บทที่ ๓
วิธีการดำเนินงาน
การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านงิ้วสูง ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลและแนวทางการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๓. การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๔. กระบวนการพัฒนา
๕ . วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
๖ . การเก็บรวบรวมข้อมูล
๗. การวิเคราะห์ข้อมูล
๘ . สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ในการวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการทำงานระหว่างผู้วิจัยกับผู้เกี่ยวข้องในการศึกษาสาเหตุแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ซึ่งกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย และผู้ที่ให้ข้อมูลประกอบการวิจัย ดังนี้
๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยใน ระยะที่ ๑-๓ เกี่ยวข้องกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๗๙
๑. ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา๒๕๕๙ จำนวน ๑๒ คน
๒. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วสูง ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียนที่มีทักษะความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยเป็นคำประโยค และเรื่องราวต่าง ๆ ที่กำหนดตามเนื้อหาในระดับชั้นที่เรียนต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วสูง ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๒ คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ระยะที่ ๓ ศึกษาผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วสูง ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
๒. ผู้ร่วมวิจัย จำนวน ๗ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้
ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เพื่อจะได้ข้อมูลและสภาพปัญหา
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๔๐ ข้อ ที่สร้างขึ้น (ใช้ทดสอบก่อนเรียน เพื่อคัดนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ที่ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนเต็ม)
ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง มีกระบวนการละเอียดดังนำเสนอในกระบวนการพัฒนาครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
๘๐
ภาษาไทย แล้วจัดสอนซ่อมเสริมในคาบสอนซ่อมเสริมของวันศุกร์ คาบที่ ๑-๒ ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้ง ๑๒ คน
๑. ครูผู้สอนซ่อมเสริมพร้อมกัน ๗ คน โดยครูคนที่ ๑ นำเสนอเนื้อหาหรือหลักการอ่านและเขียนภาษาไทยแต่ละเรื่อง ที่หน้าชั้นเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และสื่ออื่น ๆ เช่น เกม บัตรคำภาพประกอบ สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่วนครูคนที่ ๒-๗ ดูแลช่วยเหลือเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนแก่นักเรียนแต่ละกลุ่ม (สอนในรูปทีม) ประกอบด้วย
๑. นางสาวดวงลดา จุมปาดง
๒. นางสาวจามจุรีย์ วงค์จิรโชติ
๓. นางสาวสุพัตรา งามจิตเจริญ
๕. นางสาวสุดาพร ชาญพนากุล
๕. นางสาวพิมพ์อัปสร พูนฟัก
๖. นางสาวศุภาพิชญ์ โชคชัยร่วมสกุล
๗. นางสาวลลิตา อุดก้อน
๒. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสอนซ่อมเสริม สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ในวันอังคารคาบที่ ๗-๘ เพื่อร่วมกันแก้ไขปรับปรุงการแก้ไขและสนับสนุนการสอนซ่อมเสริมซึ่งคณะกรรมการดำเนินงาน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน ๕ ชุด
๒. แผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน ๒๐ แผน ๒๐ ชั่วโมง
ระยะที่ ๓ ศึกษาผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ การดำเนินการในระยะนี้ เป็นการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะด้วยการนำไปปฏิบัติจริงกับกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ
๘๑
๑. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน ๔๐ ข้อ (ใช้ทดสอบหลังเรียน)
๒. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ
การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๑. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพ คือ
๑.๑ ศึกษาหลักการ ทฤษฏี เอกสารและตำรา ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดและโครงสร้างของแบบทดสอบ
๑.๒ พิจารณาและคัดเลือกคำจากบัญชีคำพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ งานด้านการวัดผลประเมินผล จิตวิทยาการศึกษา และครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสบการณ์ในการสอนเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
๑.๓ ดำเนินการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน ๔๐ ข้อ ชนิดปรนัย ๔ ตัวเลือก
๒. แบบฝึกทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย มีขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพ ดังนี้
๒.๑ ศึกษาเอกสาร ตำรา คู่มือครู แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างชุดกิจกรรมและแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนการอ่านและการเขียน เพื่อกำหนดขอบเขตและรูปแบบของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
๒.๒ พิจารณาคัดเลือกคำจากบัญชีคำตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จำนวน ๒ หน่วย คือ
หน่วยที่ ๑ ทักษะการอ่าน
หน่วยที่ ๒ ทักษะการเขียน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
๘๒
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดระยะเวลาในการวิจัยไว้ ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางวิธีการรูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้
ระยะที่ ๓ ศึกษาผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ รายละเอียดการดำเนินการวิจัย ดังต่อไปนี้
ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เก็บข้อมูลจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านการเขียนจากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นการสังเกต การสอบถาม และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวนักเรียนรายบุคคล
ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางวิธีการรูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้
๑. ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกการอ่านและเขียนภาษาไทยและจัดทำสื่อประกอบการสอนตามแนวทางที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๒. นำแบบทดสอบการอ่านและการเขียนก่อนและหลังเรียน เรื่องไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ก่อนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย
๓. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านและการเขียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีปัญหาด้านการอ่านและเขียน ด้วยชุดพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย
ระยะที่ ๓ ศึกษาผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งแบบสถิติและพรรณนาวิเคราะห์ไปหาข้อสรุปเพื่อเป็นข้อมูลในการวิจัยต่อไปการวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง ผู้วิจัยดำเนินการจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางวิธีการรูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้
๘๓
ระยะที่ ๓ ศึกษาผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excell
ระยะที่ ๑ ผลการศึกษาศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
ระยะที่ ๒ ผลการ ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นการพรรณนาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยประกอบ
ระยะที่ ๓ ศึกษาผลการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เกี่ยวกับ
๑. วิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยใช้แบบฝึกทักษะด้วยการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ/ผลลัพธ์ (E1/E2) แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์ คือ
ค่า E1/E2 ระดับประสิทธิภาพของกิจกรรม
๘๐.๕๑-๑๐๐ สูงกว่าเกณฑ์
๗๐.๕๑-๘๐.๕๐ เท่ากับเกณฑ์
๐.๐๐-๗๐.๕๐ ต่ำกว่าเกณฑ์
๒. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยการทดสอบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการทดสอบค่า t แบบกลุ่มไม่อิสระ
๓. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ด้วยค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วนำค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ (บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๕๓ : ๑๐๕)
ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ
๔.๕๑-๕.๐๐ มากที่สุด
๓.๕๑-๔.๕๐ มาก
๒.๕๑-๓.๕๑ ปานกลาง
๑.๕๑-๒.๕๐ น้อย
๘๔
๑.๐๐-๑.๕๐ น้อยที่สุด
๓. สถิติพื้นฐาน
๓.๑ ร้อยละ (Percentage)
โดยใช้สูตร ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๕๓ : ๑๐๔)
P =
เมื่อ P แทน ร้อยละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
๓.๒ ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๕๓ : ๑๐๕)
เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย
å X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม
๓.๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๕๓ : ๑๐๖)
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
SX แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนนักเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น