ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

ภาคผนวก

ภาคผนวก





๙๒












๙๓
บรรณานุกรม

นางสาวรัตนาพร ทะอิน./ “การพัฒนาการอ่านและเขียนสะกดคำโดยใช้บันไดทักษะ ๔ ขั้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๑ โรงเรียนบ้านแม่แจ๊ะ  จังหวัดแม่ฮ่องสอน .”/ รายงานการพัฒนาผู้เรียน. / คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ,กันยายน ๒๕๕๘ .
                ยืนยง ราชวงษ์ และคนอื่นๆ . การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับ ผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเขียนได้สําหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๑ ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑. / รายงานพัฒนาผู้เรียน. / สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,๒๕๕๑.
                อรรถสิทธิ์ รัตนแคล้ว. / “การศึกษาผลของการใช้กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑.” / รายงานวิจัยในชั้นเรียน. / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑, ๒๕๕๕.
                นางอ่าทอง บุญเสริม . / “การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบรบือ. ” / รายงานวิจัยในชั้นเรียน. / โรงเรียนบรบือ  อำเภอบรบือ  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต ๒๖,๒๕๕๖.       
                ชนิกา คําพุฒ และนวพร คําเมือง. / “การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ” / วิจัยในชั้นเรียน. / มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์,๒๕๕๑.
                ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ศิวกานท์ ปทุมสูติ. เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว. นนทบุรี :บริษัทเฟิสท์ออฟเสท ( ๑๙๙๓ ) จำกัด. ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๖.
               


บทที่ 5

บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

            การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ ดังนี้

๑.สรุปผลการศึกษา

                ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เก็บข้อมูลจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านการเขียนจากแบบทดสอบที่ สร้างขึ้น การสังเกต การสอบถาม และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวนักเรียนรายบุคคล พบว่า
(๑)     นักเรียน คือ ขาดเรียนบ่อย อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จำตัวอักษรไม่ได้ พูดไม่ชัด ขี้เกียจในการอ่านการเขียน จำตัวอักษรได้เป็นบางตัวแต่อ่านเป็นคำที่มีหลายคำไม่ได้ เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่นสมาธิสั้น
(๒)  เด็กวันนี้สมาธิสั้น ภาพอิเล็กทรอนิกส์จะกระตู้นภาวะการรับรู้ของเด็กให้เคลื่อนที่เร็วตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดภาวะจิตเร็วหรือจิตไม่นิ่งตั้งแต่วัยเด็กเล็ก
                 () ครอบครัว คือ ขาดความอบอุ่นในครอบครัว ครอบครัวมีฐานะยากจน ครอบครัวขาดความอบอุ่น พ่อแม่หย่าร้างกัน อาศัยอยู่กับตายายหรือญาติที่ไม่ให้ความสนใจในด้านการอ่านการเขียน ไม่ได้รับ การฝึกอ่านฝึกเขียนจากครอบครัว สมาชิกในครอบครัวเกือบทุกคนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
                () ครูผู้สอน คือ ระดับประถมศึกษานักเรียนไม่ได้รับการฝึกทักษะอ่านฝึกเขียนจากครูที่ดีพอ ครูมีภาระการสอนมากและมีงานพิเศษอื่นมากจึงไม่ค่อยเรียน
               
                ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางวิธีการรูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ดำเนินการเก็บข้อมูล พบว่า แนวทางที่แก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ โดยการสอน ซ่อมเสริมด้วยแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนตามขั้นตอนจากง่ายไปหายาก คือ
                (๑) การอ่าน ด้วยอ่านคำประกอบภาพ อ่านประโยคความเดียวประกอบภาพ อ่านประโยคความรวมประกอบภาพ นำประโยคความรวมมารวมกันเป็นข้อความเพื่ออ่านทบทวนข้อความโดยไม่มีภาพประกอบ อ่านบทร้อยกรองและตอบคำถามจากบทร้อยกรองที่อ่าน
                 (๒) การเขียน ด้วยการโยงคำกับภาพ เติมพยัญชนะหรือสระ เขียนคำจากภาพ เติมคำให้เป็นประโยค แต่งประโยคจากภาพ เลือกเติมคำ ในช่องว่าง เขียนเรื่องจากภาพ และเขียนเรื่องตามจินตนาการ
๘๘
รวมทั้งกระบวนการดำเนินงานแก้ไข ผู้วิจัยร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานด้วยกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสอนซ่อมเสริมทุกวันพุธ ที่ห้องปฏิบัติการภาษาไทย ครูร่วมกันสอน ซ่อมเสริม ๓ คน โดยครูคนที่ ๑ นำเสนอเนื้อหาหรือหลักการอ่านและเขียนภาษาไทยแต่ละเรื่อง ที่หน้าชั้นเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และสื่ออื่น ๆ เช่น เกม บัตรคำ ภาพประกอบ สื่อคอมพิวเตอร์  ส่วนครูคนที่ ๒-๓ ดูแลช่วยเหลือเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนแก่นักเรียนแต่ละกลุ่ม (สอนในรูปทีม) การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เพื่อร่วมกันแก้ไขปรับปรุงการ แก้ไข การสนับสนุนการสอนซ่อมเสริม และสะท้อนผลกลับให้การดำเนินงานมีกิจกรรมที่เหมาะสม ยิ่งขึ้น ตลอดจนคณะกรรมการดำเนินงานได้เพิ่มเติมกิจกรรมการอ่านและเขียนให้ครูผู้สอนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ ทุกคนและทุกรายวิชา ได้เพิ่มจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนทุกชั่วโมง ที่สอน รวมทั้งร่วมกับห้องสมุดโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก่นักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและปลูกฝังกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
               
