ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้วิชาภาษาไทย 5 บท

บทที่1 หลักภาษาไทย

อักขระวิธี    ได้แก่  อักษร  แปลว่า  ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร         เสียงในภาษาไทย  มีอยู่  3  อย่าง คือ
1. เสียงแท้    ได้แก่  สระ
2. เสียงแปร   ได้แก่  พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี  ได้แก่  วรรณยุกต์
    สระ
สระในภาษาไทย  ประกอบด้วยรูปสระ21 รูป  และเสียงสระ  32 เสียง
                                                         
                                                                 พยัญชนะ

รูปพยัญชนะ   มี 44 ตัว  คือ
1. อักษรสูง  มี  11  ตัว  คือ   ข  ข  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห  
2. อักษรกลาง  มี 9   ตัว  ก  จ  ฎ  ฏ  ด  ต  บ  ป  อ
3. อักษรต่ำ   มี  24  ตัว  คือ  
      3.1  อักษรคู่  คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14  ตัว   คือ   ค   ค   ฆ  ช  ฌ ซ  ฑ  ฒ ท ธ  พ  ภ  ฟ  ฮ
      3.2 อักษรเดี่ยว   คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน  มี  10  ตัว คือ   ง  ญ  ณ  น  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์  มี  4  รูป  ได้แก่
              1. ไม้เอก
              2. ไม้โท
              3. ไม้ตรี
              4. ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย  มี   5  เสียง
               1. เสียงสามัญ   คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา  มา  ทา  เป็น  ชน  
               2. เสียงเอก  ก่า  ข่า  ป่า  ดึก   จมูก  ตก  หมด
               3. เสียงโท  เช่น  ก้า  ค่า   ลาก  พราก  กลิ้ง  สร้าง
               4. เสียงตรี  เช่น  ก๊า  ค้า  ม้า  ช้าง  โน้ต  มด
               5. เสียงจัตวา  เช่น  ก๋า  ขา  หมา  หลิว  สวย  หาม  ปิ๋ว   จิ๋ว

                                                                คำเป็นคำตาย
คำเป็น  คือ  คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กา  กี  กื  กู 
คำตาย  คือ  คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กะ  กิ  กุ   

คำสนธิ   คือ   การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน   โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ   หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท   เช่น
            ปิตุ + อิศ                                  เป็น                              ปิตุเรศ

 

            ธนู + อาคม                              เป็น                              ธันวาคม

 

            มหา + อิสี                                เป็น                              มเหสี

คำสมาส   คือ   การนำคำประสมตั้งแต่   2   คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, 

                  ความหมายคงเดิมก็มี   เช่น
             ราช + โอรส                            เป็น                             ราชโอรส
             สุธา + รส                                เป็น                             สุธารส
              คช + สาร                               เป็น                              คชสาร
คำเป็น   คือ   พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่   ก   กา   และพยางค์ที่มีตันสะกดใน   แม่  กน   กง   กม   เกย   และสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
คำตาย   คือ   พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่   ก   กา   กก   กด   กบ   แต่ยกเว้นสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา

อักษรควบ   คือพยัญชนะ   2   ตัว   ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน   เช่น   เพลา   เขมา

อักษรควบแท้   คือคำที่ควบกับ   ร   ล   ว   เช่น    ควาย  ไล่  ขวิด  ข้าง  ขวา             คว้า  ขวาน  มา  ไล่  ขว้าง ควาย  ไป

    ควาย  ขวาง  วิ่ง วน  ขวักไขว่        กวัดแกว่ง ขวานไล่  ล้ม  คว่ำ ขวาง ควาย.

อักษรควบไม่แท้    คือ   อักษร   2   ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว   ร   แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง   ร   หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น

เช่น   เศร้า   ทราย   จริง   ไซร้   ปราศรัย   สร้อย   เสร็จ   เสริม   ทรง   สร้าง   สระ

อักษรนำ   คือ   พยัญชนะ   2   ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน   บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น   หนู   หนอ   หมอ   หมี   อย่า   อยู่   อย่าง   อยาก   หรือบางคำออกเสียงเหมือน   2   พยางค์   เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง   แต่พยัญชนะ   2   ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ    เช่น
กนก   ขนม   จรัส   ไสว   ฉมวก   แถลง   ฝรั่ง   ผนวก
คำมูล   คือ   คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว   เช่น   ชน   ตัก   คน   วัด   หัด   ขึ้น   ขัด  
คำประสม   คือ   การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง   เช่น
แม่ + น้ำ     =  แม่น้ำ  แปลว่า   ทางน้ำไหล        
หาง + เสือ   =   หางเสือ แปลว่า   ที่บังคับเรือ 
ลูก + น้ำ       =      ลูกน้ำ
พยางค์   คือ   ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้   พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์   เช่น   ตา   ดี   ไป   นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด  เช่น   คน   กิน   ข้าว   หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์   เช่น   โลห์   เล่ห์
3.  พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์     เช่น   รักษ์   สิทธิ์   โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า   ประสม  5   ส่วน
วลี   คือ   กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ   และมีความหมายเป็นที่รู้กัน   เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค   คือ   กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์   เช่น
1. ประโยค   2   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา

                                                     นก                 บิน

2. ประโยค   3   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา     +     กรรม
                                                      ปลา                 กิน                มด

 
บทที่2 อักษรต่ำ สูงสระ วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า "วรรณยุกต์" ด้วยเช่นกัน โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง
เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้
  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
รูปวรรณยุกต์
เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้
ไม้เอก (-่), ไม้โท (-้), ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)
อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋) เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)
การผันเสียงวรรณยุกต์
โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ 5 เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้
หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย
เสียงสามัญ
เสียงเอก
เสียงโท
เสียงตรี
เสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็น
กา
ก่า
ก้า
ก๊า
ก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น
-
กะ
ก้ะ
ก๊ะ
ก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว
-
กาบ
ก้าบ
ก๊าบ
ก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น
-
ข่า
ข้า
-
ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น
-
ขะ
ข้ะ
-
-
อักษรสูง คำตาย สระยาว
-
ขาบ
ข้าบ
-
-
อักษรต่ำ คำเป็น
คา
-
ค่า
ค้า
-
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น
-
-
ค่ะ
คะ
ค๋ะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว
-
-
คาบ
ค้าบ
ค๋าบ
คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ
อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ 5 เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี

บทที่3  การเขียนสะกดคำ

          ระบบการเขียนภาษาไทยเป็นระบบที่มีตัวอักษรแทนเสียง ๓ ประเภท คือเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ประกอบกันเป็นพยางค์และคำ ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่างๆ เช่นการเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม การเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ การเขียนอักษรย่อ การเขียนชื่อเมือง ชื่อประเทศและการใช้เครื่องหมายประกอบคำ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้องคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานซึ่งทางราชการประกาศให้ถือเป็นแบบอย่างในการเขียน

การใช้สระ
          การใช้สระในการเขียนคำที่ปรากฏในคำไทยนั้นมีข้อสังเกตดังนี้
          ๑. การประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
                   คำที่ออกเสียง “อะ” ในภาษาไทยมีทั้งที่ปรากฏรูปสระ เรียกว่าประวิสรรชนีย์และไม่ปรากฏ      รูปสระที่เรียกว่าไม่ประวิสรรชนีย์
                   คำที่ประวิสรรชนีย์ ได้แก่
๑)      คำพยางค์เดียวที่ออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กะ จะ นะ คะ ละ
๒)      พยางค์ท้ายของคำเมื่อออกเสียงสระอะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ศิลปะ ธุระ โลหะ อิสระ อมตะ สรณะ หิมะ ลักษณะ อาสนะ แป๊ะซะ ซาบะ ซากุระ ฯลฯ
๓)      คำเดิมที่เป็นคำสองพยางค์ ต่อมาเกิดการกร่อนเสียงหน้าเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
                             หมากพร้าว       -         มะพร้าว          หมากม่วง         -         มะเขือ
                             หมากเขือ         -         มะเขือ            หมากซาง         -         มะซาง
                             หมากงั่ว          -         มะงั่ว             หมากขาม        -         มะขาม
                             ต้นแบก           -         ตะแบก           ต้นเคียน          -         ตะเคียน
                             ตาวัน             -         ตะวัน             ตาปู              -         ตะปู
                             สายดือ           -         สะดือ             สายดึง            -         สะดึง
                             เฌอเอม           -         ชะเอม            คำนึง             -         คะนึง
                             ฉันนั้น            -         ฉะนั้น            ฉันนี้              -         ฉะนี้
 ๔)      คำอัพภาสที่กร่อนมาจากคำซ้ำและมักใช้ในคำประพันธ์ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
     ริกริก             -         ระริก             แย้มแย้ม          -         ยะแย้ม
     ครื้นครื้น          -         คะครื้น           ฉาดฉาด          -         ฉะฉาด
     วับวับ             -         วะวับ             วาบวาบ          -         วะวาบ
 ๕)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง กระ ประ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
                             กระษัย           กระษาปณ์       กระเสียร         กระหนก
                             ประกาศ                   ประณีต           ประจักษ์         ประคอง
                             ประสิทธิ์          ประสาท                   ประมาท          ประเดิม
 ๖)      คำที่พยางค์หน้าออกเสียง ระ ที่มาจากภาษาเขมร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ระเบียน ระบำ ระเบียบ ระเมียร ระลอก ระมาด
๗)      คำที่มาจากภาษาจีน ญี่ปุ่น ชวาและอื่นๆ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
     บะหมี่            ตะหลิว           บะจ่าง            ประไหมสุหรี
     มะเดหวี          ประหนัน         ระตู               มะงุมมะงาหรา
     กะละมัง          มะกะโท          ตะเกิง            กะละแม
     อะแซหวุ่นกี้      มะตะบะ         ฯลฯ
บทที่4  คำและประโยค
ชนิดและหน้าที่ของประโยค
ความหมายและส่วนประกอบของประโยค 
ความหมายของประโยค 
ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น 

