จิตวิทยา
หรือ Psychology มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับ (Logos) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษา (Study) ดังนั้น หากให้ความหมายตามนิยามดั้งเดิม จิตวิทยาจึงหมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study
of soul ) ต่อมา
มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำ
หรือกระบวนการคิด พร้อมๆ กับการศึกษาเรื่องสติปัญญา ความคิด ความเข้าใจ
การใช้เหตุผล รวมทั้งเรื่องของตน (Self) และเรื่องราวของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวของบุคคล
โดยนำการสังเกตและการทดลองมาเกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความรู้มาใช้ในการศึกษาอย่างเป็นระบบ
เป็นการศึกษาที่เน้นเฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เท่านั้นมีผู้ให้คำจำกัดความจิตวิทยาที่น่าสนใจ
ดังนี้
-
Good คิดว่า
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
กล่าวโดยสรุป คือ จิตวิทยาได้เปลี่ยนเป็นศาสตร์ที่ หมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม (Behavior)ของมนุษย์ (Psychology
is the science of behavior)
1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ความต้องการ
การแก้ปัญหา การปรับตัว อารมณ์และความรู่สึกในสถานการณ์ต่างๆ
2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี สามารถเอาชนะปมด้อยต่างๆ
รู้วิธีแก้ปัญหาและปรับตัวอย่างเหมาะสม ขจัดความขัดแย้งในใจได้และความวิตกกังวลได้
จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณที่พยายามค้นหาความหมายของจิต
ซึ่งในระยะแรกจะคิดถึงหัวใจและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด
ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 19 การศึกษา
จิตวิทยาแยกออกเป็น 2 แนวทาง
คือแนวทางปรัชญาและแนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญา คือจอห์น
ล็อค (John Lock, 1632-1704) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ
ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่ง จิตวิทยาแผนใหม่
ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต
และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ
เขาเชื่อว่าจิตเปรียบเหมือนกระดาษที่ว่างเปล่า
แต่เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทำให้เกิดรอยขีดเขียน ดังนั้น
สิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อจิตมาก
เขาอธิบายว่าจิตของมนุษย์เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้
และถูกเชื่อมโยงต่อกัน ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น
การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากขณะที่การอธิบายเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องยากไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน การศึกษาจิตวิทยาจึงถูกนำไปใช้ในการทดลอง การสังเกต การพิจารณาในเวลาต่อมา
บุคคลที่เข้ามาศึกษาจิตวิทยาในเวลาต่อมานอกจาก John Lock แล้ว ดังนี้
Cassman ได้เขียนหนังสือชื่อ Aythropologica อธิบายเกี่ยวกับความรู้เรื่องจิตของมนุษย์ในปี
1590 ทำให้วิชา Psychology เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
Emest
Hinrich Weber (1795-1878) ผู้ค้นพบพื้นฐานร่วมระหว่างความรู้สึกทางสรีระกับจิตวิทยาฟิสิกส์
เขาศึกษาเกี่ยวกับสัมผัสและความรู้สึกทางกล้ามเนื้อ
ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
โดยวิธีการหาความแตกต่างของการรับความรู้สึกของผู้ถูกทดลอง
Charles
Darwins (1809-1882) ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการในปี 1859 เขาเชื่อว่าต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ชั้นต่ำ
ทฤษฎีนี้ทำให้ความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นต้นกำเนิดชีวิตหายไป
และเหตุนี้ทำให้เกิดจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative
Psychology) ขึ้น
Sir
Francis Galton (1822-1911) ให้ความสนใจในเรื่องพันธุกรรมศาสตร์
ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของความแตกต่างระหว่างบุคคล
ถือเป็นผู้เริ่มจิตวิทยาการทดลองเป็นคนแรกในประเทศอังกฤษ
ส่วนวิธีการศึกษาที่นำมาใช้คือการทำ Case Study รวมทั้งสร้างแบบทดสอบและใช้วิธีการทางสถิติตอย่างง่าย
William
James (1832-1920) นักจิตวิทยาและนักสรีระวิทยาชาวเยอรมันเป็นผู้ทำให้วิชาจิตวิทยาแยกออกมาจากวิชาปรัชญาและได้รับการยอมรับว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์
จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาเชิงวิทยาศาสตร์ หรือบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง
เขาเป็นผู้เริ่มตั้งห้องทดลองขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งได้เปิดห้องปฏิบัติการวิจัยทางจิตวิทยา Leopzig การศึกษาของ Wundt มุ่งค้นคว้าธรรมชาติของจิตสำนึก (Consciousness) ของบุคคล ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส
โดยเน้นที่จักษุสัมผัสและทดลองเกี่ยวกับความใส่ใจ จินตนาการ การคิดหาเหตุผล
นับเป็นการเริ่มต้นศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
William
James(1842-1901) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี
1890 ชื่อว่า Principle of Psychology ซึ่งเป็นตำราที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
เขาสนใจศึกษาจิตวิทยาทุกสาขาแล้วนำมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดใหม่ ผลงานที่ปรากฏได้แก่
ทฤษฎีอารมณ์ การถ่ายเทการเรียนรู้ และแนวคิดเกี่ยวกับสัญชาติญาณ
จิตสำนึกและจิตไร้สำนึก
G.Stanley
Hall (1846-1939) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ตั้งห้องปฏิบัติการตามแบบ Wundt ที่มหาวิทยาลัย John Hopkins เมื่อปี 1883
มุ่งเน้นศึกษาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
เขาออกวารสารทางจิตวิทยาขึ้นเป็นฉบับแรกชื่อว่า American Johrnal of
Psychology ในปี 1887
John B.Watson
(1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นอาจารย์สอนเป็นการสะท้อนให้เห็น
จิตของบุคคล เนื่องจากจิตเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่มีตัวตน
ไม่สามารถสังเกตหรือใช่เครื่องมือวัดได้ ดังนั้น
เมื่อต้องการศึกษาเรื่องจิตก็ควรศึกษาเรื่องของพฤติกรรม
ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่
1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้
การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น
จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ
ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม
ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ
ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา
เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน
และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
6.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต
สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ
เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้นT
8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน
ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน
การประเมินผลงาน
9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน
การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ
วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต
จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง
วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน
โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา คือ เพื่อให้เข้าใจ (Understanding) เพื่อการทำนาย (Prediction) และเพื่อควบคุม (Control) พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ
กู๊ดวินและคลอส ไมเออร์(Goodwill & Cross Mier,1975) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา ไว้ดังนี้
1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี
หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้
และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น
ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา
ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ
ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ
ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม
ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย
ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ
การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก
ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
การทดลองสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ
แต่ไม่ว่าจะเป็นการทดลองชนิดใดต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่
การปฏิบัติซ้ำเพื่อตรวจสอบผลให้เกิดความมั่นใจ