                ระยะที่ ๓ ศึกษาผลการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง  ประกอบด้วย
                . ประสิทธิภาพของ การจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีค่าเท่ากับ ๘๐/๗๖ สูงกว่าเกณฑ์ ๗๐
                . การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดกิจกรรม แก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเขียนได้หลังการจัด กิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม
                 . นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ชอบแบบฝึกทำให้นักเรียนสนุกสนานกับ การเรียนเกี่ยวกับการอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น รองลงมา คือ ชอบที่การจัด กิจกรรมช่วยให้นักเรียนได้ฝึกวิธีการอ่านและเขียนภาษาไทยที่ถูกต้องและมั่นใจในการเรียนรู้ ของตัวเองยิ่งขึ้น รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนชอบที่ได้รับทราบและปรับปรุงการเรียนรู้ จากการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในแต่ละชั่วโมง รองลงมา คือ นักเรียน ชอบเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยในแต่ละชุด
                . ข้อเสนอแนะ
                .๑ ข้อเสนอแนะในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติและติดตามผล

๘๙
                ..๑ ควรนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้กับผู้เรียนที่มีปัญหาในการอ่านและ การเขียนภาษาไทย ควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถและสภาพความพร้อมที่จะได้รับการ พัฒนาที่แตกต่างกัน
                 ..๒ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรพิจารณาความเหมาะสมด้านเวลา เพื่อให้ โอกาสกับผู้เรียนอย่างเต็มที่ในการฝึกอ่านและฝึกเขียนตามลำดับ เพราะการเรียนรู้ภาษาต้องให้เวลา  ในการทบทวนและฝึกซ้ำๆ ด้วยตนเอง
                ..๓ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ทำให้ ผู้เรียนกลุ่มดังกล่าวมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ไม่เกิดความอายหรือเป็นปมด้อย เพราะถ้าผู้เรียน มีเจตคติที่ดีแล้ว การเรียนรู้ก็จะประสบผลสำเร็จ
                ..๔ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ควรมีการส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นให้การ สนับสนุนด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการอ่านออกและเขียนได้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ..๕ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ควรมีนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานโครงการอ่านออกและเขียนได้อย่างต่อเนื่องทุกปี และมีการ กระตุ้นเสริมแรงอยู่เสมอ
                 ..๖ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำกับ ติดตาม และให้การนิเทศ อย่างใกล้ชิดในการดำเนินโครงการพัฒนาการอ่านออกและเขียนได้แก่นักเรียนแต่ละโรงเรียน โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                 ..๗ ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ความสำคัญและสร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนได้ บูรณาการการอ่านในกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลในทุกรายวิชาอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจัดหาปัจจัยในการดำเนินงานที่เหมาะสมและเพียงพอ
                 .๒ ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
                ..๑ ควรมีการสร้างสื่อพัฒนาทักษะในการอ่านและการเขียน โดยใช้กระบวนการ ทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ใช้งานง่าย มีหน่วยการเรียนที่สั้น มีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อพัฒนานักเรียนที่ มีปัญหาในการอ่านและการเขียนภาษาไทยเป็นรายบุคคลตามสภาพความสามารถของผู้เรียน
                 ๒..๒ ควรมีการส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการสอนอ่านและเขียน ภาษาไทยที่ได้ผลดีสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน และเผยแพร่กระบวนการ ดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมให้ทุกโรงเรียน
                ..๓ ควรศึกษาพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ร่วมกันระหว่างโรงเรียนที่เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มี ประสิทธิภาพร่วมกัน
๙๐
                ..๔ ควรมีการศึกษาการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน หรือสถานศึกษาระดับอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และ เป็นการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่เหมาะสมและยั่งยืน
                ..๕ ควรศึกษาการแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จากความร่วมมือ  ของผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการช่วยปลูกฝังและส่งเสริมการอ่าน และเขียนที่เหมาะสมให้แก่บุตรหลาน และเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี
                 ๒..๖ ควรจัดหากิจกรรมหรือสื่อที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งตีพิมพ์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วย สอน และการอ่านและเขียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ให้มีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับนักเรียน เพื่อ กระตุ้นจูงใจและส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่านและเขียนที่ยั่งยืน เห็นความสำคัญของการ อ่าน และพัฒนาการอ่านของตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรู้จักแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ข้อมูล ข่าวสารใหม่ ๆ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและ จะส่งเสริมให้นักเรียนอ่านออกเขียนคล่องตลอดไป


