญกับกิจกรรมอื่นๆเกินจำเป็น
.ครูสอนผิดวิถีการเรียนรู้ของวิชาภาไทย หรือผิดขั้นตอนกระบวนการ หรือถูกบ้างผิดบ้างโดยรวมๆแล้วทำให้การเรียนการสอนไม่สัมฤทธิ์ผล ไม่เกิดทักษะการอ่านการเขียนที่พึงประสงค์
.ครูขาดการวิเคราะห์ทบทวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตัวเอง ปล่อยปละละเลยให้ปัญหาเล็กๆค่อยๆ สะสมจนเป็นดินพอกหางหมูเกินกว่าจะแก้ไข
.ครูมีความอ่อนด้อยในตนเอง เช่นมีองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยไม่ดีพอ พูดและอ่านคำไทยไม่ชัด ไม่รักการอ่านไม่ใฝ่หาความรู้ ไม่มีศิลปะในการสอน ไม่มีความวิริยะอุตสาหะในการทำหน้าที่ไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่แท้จริง และไม่เอาจริงเอาจังในการสอน
.ครูไม่มีความสุขในการสอน ไม่มีแรงจูงใจในการกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์และพัฒนาการเรียนการสอน ขาดขวัญกำลังใจและขาดการส่งเสริมสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหาร

.ครูมีปัญหาส่วนตัว ขาดสภาวะทางปัญญาในการทำหน้าที่ของครูที่ดี ขาดวุฒิภาวะในการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งปัญหา จนกระทั่งส่วนตัวนั้นส่งผลกระทบถึงประสิทธิภาพในการสอนและการทำหน้าที่ของครูที่ดี
ปัญหาจากเด็ก

ปัญหาที่เกิดจากเด็กเองโดยตรงไม่ค่อยมีเท่าไหร่นัก หากแต่มีเหตูปัจจัยแฝงเร้นในสภาพชีวิตวิถีและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งครูจะต้องรู้ ตระหนักและเข้าใจ เด็กวันนี้ไม่เหมือนกับอดีตที่ผ่านมาของครู ปัญหาของพวกเขาเป็นปัญหาร่วมของเด็กทั้งหลายในประเทศและในโลกใบนี้
.เด็กวันนี้สมาธิสั้น เรื่องนี้ได้มีงานวิจัยที่ค้นพบสาเหตุแล้วอย่างน้อยก็สองประการ เหตุหนึ่งมาจากการที่เด็กดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมในช่วงวัยแรกเกิดถึง ๗ ขวบอย่างเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ภาพซึ่งมีความเร็วเกินธรรมชาติในโทรทัศน์หรือจอภาพอิเล็กทรอนิกส์จะกระตู้นภาวะการรับรู้ของเด็กให้เคลื่อนที่เร็วตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดภาวะจิตเร็วหรือจิตไม่นิ่งตั้งแต่วัยเด็กเล็ก มีสภาวะสมาธิสั้นกว่าเด็กที่ในช่วงวัยดังกล่าวไม่ได้ดูโทรทัศน์หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นประจำเช่นนั้น
.เด็กมีปัญหาจากครอบครัว บ้างเกิดจากปัญหาครอบครัวแตกแยก บ้างก็เป็นปัญหาเศรษฐกิจ หรือบางทีมีปัญหาจากการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาด ล้มเหลว ตกอยู่ในสภาพที่ไร้ปัญญา ขาดศีลธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็กในลักษณะต่างๆเช่น ความผิดปกติทางอารมณ์ ความซึมเซาเศร้าหมอง และความอ่อนด้อยทางสติปัญญา
.เด็กที่บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ หรือเด็ก LD
LD หรือ Learning Disabilities หมายถึง ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ แสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นเด็กที่มีวงจรการทำงานของสมองไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นเซลล์สมองบางส่วนอยู่ผิดที่ ทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนอ่อนบางวิชา หรือหลายๆ วิชา ทั้งที่สติปัญญาปกติ