การควบคุมเพื่อไม่ให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวแปร คือ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ และต้องมีขอบเขตจำกัด
ในการทดลองจะมีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวประกอบ 2 ตัว
หรือ 2กลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental
Group) เป็นกลุ่มที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม (Control
Group) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกเปรียบเทียบกัน ปัจจุบัน
วิธีทดลองถูกนำไปใช้ในจิตวิทยาสมัยใหม่เกือบทุกสาขาอย่างได้ผลดี
เป็นการให้บุคคลสำรวจตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวน
และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา
แล้วรายงานความรู้สึกออกมาดายการอธิบายทั้งเหตุและผลของการกระทำนั้นๆ
การศึกษาด้วยวิธีการนี้มีข้อดีตรงที่เป็นข้อมูลตรงจากผู้ได้รับประสบการณ์
หากผู้รายงานจดจำได้แม่นยำ รายงานตามความเป็นจริงไม่ปิดบัง
มีความซื่อสัตย์และจริงใจ
แต่อาจเป็นข้อเสียถ้าผู้รายงานจำเหตุการณ์ไม่ได้หรือไม่ชัดเจนหรือไม่ต้องการบอกข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบซึ่งจะทำให้การตีความหมายของเรื่อง
เหตุการณ์นั้นคิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
เป็นการใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆพฤติกรรม
โดยให้ผู้รับการทดลองเป็นผู้ทำแบบทดสอบ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติก็ได้
แบบทดสอบจะช่วยวัดความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ รวมทั้งการวัดบุคลิกภาพ อารมณ์
ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ
และความคิดเห็นโดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาซึ่งมีหลายประเภท การใช้แบบทดสอบมีสิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือค่าความเชื่อมั่นและค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบซึ่งควรได้มาตรฐานและสามารแปรผลได้อย่างถูกต้อง
การสังเกตมี 2 ลักษณะ คือ
การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน และการสังเกตอย่างมีแบบแผน
สำหรับการสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน เป็นวิธีสังเกตธรรมชาติ ไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนล่วงหน้า
ผู้จะสังเกตสามารถสังเกตได้ตามความสะดวก
เป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลตามสภาพธรรมชาติ วิธีนี้มีข้อเสียคือ
ผู้สังเกตไม่สามารถควบคุมตัวประกอบเฉพาะส่วนที่สนใจจะศึกษาได้
ส่วนการสังเกตอย่างมีแบบแผนเป็นการสังเกตที่มีการเตรีมการและการวางแผนล่วงหน้า
กำหนดวัน เวลา สถานที่ บุคคล พฤติกรรมและสถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว
จุดสำคัญของการสังเกตคือ จะต้องทำอย่างระมัดระวัง
ผู้สังเกตต้องไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตัวสังเกต
และต้องจดบันทึกสิ่งที่ได้เห็นอย่างละเอียด โดยไม่เพิ่มเติมความรู้ส่วนตัวลงไป
นอกจากนั้นผู้สังเกตควรได้รับการฝึกหัดสังเกตมาพอสมควร ต้องเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน
และรู้จัดเทคนิคการสังเกตเป็นอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและกำจัดความลำเอียงให้มีน้อยที่สุด
เป็นวิธีการศึกษาในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้
ความเข้าใจในสิ่งนั้น วิธีนี้ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นการตั้งปัญหา (Problem) เป็นการตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจ
ต้องการศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- ขั้นการรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด
และต้องวางแผนไว้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้ด้วยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ การทดลอง
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เป็นการนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำแปลความหมายด้วยกาสรวิเคราะห์ตามหลักสถิติ
- ขั้นการสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลและรายงานผลที่ได้จาการศึกษาค้นคว้าและนำผลนั้นไปใช้
รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อไปด้วย
เป็นการศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของบุคคลซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง
แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณา
ตีความเพื่อให้เขาใจความเป็นมาในอดีตและช่วยชี้ให้เห็นปัญหาที่บุคคลนั้นกำลังเผชิญอยู่
ทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและพฤติกรรมปัจจุบัน เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ไข ปรับปรุง
ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
โดยการศึกษาหาข้อมูลของบุคคลอย่างละเอียด เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด สุขภาพ
การเรียน สังคม อารมณ์ ซึ่งอาจได้จากการสัมภาษณ์ จากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา
ญาติพี่น้อง ทั้งนี้เพือให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดให้มากที่สุด
เป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
สามารถทำได้ทั้งอย่างมีแบบแผนและไม่มีแบบแผน
จุดประสงค์เพื่อต้องการรู้รายละเอียดและทำให้เข้าใจในตัวบุคคล การใช้เทคนิคการสัมภาษณ์มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม
คือ
เป็นการถามตอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการซึ่งสามารถทำได้ทั้งเป็นหมู่และเป็นรายบุคคล โดยมีวิธีการเป็นขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ ได้แก่
การเตรียมสถานที่ คำถาม นัดหมายเวลา และสร้างความคุ้นเคยกับบุคคลที่จะถูกสัมภาษณ์
ขั้นสัมภาษณ์ เป็นการดำเนินการตามแผนที่วางไว้
พยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดหรือแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด
และขั้นสุดท้ายเป็นการยุติการสัมภาษณ์เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา (Schools
of Psychology) หมายถึง แนวคิด
ทฤษฎีที่สำคัญและระเบียบวิธีการทางจิตวิทยาเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจและเปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของกลุ่มเป็นการจัดระเบียบแนวคิดให้เป็นหมวดหมู่ตามความเชื่อและวิธีการศึกษา
โดยจัดแบ่งได้ 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
กลุ่มนี้เกิดขึ้นในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงความเจริญก้าวหน้าขิงวิชาเคมีที่มีการวิเคราะห์
สารประกอบของธาตุต่างๆ โดยอาศัยการตรวจพินิจภายในที่เกิดจากการใช้ความรู้สึก
การสัมผัสและมโนภาพดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาในกลุ่มนี้คือ การวิเคราะห์หาโครงสร้างของจิตโดยเรียกกระบวนการศึกษาจิตวิธีนี้ว่า
การพินิภายใน (Introspection) เป็นการให้ผู้ถูกทดลองพิจารณาประสบการณ์ทางจิตตนเองขณะได้รับสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส
ละอธิบายความรู้สึกของตนที่เกิดขึ้น
ความเชื่อเบื้องต้นที่เป็นมูลเหตุให้สนใจศึกษาเรื่องจิตธาตุ (Mental
Elements) มาจากความเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย (Body) กับจิตใจ (mind) ซึ่งต่างเป็นอิสระต่อกันแต่ทำงานสัมพันธ์กัน
ดังนั้น การกระทำของบุคคลจึงเกิดจากการควบคุมและสั่งการจิตใจ ผู้นำกลุ่มนี้ คือ William
Wundtเขาสรุปว่าส่วนนี้มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดเป็นความคิด
อารมณ์ ความจำ เป็นต้น
กลุ่มนี้เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1900 ผู้นำกลุ่มคือ John Dewey หรือ William James แนวคิดของกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism) และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยาคือ ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาล์ส ดาร์วิน (Chartles
Darwin) จึงเกิดการรวมตัวขิง 2 กลุ่มนี้ขึ้น
ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายถึงการดำรงอยู่ของสัตว์ที่ต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ซึ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตควรต้องศึกษาหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายในจิตใต้สำนึกมากกว่าการแยกแยะองค์ประกอบโครงสร้างของจิตออกเป็นส่วนๆ
กลุ่มนี้เชื่อว่าจิตสำนึกของมนุษย์ทำให้กระบวนการคิดและการตัดสินใจช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้
กล่าวโดยสรุปคือ กกลุ่มนี้เชื่อว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตามทั้ง John Dewey และ William
James ก็มีจุดเน้นที่ต่างกัน John Dewey เชื่อว่าเป็นประสบการณ์ (Experience) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ William James เชื่อในเรื่องสัญชาติญาณ (Instinct) ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญกว่า กลุ่มหน้าที่ของจิตใช้วิธีการศึกษาแบบสอบถาม