บทที่ 4

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ ดังนี้
                . สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                . ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                . ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในการแปลความหมาย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงาน จึงกำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
                X แทน ค่าเฉลี่ย
                S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                E1 แทน ค่าประสิทธิภาพกระบวนการของการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่าน ไม่ออกเขียนไม่ได้                 E2 แทน ค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาที่อ่านไม่ ออกเขียนไม่ได้
                N แทน จำนวนของนักเรียนทั้งหมด
                SD แทน ผลรวมของคะแนนที่แตกต่างกัน
                ลำดับขั้นตอนในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                ระยะที่ ๑ ศึกษาสาเหตุปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ เก็บข้อมูลจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านการเขียนจากแบบทดสอบที่สร้างขึ้น การสังเกต การสอบถาม และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวนักเรียนรายบุคคล
                 ระยะที่ ๒ ศึกษาแนวทางวิธีการรูปแบบการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ดำเนินการเก็บข้อมูล จากแบบฝึกประกอบการสอนซ่อมเสริม ที่ผ่านกระบวนการสร้างและนำไป ทดลองใช้หาคุณภาพ (Pilot Study) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างจริง แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้อง ด้วยการ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วน าค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ กำหนด
                ระยะที่ ๓ ศึกษาผลกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยการนำผล การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งแบบสถิติและพรรณนาวิเคราะห์ไปหาข้อสรุปเพื่อเป็นข้อมูลในการวิจัยต่อไป
๘๖


ผลการวิเคราะห์
ตารางที่ ๑ ผลการทดสอบก่อนเรียน

ลำดับที่
คะแนนก่อนสอบ( ๒๐)
๑๐
๑๒
๑๖
๑๓
๑๐
๑๔
๑๑
๑๖
๑๒
๑๑

ผลจากทำการทดสอบก่อนเรียน
                จากผลการทดสอบก่อนเรียนของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง จากประชากรจำนวน ๑๒ คน พบว่ามีเด็กจำนวน ๕ คน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินแบบทดสอบก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ ๔๑ ของจำนวนเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

๘๖

ตาราง ๒  คะแนนการอ่านและเขียนจากการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนบ้านงิ้วสูง

ลำดับที่
บทที่๑
(๑๐)
บทที่๒
(๑๐)
บทที่๓
(๑๐)
บทที่๔
(๑๕)
บทที่๕
(๑๕)
คะแนนก่อนสอบ
(๒๐)
คะแนน
หลัง
สอบ
(๒๐)
รวม
คะแนน
(๑๐๐)

๑๔
๑๔
๑๗
๘๐
๑๕
๑๔
๑๗
๗๗
๑๔
๑๕
๑๘
๘๐
๑๔
๑๔
๑๙
๘๒
๑๔
๑๕
๑๘
๗๖


















ตารางที่ ๓ ผลการสรุปคะแนน

ลำดับที่
คะแนนก่อนสอบ (๒๐)
คะแนนหลังสอบ (๒๐)
คะแนนรวม
(๑๐๐)
ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าร้อยล่ะ
๑๗
๘๐
๑๐.๔๒
๒.๓๒
๘๐
๑๗
๗๗
๑๑

๗๗
๑๘
๘๐
๑๐.๘๒
๒.๓๒
๘๐
๑๙
๘๒
๑๑.๗๕
๒.๓๔
๘๒
๑๘
๗๖
๑๐.๘๕

๗๖
ค่า E1/E2




๘๗
                จากตาราง ๓ แสดงว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีประสิทธิภาพกระบวนการ/ผลลัพธ์ เท่ากับ ๘๒/๗๖ สูงกว่าเกณฑ์ ๗๐ ที่กำหนดไว้ แสดงว่า การจัดกิจกรรมแก้ปัญหาที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทางวิชาการกำหนด และนักเรียนได้รับการพัฒนาการอ่านและเขียนบรรลุตรงตามจุดประสงค์ ของการวิจัยที่กำหนดไว้ และตรงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า  การวางแผนงาน ผู้วิจัยได้มีการศึกษากรอบนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ สภาพปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียน ประเมินสถานภาพของโรงเรียน เพื่อหาความต้องการจำเป็น แล้ววัดทิศทาง การพัฒนา กำหนดเป็นนโยบายโรงเรียนในด้านการ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน แผนงาน โครงการต่าง ๆ เกิดจากการร่วมคิดร่วมทำของคณะกรรมการและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานที่ว่า การจัดทำแผนกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือ การมีส่วนในการดำเนินการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ประเมินผลการจัด