ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิธีการสอนผู้เรียน

ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน

มาตรฐานศตวรรษที่ 21

มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้
เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย
การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
 การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21

สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21
มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง
สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21

ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่​​การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา
การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน
แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21
ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน
ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้
รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม
ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )
เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ  รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
  การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน
                                                                                                
 การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา  รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น  โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล
ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (nerve centers) ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (create a culture of inquiry)
ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom´s Taxonomy of Learning) จะเปลี่ยนไป เน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น (higher order learning skills) โดยเฉพาะทักษะการประเมินค่า (evaluating skills) จะถูกแทนที่โดยทักษะการนำเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (ability to use new knowledge in a creative way)  ในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรด และเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะพบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง (life in the real world) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (lifelong learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น (flexible in how we teach) มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา (resourceful) ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป
ลักษณะของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จะเป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (critical attributes) เชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (research-driven) เชื่อมโยงท้องถิ่นชุมชนเข้ากับภาค ประเทศ และโลก ในบางโอกาสนักเรียนสามารถร่วมมือ (collaboration) กับโครงงานต่าง ๆได้ทั่วโลก เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ความรู้พื้นฐานเชิงพหุสำหรับศตวรรษที่ 21 และการประเมินผลตามสภาพจริง รวมทั้งการเรียนรู้จากการให้บริการ (service) ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ภาพของห้องเรียน จะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น (greater community) นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้  (self-directed) มีการทำงานทั้งอย่างเป็นอิสระและอย่างร่วมมือกันคนอื่น หลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับนักเรียนทุกคน และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตำราเป็นตัวขับเคลื่อน (textbook-driven) หรือแบบแยกส่วน (fragmented) เช่นในอดีต แต่จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทาง (as an end) เช่นที่เคยเป็นมา แต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและการปฏิบัติในโครงงาน การเรียนรู้จากตำราจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ (knowledge) จะไม่หมายถึงการจดจำข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ทักษะและเนื้อหาที่ได้รับจะเกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติในโครงงาน จะไม่จบลงตรงที่การได้รับทักษะและเนื้อหาแล้วเท่านั้น การประเมินผลจะเปลี่ยนจากการประเมินความจำและความไม่เกี่ยวโยงกับความเข้าใจต่อการนำไปปฏิบัติได้จริง ไปเป็นการประเมินที่ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย (self-assessment)  ทักษะที่คาดหวังสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ บูรณาการ ยึดโครงงานเป็นฐาน และอื่นๆ ดังกล่าวจะเน้นเรื่อง 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills)  2) ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills) ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ (collaboration) ในการทำงานเป็นทีม การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ในปัญหาที่ซับซ้อน การนำเสนอด้วยวาจาและด้วยการเขียน การใช้เทคโนโลยี ความเป็นพลเมืองดี การฝึกปฏิบัติอาชีพ การวิจัย และการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
ดังนั้น การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้  เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม  และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาเรียนเพื่ออนาคต  ให้นักเรียนมีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข
6.ยอมรับเฉพาะข้อมูลที่ได้จากระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ข้อมูลที่ได้ต้องมาจากการสังเกต



จิตวิทยาการสอน

ความหมายของจิตวิทยา
 
จิตวิทยา หรือ Psychology มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับ (Logos) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษา (Study) ดังนั้น หากให้ความหมายตามนิยามดั้งเดิม จิตวิทยาจึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study of soul ) ต่อมา มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำ หรือกระบวนการคิด พร้อมๆ กับการศึกษาเรื่องสติปัญญา ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล รวมทั้งเรื่องของตน (Self) และเรื่องราวของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัวของบุคคล โดยนำการสังเกตและการทดลองมาเกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความรู้มาใช้ในการศึกษาอย่างเป็นระบบ เป็นการศึกษาที่เน้นเฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เท่านั้นมีผู้ให้คำจำกัดความจิตวิทยาที่น่าสนใจ 
ดังนี้ 
- John B. Watson กล่าวว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
- Crow & Crow เห็นจิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
- Good คิดว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
- Hilgard กล่าวว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ
- William Jamesให้ทัศนะว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการมนุษย์
กล่าวโดยสรุป คือ จิตวิทยาได้เปลี่ยนเป็นศาสตร์ที่ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม (Behavior)ของมนุษย์ (Psychology is the science of behavior)