การทดลองทางจิตวิทยาและวิธีพรรณนาเกี่ยวกับเชิงปรนัยมิใช่ใช้เพียงการพินิจภายในเพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้น John Dewey ยังได้นำหลักของความคิดแนวนี้มาใช้กับการศึกษา
โดยเขาเห็นว่าการเรียนการสอนควรมีจุดเน้นที่ความต้องการของผู้เรียนไม่ใช่เนื้อหาในหลักสูตร
กล่าวโดยสรุป แนวคิดของกลุ่ม Functionalism เป็นดังนี้
-การกระทำทั้งหมดหรือการแสดงออกมนุษย์เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การศึกษาจิตใจคนจึงต้องศึกษาที่การแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ
-การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
พฤติกรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป
ผู้นำกลุ่มคือ Sigmund Freud จิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้วางรากฐานของจิตวิทยาคลินิก
ทฤษฎีของเขาเริ่มจากการศึกษาคนไข้โรคจิตในคลินิกของตัวเอง
จุดเน้นของจิตวิเคราะห์อยู่ที่การประยุกต์วิธีใหม่ในการบำบัดรักษาบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้จากการสังเกตในคลีนิคมิได้มาจากทำลองในห้องปฏิบัติการ พื้นฐานแนวคิดนี้มาจากความสนใจเกี่ยวกับจิตใต้สำนึกและเชื่อว่าแรงขับทางเพศมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก
ความคิดหลักของ Freud คือ
จิตมีลักษณะเป็นพลังงานเรียกว่า พลังจิตซึ่งควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของ Freud ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก
จิตสำนึก (Conscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ส่วนที่พ้นผิวน้ำซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยเป็นสภาพที่บุคคลมีสติ
รู้ตัว การแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผลและแรงผลักดันภายนอกสอดคล้องกับหลักของความจริง (Principle
of Reality)
จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) หรือจิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เปรียบเหมือน Ice
burg ที่อยู่ปริ่มผิวน้ำ
เป็นสภาพที่บุคคลมีพฤติกรรมไม่รู้ตัวในบางขณะ หรือพูดโดยไม่ตั้งใจ
ประสบการณ์ที่ผ่านมากลลายเป็นความทรงจำในอดีตที่จะถูกเก็บไว้ในจิตส่วนนี้
เมื่อไม่นึกถึงก็จะไม่รู้สึกอะไรแต่เมื่อนึกถึงจะสะเทือนใจทุกครั้ง
จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ใต้ผิวน้ำซึ่งมีปริมาณมากเป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่บุคคลกระทำโดยไม่รู้ตัว
ซึ่ง Freud วิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากการถูกเก็บกดหรือพยายามจะลืม
เช่น ความอิจฉา ความเกลียดชัง ความขมขื่นปวดร้าว บางเหตุการณ์เหมือนจะลืมไปจริงๆ
แต่ Freud อธิบายว่าแท้จริงสิ่งเหล่านั้นมิได้หายไปไหนแต่จะถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึกและจะปรากฏออกมาในรูปของความฝัน
การละเมอ เป็นต้น
นักจิตวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตไร้สำนึกและการปฏิบัติงานของจิตไร้สำนึกเป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตหรือระบบประสาท
จิตไร้สำนึกจึงเป็นเหตุจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรมแทบทุกอย่าง
นอกจากนั้นแนวคิดนี้ยังมีความเชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีเหตุจูงใจมากกว่าพลังแรงขับทางเพศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Freud ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของบุคคลดำเนินไปสู่จุดหมายของหลักแห่งความพึงพอใจ (Principle
of Pleasure) หรือเพื่อความสบายใจเป็นสำคัญส่วนใหญ่เป็นการแสดงพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากสัญชาติญาณแห่งการดำรงพันธุ์ (Sexual
Instinct) อีกทั้งพฤติกรรมต่างๆ
ที่แสดงออกยังต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามหลักแห่งความจริง (Principle
ofReality) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามสภาพแวดล้อมของสังคมและวัฒนธรรม
ฉะนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่แสดงออกตามความพอใจ เช่น สัญชาติญาณแก่งการดำรงพันธุ์ซึ่งมีตั้งแต่เด็กจึงต้องถูกกดไว้
ในบางครั้งจึงเกิดภาวะการขัดแย้งอย่างรุนแรงผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นพลังแห่งงจิตไร้สำนึก
Id เป็นสัญชาติญาณ และแรงขับที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
เป็นความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์
เป็นแหล่งเก็บพลังงานจิตทั้งหมดที่มีอยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ
