ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

บทที่ 5

บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

            การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ ดังนี้

๑.สรุปผลการศึกษา

                ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เก็บข้อมูลจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านการเขียนจากแบบทดสอบที่ สร้างขึ้น การสังเกต การสอบถาม และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวนักเรียนรายบุคคล พบว่า
(๑)     นักเรียน คือ ขาดเรียนบ่อย อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จำตัวอักษรไม่ได้ พูดไม่ชัด ขี้เกียจในการอ่านการเขียน จำตัวอักษรได้เป็นบางตัวแต่อ่านเป็นคำที่มีหลายคำไม่ได้ เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่นสมาธิสั้น
(๒)  เด็กวันนี้สมาธิสั้น ภาพอิเล็กทรอนิกส์จะกระตู้นภาวะการรับรู้ของเด็กให้เคลื่อนที่เร็วตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดภาวะจิตเร็วหรือจิตไม่นิ่งตั้งแต่วัยเด็กเล็ก
                 () ครอบครัว คือ ขาดความอบอุ่นในครอบครัว ครอบครัวมีฐานะยากจน ครอบครัวขาดความอบอุ่น พ่อแม่หย่าร้างกัน อาศัยอยู่กับตายายหรือญาติที่ไม่ให้ความสนใจในด้านการอ่านการเขียน ไม่ได้รับ การฝึกอ่านฝึกเขียนจากครอบครัว สมาชิกในครอบครัวเกือบทุกคนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
                () ครูผู้สอน คือ ระดับประถมศึกษานักเรียนไม่ได้รับการฝึกทักษะอ่านฝึกเขียนจากครูที่ดีพอ ครูมีภาระการสอนมากและมีงานพิเศษอื่นมากจึงไม่ค่อยเรียน
               
                ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางวิธีการรูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ดำเนินการเก็บข้อมูล พบว่า แนวทางที่แก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ โดยการสอน ซ่อมเสริมด้วยแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนตามขั้นตอนจากง่ายไปหายาก คือ
                (๑) การอ่าน ด้วยอ่านคำประกอบภาพ อ่านประโยคความเดียวประกอบภาพ อ่านประโยคความรวมประกอบภาพ นำประโยคความรวมมารวมกันเป็นข้อความเพื่ออ่านทบทวนข้อความโดยไม่มีภาพประกอบ อ่านบทร้อยกรองและตอบคำถามจากบทร้อยกรองที่อ่าน
                 (๒) การเขียน ด้วยการโยงคำกับภาพ เติมพยัญชนะหรือสระ เขียนคำจากภาพ เติมคำให้เป็นประโยค แต่งประโยคจากภาพ เลือกเติมคำ ในช่องว่าง เขียนเรื่องจากภาพ และเขียนเรื่องตามจินตนาการ
๘๘
รวมทั้งกระบวนการดำเนินงานแก้ไข ผู้วิจัยร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานด้วยกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสอนซ่อมเสริมทุกวันพุธ ที่ห้องปฏิบัติการภาษาไทย ครูร่วมกันสอน ซ่อมเสริม ๓ คน โดยครูคนที่ ๑ นำเสนอเนื้อหาหรือหลักการอ่านและเขียนภาษาไทยแต่ละเรื่อง ที่หน้าชั้นเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และสื่ออื่น ๆ เช่น เกม บัตรคำ ภาพประกอบ สื่อคอมพิวเตอร์  ส่วนครูคนที่ ๒-๓ ดูแลช่วยเหลือเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนแก่นักเรียนแต่ละกลุ่ม (สอนในรูปทีม) การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปรับปรุงการ แก้ไข การสนับสนุนการสอนซ่อมเสริม และสะท้อนผลกลับให้การดำเนินงานมีกิจกรรมที่เหมาะสม ยิ่งขึ้น ตลอดจนคณะกรรมการดำเนินงานได้เพิ่มเติมกิจกรรมการอ่านและเขียนให้ครูผู้สอนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ ทุกคนและทุกรายวิชา ได้เพิ่มจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนทุกชั่วโมง ที่สอน รวมทั้งร่วมกับห้องสมุดโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก่นักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและปลูกฝังกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
               