 การบกพร่องที่พบบ่อยในเด็กLD

.บางคนมีปัญหาในการอ่านทั้งที่มีสายตาหรือประสาทตาปกติ แต่การแปลภาพในสมองไม่เหมือนคนทั่วไป ทำให้เห็นตัวหนังสือกลับหัวกลับหาง ลอยไป ลอยมา ไม่คงที่ บางครั้งเห็นๆ หยุดๆ มองเห็นตัวหนังสือหายไปเป็นบรรทัด บางครั้งเห็นตัวหนังสือแต่ไม่รู้ความหมาย
.๑ บางคนมีปัญหาการฟัง ทั้งที่การได้ยินปกติ แต่สมองไม่สามารถแยกแยะเสียงสูง- ต่ำ จึงมักเขียนสะกดผิด และไม่ทราบความหมายของคำ
.๒ บางคนมีปัญหาเรื่องทิศทาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาษา ไม่รู้ว่าซ้ายหรือขวา กะระยะทางไม่ถูก ทำให้เดินชนอยู่บ่อยๆ
.๓ บางคนคำนวณไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจสัญลักษณ์ตัวเลข ฯ
จากการวิจัยในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีเด็กไทย โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๒ กว่า ๗๐๐,๐๐๐ คน มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ตามวัย ทั้งที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ปกติหรือสูงกว่าปกติได้ในบางคน ซึ่งเป็นอาการของเด็ก LD
ปัญหาเหล่านี้ บางกรณีครูอาจจะใช้สติปัญญาช่วยแก้ไขได้บ้างแต่บางกรณีก็เกินกำลังที่ครูจะช่วยแก้ไขได้โดยตรง อาจจะต้องได้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในทางบริหารจัดการทั้งในระดับโรงเรียนสังคมและนโยบายของรัฐ
การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่มี โครงสร้างหลักสูตรยืดหยุ่น มุ่งเน้นความสำคัญด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุลโดยยึดผู้เรียนเป็น สำคัญที่สุด ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๐ : ) การจัดการเรียนรู้ในกลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหา การเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูล ข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถเลือกใช้ คำเรียบเรียงความคิดความรู้และใช้ภาษาได้ถูกต้องตาม กฎเกณฑ์ตรงความหมายและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง การเรียนรู้ให้เกิดทักษะอย่าง ถูกต้อง ซึ่งจะต้องได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษา (ส านักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๑ : ) ๒ ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม ประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูล สารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการ พัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้าน วัฒนธรรม ประเพณี และสุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และ
สืบสานให้ คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ๒๕๕๑ : ) ภาษาไทยจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อผู้เรียนทุกคน โดยเฉพาะการอ่านและการเขียน เป็นทักษะที่สำคัญและมีค่าต่อการเรียนรู้ เด็กที่อยู่ในวัยเรียนหากมี ความสามารถในการอ่านและการเขียนที่ดี มักจะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ด้วย สอดคล้องกับ ผดุง อารยะวิญญู (๒๕๔๕ : ๑๑๘-๑๒๐) ที่กล่าวไว้ว่า ทักษะการอ่านและการเขียน เป็นทักษะที่สำคัญและมีค่าต่อการเรียนรู้ หากเด็กมีปัญหาในการอ่านการเขียน จะทำให้การเรียนรู้ วิชาอื่นมีปัญหาไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในการอ่านการเขียนมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ครูจะต้องสอนให้นักเรียนทุกคนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้ แต่ในทาง กลับกันเด็กคนใดอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ย่อมเป็นปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กำหนดให้ ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การ เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง โดยกำหนดการเรียนรู้ทักษะการอ่าน ให้ สามารถอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว ค าประพันธ์ชนิดต่างๆ การอ่านในใจเพื่อ สร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน เพื่อนำไป ปรับใช้ใน ชีวิตประจำวัน ทักษะการเขียน ให้สามารถเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและ รูปแบบต่างๆ ของการเขียน ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ ย่อความ รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตาม จินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์ และเขียนเชิงสร้างสรรค์ และมาตรฐานด้านการอ่าน การเขียน ตัวชี้วัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ไว้ว่า นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อย กรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านระบุเหตุและผล ข้อเท็จจริง กับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน นำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต มีมารยาทในการอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ปัจจุบันปัญหาเรื่องการอ่านออกเขียนได้เป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การศึกษาต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยไม่ผลักความรับผิดชอบให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะการร่วมมือกันแก้ไขปัญหานั้น จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก ล้วนส่งผลต่อการเรียนของเด็กอย่างมาก ทำให้เด็กขาดความอบอุ่น เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพื่อนรังเกียจ ก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมไม่สนใจการเรียน หนีเรียน จึงจำเป็นที่ครู และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ระดับจะต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ให้สามารถอ่านออกเขียน ได้เหมาะสมกับระดับชั้นที่เรียนและสามารถที่จะเรียนรู้ทักษะและสาระการเรียนรู้อื่น ๆได้ รวมทั้งอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างเป็นสุข 

. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
.๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
.๒ เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
.๓ เพื่อศึกษาผลการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑โรงเรียนบ้านงิ้วสูง
. ขอบเขตของการศึกษา ขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตไว้ ดังนี้
. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยในระยะที่ ๑ ๒ และ ๓ เกี่ยวข้องกับโรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
                . ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่  ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๒ คน
. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีปัญหา การอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการ เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ระยะที่ ๓ ศึกษา ผลการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย  จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่
 .๑ ตัวแปรอิสระ คือ กิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
 .๒ ตัวแปรตาม ได้แก่
 ..๑ ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยตามระดับชั้นที่เรียน
..๒ ผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
 . เนื้อหา เนื้อหาที่นำมาสร้างเครื่องมือ ได้แก่ การฝึกทักษะการอ่านและเขียนเกี่ยวกับพยัญชนะไทย การผันอักษร การอ่านจับใจความ การเขียนเป็นคำ การเขียนประโยค และการเขียนเป็นเรื่องราว
 . ระยะเวลาในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙
. ขอบเขตด้านสถานที่ คือ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
. นิยามศัพท์เฉพาะ
                อ่านไม่ออก หมายถึง ทักษะ ความสามารถ ในการอ่านและเขียนภาษาไทยเป็นคำ ประโยค และเรื่องราวต่าง ๆที่กำหนดตามเนื้อหาในระดับชั้นที่เรียน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านที่สร้างขึ้น     ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
                เขียนไม่ได้ หมายถึง ทักษะ ความสามารถ ในการเขียนภาษาไทยเป็นคำ ประโยค และ เรื่องราวต่าง ๆ ที่กำหนดตามเนื้อหาในระดับชั้นที่เรียน ความสามารถในการเขียนที่สร้างขึ้น ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐

                ความสามารถในการอ่านและการเขียน หมายถึง ทักษะ ความสามารถ ในการอ่านและ เขียนภาษาไทยเป็นคำประโยค และเรื่องราวต่าง ๆที่กำหนดตามเนื้อหาในระดับชั้นที่เรียน ซึ่ง สามารถตรวจสอบได้ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนที่สร้างขึ้น
               
                การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน หมายถึง การฝึกทักษะการอ่านและเขียนสำหรับนักเรียน ที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการอ่านและเขียนในระดับมัธยมศึกษา โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนที่มีองค์ประกอบตามหลักการสอนอ่านและเขียน สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่าน และการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
                 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
                 ผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ หมายถึง ผลที่ได้หลังจากทดลองใช้ กิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ
                 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ หมายถึง ตัวเลขที่แสดงถึงระดับประสิทธิภาพ ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกที่ผู้สร้างขึ้น มีระดับประสิทธิภาพที่จะช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๘๐/๘๐ เกณฑ์ ๘๐/๘๐ หมายถึง ระดับคะแนนที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การอ่านและ การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑      โดยกำหนดให้ระดับคะแนนเป็นดังนี้
                ๘๐ ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการประเมิน การอ่าน การเขียน ซึ่งต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
                ๘๐ ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียน ซึ่งต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
                . ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา
                . ทราบสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
                . ได้แนวทางในการส่งเสริม ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะและความสามารถ ในการอ่านและเขียนภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพ
                . ได้ทราบผลการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านท่อเมืองลัง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น