การขับถ่าย การเคลื่อนไหว ความต้องการทางเพศ
รวมทั้งสัญชาติญาณแห่งการทำลายและสัญชาติญาณแห่งความตาย (Death
Instinct) มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความพอใจจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้ตามความต้องการ
โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือกฎระเบียบของสังคมใดๆ Id จึงเป็นความต้องงการใฝ่ต่ำที่มีพลังขับให้ทำตามความต้องการที่มีมาแต่เกิด
และพลังขับที่มีแรงผลักดันมากคือ สัญชาติญาณทางเพศ
Ego เป็นพลังจิตส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมให้เหมาะสม
ซึ่งบุคคลได้จากการเรียนรู้และการอบรม เป็นพลังที่ควบคุม Id ไม่ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม
เป็นความพยายามในการปรับปรุงตัวให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ทางออกของ Ego ส่วนหนึ่งคือ การใช้กลวิธานในการป้องตนเอง (Defence
Mechanism) เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายความทุกข์จากการเก็บกดและการระงับความขัดแย้งระหว่างความต้องการของตนเองกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี Ego เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมระหว่าง Id และ Super ego
Super
ego เป็นผลของการถูกลงโทษจากสังคมทำให้เกิดการเรียนรู้
จนกลายเป็นทัศนคติ (Attitude) คุณค่า (Value) และอุดมคติ (Ideal) เป็นความสามารถในการควบคุมตนเอง
สามารถแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงได้ ดังนั้น Super
ego จึงหมายถึง ค่านิยม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม คุณธรรม
หลักศีลธรรมเป็นพลังที่กำหนดให้บุคคลแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับหลักแห่งความจริงและเลือกใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (Defence
Mechanism) อย่างเหมาะสม
ขั้น Oral Stage (0-2 ปี ) เป็นขั้นที่ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การใช้ปาก
การแสดงความสุขและความพอใจของมนุษย์ระยะนี้อยู่ที่การได้รับการตอบสนองจากการใช้ปาก
เช่น การดูดนม การดูดนิ้วมือ นิ้วเท้า รวมทั้งการสัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยปาก
ถ้าเด็กได้การตอบสนองให้มีความสุขความพอใจเต็มที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
แต่ถ้าถูกขัดขวางเด็กจะเกิดภาวะชะงักงัน (Fixation) เมื่อเติบโตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ช่างนินทาว่าร้าย กินจุกกินจิก ติดบุหรี่
หมากฝรั่ง เป็นต้น
ขั้น Anal Stage (2-3 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่ทวารหนัก
เด็กจะมีความสุข มีความพอใจในการขับถ่าย
จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกเด็กขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วยวิธีการผ่อนปรนและประนีประนอม
ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เครียดและเติบโตขึ้นอย่างบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม
แต่หากตรงข้าม การฝึกอย่างเข้มงวด เคร่งครัด
ถูกทำโทษหรือฝึกหัดด้วยความฝืนใจจะทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ
มีความเครียดและเก็บความรู้สึกโกรธไว้ในจิตไร้สำนึก
ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมาจะกลายเป็นคนตระหนี่ จู้จี้ เจ้าระเบียบ
เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำร้ายผู้อื่น
ขั้น Phallic Stage (3-6 ปี) เป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่อวัยวะเพศ
เด็กจะเริ่มสนใจอวัยวะเพศและเริ่มเรียนรู้การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและจะเริ่มรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง
เด็กชายจะต้องการความรักจากแม่มมากกว่าพ่อและเด็กหญิงจะรักพ่อมากกว่าแม่ Freud เรียกระยะนี้ว่า Oedipol Stage เด็กสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โยการที่เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมพ่อเพื่อให้แม่รัก
หรือเด็กเลียนแบบแม่เพื่อให้พ่อรัก จากนั้นจะเข้าสู่บทบาทที่ถูกต้องตามเพศของตน
แต่หากเกิดภาวะชะงักชะงัน (Fixation) ในขั้นนี้
ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายไม่อาจแสดงบทบาททางเพศได้สมบูรณ์หรือขาดพ่อหรือแม่เพื่อเป็นตัวแบบ
เด็กจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติเมื่อโตขึ้น เช่น การเกิดภาวะรักร่วมเพศ (Homosexuality)
ขั้น Latency Stage (6-12 ปี) เรียกว่า ขั้นแฝง