                ระยะที่ ๓ ศึกษาผลการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง  ประกอบด้วย
                . ประสิทธิภาพของ การจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีค่าเท่ากับ ๘๐/๗๖ สูงกว่าเกณฑ์ ๗๐
                . การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดกิจกรรม แก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเขียนได้หลังการจัด กิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม
                 . นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ชอบแบบฝึกทำให้นักเรียนสนุกสนานกับ การเรียนเกี่ยวกับการอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น รองลงมา คือ ชอบที่การจัด กิจกรรมช่วยให้นักเรียนได้ฝึกวิธีการอ่านและเขียนภาษาไทยที่ถูกต้องและมั่นใจในการเรียนรู้ ของตัวเองยิ่งขึ้น รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนชอบที่ได้รับทราบและปรับปรุงการเรียนรู้ จากการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในแต่ละชั่วโมง รองลงมา คือ นักเรียน ชอบเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยในแต่ละชุด
                . ข้อเสนอแนะ
                .๑ ข้อเสนอแนะในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติและติดตามผล

๘๙
                ..๑ ควรนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้กับผู้เรียนที่มีปัญหาในการอ่านและ การเขียนภาษาไทย ควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถและสภาพความพร้อมที่จะได้รับการ พัฒนาที่แตกต่างกัน
                 ..๒ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรพิจารณาความเหมาะสมด้านเวลา เพื่อให้ โอกาสกับผู้เรียนอย่างเต็มที่ในการฝึกอ่านและฝึกเขียนตามลำดับ เพราะการเรียนรู้ภาษาต้องให้เวลา  ในการทบทวนและฝึกซ้ำๆ ด้วยตนเอง
                ..๓ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ทำให้ ผู้เรียนกลุ่มดังกล่าวมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ไม่เกิดความอายหรือเป็นปมด้อย เพราะถ้าผู้เรียน มีเจตคติที่ดีแล้ว การเรียนรู้ก็จะประสบผลสำเร็จ
                ..๔ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ควรมีการส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นให้การ สนับสนุนด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการอ่านออกและเขียนได้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ..๕ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ควรมีนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานโครงการอ่านออกและเขียนได้อย่างต่อเนื่องทุกปี และมีการ กระตุ้นเสริมแรงอยู่เสมอ
                 ..๖ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำกับ ติดตาม และให้การนิเทศ อย่างใกล้ชิดในการดำเนินโครงการพัฒนาการอ่านออกและเขียนได้แก่นักเรียนแต่ละโรงเรียน โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                 ..๗ ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ความสำคัญและสร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนได้ บูรณาการการอ่านในกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลในทุกรายวิชาอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจัดหาปัจจัยในการดำเนินงานที่เหมาะสมและเพียงพอ
                 .๒ ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
                ..๑ ควรมีการสร้างสื่อพัฒนาทักษะในการอ่านและการเขียน โดยใช้กระบวนการ ทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ใช้งานง่าย มีหน่วยการเรียนที่สั้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อพัฒนานักเรียนที่ มีปัญหาในการอ่านและการเขียนภาษาไทยเป็นรายบุคคลตามสภาพความสามารถของผู้เรียน
                 ๒..๒ ควรมีการส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการสอนอ่านและเขียน ภาษาไทยที่ได้ผลดีสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน และเผยแพร่กระบวนการ ดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมให้ทุกโรงเรียน
                ..๓ ควรศึกษาพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ร่วมกันระหว่างโรงเรียนที่เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มี ประสิทธิภาพร่วมกัน
๙๐
                ..๔ ควรมีการศึกษาการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน หรือสถานศึกษาระดับอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และ เป็นการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่เหมาะสมและยั่งยืน
                ..๕ ควรศึกษาการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จากความร่วมมือ  ของผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการช่วยปลูกฝังและส่งเสริมการอ่าน และเขียนที่เหมาะสมให้แก่บุตรหลาน และเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี
                 ๒..๖ ควรจัดหากิจกรรมหรือสื่อที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งตีพิมพ์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วย สอน และการอ่านและเขียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ให้มีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับนักเรียน เพื่อ กระตุ้นจูงใจและส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่านและเขียนที่ยั่งยืน เห็นความสำคัญของการ อ่าน และพัฒนาการอ่านของตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรู้จักแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสารใหม่ ๆ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและ จะส่งเสริมให้นักเรียนอ่านออกเขียนคล่องตลอดไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น