ส่วนประกอบของประโยค 
ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้ 

1. ภาคประธาน 
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น 

2. ภาคแสดง 
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ 

ชนิดของประโยค 
ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้ 

1. ประโยคความเดียว 
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 


2. ประโยคความรวม 
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 

2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ 
ตัวอย่าง 
• ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์ 
• ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม 
• ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา 
• พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย 
สันธานที่ใช้ใน 4 ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง – และ, แล้วก็, พอ – แล้วก็ 

หมายเหตุ : คำ “แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง 

2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น 
ตัวอย่าง 
• พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน 
• ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ 

2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง 
ตัวอย่าง 
• ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง 
• คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล 

2.4 ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล 
ตัวอย่าง 
• เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ 
• คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ 

ข้อสังเกต 
• สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด 
• สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น – จึง, ทั้ง – และ, แต่ – ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า “สันธานคาบ”มักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี 
• ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้ 


3. ประโยคความซ้อน 
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค 
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้ 

3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม 

ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม 
• คนทำดีย่อมได้รับผลดี 
คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก 
คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน 

• ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน 
ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก 
นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม 
3.2 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย 
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย 

• คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต 
ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน 
- คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก 
- (คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย 

• ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา 
ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน 
- ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก 
- (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย 
3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย 

ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์ 

• เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน 
เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก 
(เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา 

• ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก 
ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก 
แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน) 


หน้าที่ของประโยค 
ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 
1. บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น 
- ฉันไปพบเขามาแล้ว 
- เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ 
2. ปฏิเสธ 
เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น 
- เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว 
- นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ 
3. ถามให้ตอบ 
เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น 
- เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา 
- เธอเห็นปากกาของฉัน ไหม 
4. บังคับ ขอร้อง และชักชวน 
เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น 
- ห้าม เดินลัดสนาม 
- กรุณา พูดเบา 
บทที่ 5การผันวรรณยุกต์อักษรสูง
วรรณยุกต์ หมายถึง เครื่องหมายที่แสดงเสียงสูง ต่ำ ของคำในภาษาไทย มี ๔ รูป คือ
เอก
โท
ตรี
จัตวา
ในภาษาไทยคำทุกคำเมื่อใส่วรรณยุกต์เข้าไปแล้ว จะทำให้อ่านออกเสียงต่างกัน และความหมายของคำก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น
คำ

(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ตี
ตี่
ตี้
ตี๊
ตี๋
ปา
ป่า
ป้า
ป๊า
ป๋า
เกา
เก่า
เก้า
เก๊า
เก๋า
อาน
อ่าน
อ้าน
อ๊าน
อ๋าน

อักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ

อักษรไทยแบ่งตามการออกเสียงเป็น ๓ หมู่ หรือเป็นระบบไตรยางศ์ได้ดังนี้
  • อักษรกลาง มี ๙ ตัว ได้แก่
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
  • อักษรสูง มี ๑๑ ตัว ได้แก่
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
  • อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
 อักษรต่ำคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว ๗ เสียง ได้แก่
ค, ฅ, ฆ (ข,ฃ) ช, ฌ (ฉ) ซ (ศ, ษ, ส) ฑ, ฒ, ท, ธ (ฐ, ถ) พ, ภ (ผ) ฟ (ฝ) และ ฮ (ห)
 อักษรต่ำเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีทั้งสิ้น ๑๐ ตัว ได้แก่
ง, ญ, ณ, น, ม, ย, ร, ล, ว และ ฬ

การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ

อักษรกลาง

  • อักษรกลาง พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง คือ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น

คำ

(สามัญ)

(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ปู
ปู
ปู่
ปู้
ปู๊
ปู๋
จา
จา
จ่า
จ้า
จ๊า
จ๋า
อา
อา
อ่า
อ้า
อ๊า
อ๋า
ไก
ไก
ไก่
ไก้
ไก๊
ไก๋

แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๔ เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา เช่น

คำ

(สามัญ)

(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
กัด
-
กัด
กั้ด
กั๊ด
กั๋ด
จาก
-
จาก
จ้าก
จ๊าก
จ๋าก
อาบ
-
อาบ
อ้าบ
อ๊าบ
อ๋าบ
บีบ
-
บีบ
บี้บ
บี๊บ
บี๋บ

อักษรสูง

  • อักษรสูง พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น

คำ

(สามัญ)

(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ไข
-
ไข่
ไข้
-
ไข
ขา
-
ข่า
ข้า
-
ขา
ผึง
-
ผึ่ง
ผึ้ง
-
ผึง
ฝาย
-
ฝ่าย
ฝ้าย
-
ฝาย

แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท เช่น

คำ

(สามัญ)

(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ขัด
-
ขัด
ขั้ด
-
-
ผิด
-
ผิด
ผิ้ด
-
-
สาบ
-
สาบ
ส้าบ
-
-
ฝาก
-
ฝาก
ฝ้าก
-
-

อักษรต่ำ

  • อักษรต่ำ พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น

คำ

(สามัญ)

(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ทา
ทา
-
ท่า
ท้า
-
ลม
ลม
-
ล่ม
ล้ม
-
รอง
รอง
-
ร่อง
ร้อง
-
งาว
งาว
-
ง่าว
ง้าว
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น