เป็นระยะสงบเงียบที่เด็กจะต้องเปลี่ยนแปลงเข้าสู้วัยรุ่น
และเด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมและสติปัญญาเต็มที่และไม่มีปัญหาในเรื่องเพศ
ระยะนี้เด็กชายจะหันมาสนใจพ่อมากกว่าแม่ และเด็กหญิงจะรักมามากกว่าพ่อ
เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาทของเพศเดียวกันจากพ่อและแม่มากขึ้น
และเป็นระยะที่ไม่ชอบเพศตรงข้าม
ขั้น Genital Stage (12 ปีขึ้นไป) เป็นขั้นการสืบพันธุ์
เมื่อภาวะร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น
เด็กเริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศและเป็นระยะที่เด็กต้องเผชิญปัญหาต่างๆ
มากมายทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อย่างไรก็ตาม Freud เชื่อว่า ถ้าบุคคลสามารถผ่านขั้นตอนการพัฒนาในระยะ 3 ขั้นแรกได้จะนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์อย่างสมบูรณ์ที่สุด
กลุ่มนี้เกิดที่ประเทศเยอรมันในเวลาใกล้เคียงกันกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งกำลังแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา
โดยมี Max Wertheimer Woffganng Kohlor และ Kurt
Koffka เป็นกลุ่มผู้ริเริ่ม ซึ่งต่อมมา Kurt
Lewin ได้นำเอาทฤษฎีนี้มาปรับเป็นทฤษฎีใหม่ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field
Theory)
Gestalt เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า Totality ซึ่งแปลว่า
กระสวน โครงร่าง รูปร่าง รูปแบบ การรวมหน่วยย่อยหรือโครงสร้างทั้งหมด
จิตวิทยากลุ่มเกสตอลจึงหมายถึง จิตวิทยาที่ยึดถือส่วนรวมเป็นสำคัญ
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า การศึกษาจิตวิทยานั้นต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวม
จะแยกเป็นทีละส่วนไม่ได้
และเห็นว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความพยายามจะแยกศึกษาในหน่วยย่อย เช่น สิ่งเร้า
การตอบสนองซึ่งน่าจะเป็นศาสตร์แขนงอื่น
ดังนั้นกลุ่มนี้จึงสนใจพิจารณาพฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างเป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยมองในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
รวมทั้งการเรียนรู้ใดๆ
ก็ตามบุคคลจะต้องเรียนรู้จากส่วนรวมกันแล้วจึงแยกเป็นส่วนย่อยเช่นกัน
แนวคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มี 2 ประการ คือ
การรับรู้ (Perception) และการหยั่งเห็น(Insight)
การรับรู้ (Perception) หมายถึง การที่บุคคลเข้าใจสถานการณ์โดยรวมทั้งหมดก่อน (Whole) แล้วจึงจะพิจารณาส่วนย่อย (Part) เป็นส่วนๆในภายหลัง
ส่วนการหยั่งเห็น(Insight) เป็นรูปแบบของการแก้ไขปัญหาของคนและสัตว์ชั้นสูง
ซึ่งได้จากการสะสมประสบการณ์จากการเรียนรู้
โดยถือว่าเมื่อเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดบุคคลจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นเมื่อนั้น
ดังนั้น
การเรียนรู้ของคนและสัตว์จึงมิได้เกิดจากการแยกส่วนแต่เป็นการแปลความหมายของสถานการณ์ทั้งหมดเป็นส่วนรวมจนเกิดการหยั่งเห็นขึ้นในใจ
แนวคิดนี้เกิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย John B. Watson โดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานมาจากนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย
ชื่อ Pavlov ซึ่งอธิบายถึงการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองเพราะการวางเงื่อนไข
ดังนั้น
พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์จึงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
เนื่องจากจิตไม่มีตัวตน สิ่งที่สังเกตได้คือ การแสดงออกในรูปแบบของการกระทำหรือพฤติกรรมซึ่งอาจสังเกตได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสหรือด้วยเครื่องมือวัดวิธีการศึกษาของกลุ่มนี้ส่วนมากใช้วิธีการทดลองประกอบกับการสังเกตอย่างมีแบบแผน
แล้วบันทึกไว้เป็นหลักฐาน Watson เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยJohn
Hopkins ได้ประกาศทฤษฎีของเขาในหนังสือ
“จิตวิทยาในทัศนะของนักพฤติกรรมนิยม” โดยมีแนวคิดที่สำคัญ คือ
พฤติกรรมทั้งหลายเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเรากับการตอบสนอง (S-R
Bond) โดยอธิบายว่า เมื่ออินทรีย์ (Organism) ถูกเร้าจะมีการตอบสนองเกิดขึ้น วิธีการศึกษาของกลุ่มนี้อาศัยการทดลองจากสัตว์
เนื่องจากการทดลองกับสัตว์ง่ายกว่าการทดลองกับคน
และเราสามารถเรียนรู้เรื่องของคนได้จากการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น