ความสำคัญของจิตวิทยา

จิตวิทยามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอย่างกว้างขวาง ผู้ศึกษาจิตวิทยาสามารถได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ความต้องการ การแก้ปัญหา การปรับตัว อารมณ์และความรู่สึกในสถานการณ์ต่างๆ
2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี สามารถเอาชนะปมด้อยต่างๆ รู้วิธีแก้ปัญหาและปรับตัวอย่างเหมาะสม ขจัดความขัดแย้งในใจได้และความวิตกกังวลได้
3.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม
4.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณที่พยายามค้นหาความหมายของจิต ซึ่งในระยะแรกจะคิดถึงหัวใจและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 19 การศึกษา จิตวิทยาแยกออกเป็น 2 แนวทาง คือแนวทางปรัชญาและแนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญา คือจอห์น ล็อค (John Lock, 1632-1704) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่ง จิตวิทยาแผนใหม่ ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ เขาเชื่อว่าจิตเปรียบเหมือนกระดาษที่ว่างเปล่า แต่เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทำให้เกิดรอยขีดเขียน ดังนั้น สิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อจิตมาก เขาอธิบายว่าจิตของมนุษย์เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้ และถูกเชื่อมโยงต่อกัน ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากขณะที่การอธิบายเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องยากไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน การศึกษาจิตวิทยาจึงถูกนำไปใช้ในการทดลอง การสังเกต การพิจารณาในเวลาต่อมา บุคคลที่เข้ามาศึกษาจิตวิทยาในเวลาต่อมานอกจาก John Lock แล้ว ดังนี้

Cassman ได้เขียนหนังสือชื่อ Aythropologica อธิบายเกี่ยวกับความรู้เรื่องจิตของมนุษย์ในปี 1590 ทำให้วิชา Psychology เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
Emest Hinrich Weber (1795-1878) ผู้ค้นพบพื้นฐานร่วมระหว่างความรู้สึกทางสรีระกับจิตวิทยาฟิสิกส์ เขาศึกษาเกี่ยวกับสัมผัสและความรู้สึกทางกล้ามเนื้อ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยวิธีการหาความแตกต่างของการรับความรู้สึกของผู้ถูกทดลอง
Charles Darwins (1809-1882) ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการในปี 1859 เขาเชื่อว่าต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ชั้นต่ำ ทฤษฎีนี้ทำให้ความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นต้นกำเนิดชีวิตหายไป และเหตุนี้ทำให้เกิดจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Psychology) ขึ้น
Sir Francis Galton (1822-1911) ให้ความสนใจในเรื่องพันธุกรรมศาสตร์ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของความแตกต่างระหว่างบุคคล ถือเป็นผู้เริ่มจิตวิทยาการทดลองเป็นคนแรกในประเทศอังกฤษ ส่วนวิธีการศึกษาที่นำมาใช้คือการทำ Case Study รวมทั้งสร้างแบบทดสอบและใช้วิธีการทางสถิติตอย่างง่าย
William James (1832-1920) นักจิตวิทยาและนักสรีระวิทยาชาวเยอรมันเป็นผู้ทำให้วิชาจิตวิทยาแยกออกมาจากวิชาปรัชญาและได้รับการยอมรับว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาเชิงวิทยาศาสตร์ หรือบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง เขาเป็นผู้เริ่มตั้งห้องทดลองขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งได้เปิดห้องปฏิบัติการวิจัยทางจิตวิทยา Leopzig การศึกษาของ Wundt มุ่งค้นคว้าธรรมชาติของจิตสำนึก (Consciousness) ของบุคคล ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส โดยเน้นที่จักษุสัมผัสและทดลองเกี่ยวกับความใส่ใจ จินตนาการ การคิดหาเหตุผล นับเป็นการเริ่มต้นศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
William James(1842-1901) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1890 ชื่อว่า Principle of Psychology ซึ่งเป็นตำราที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย เขาสนใจศึกษาจิตวิทยาทุกสาขาแล้วนำมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดใหม่ ผลงานที่ปรากฏได้แก่ ทฤษฎีอารมณ์ การถ่ายเทการเรียนรู้ และแนวคิดเกี่ยวกับสัญชาติญาณ จิตสำนึกและจิตไร้สำนึก
G.Stanley Hall (1846-1939) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ตั้งห้องปฏิบัติการตามแบบ Wundt ที่มหาวิทยาลัย John Hopkins เมื่อปี 1883 มุ่งเน้นศึกษาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น เขาออกวารสารทางจิตวิทยาขึ้นเป็นฉบับแรกชื่อว่า American Johrnal of Psychology ในปี 1887

John B.Watson (1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นอาจารย์สอนเป็นการสะท้อนให้เห็น
จิตของบุคคล เนื่องจากจิตเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่มีตัวตน ไม่สามารถสังเกตหรือใช่เครื่องมือวัดได้ ดังนั้น เมื่อต้องการศึกษาเรื่องจิตก็ควรศึกษาเรื่องของพฤติกรรม ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่

ขอบข่ายของจิตวิทยา

1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
6.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้นT
8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน
9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต

ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้

จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา

จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา คือ เพื่อให้เข้าใจ (Understanding) เพื่อการทำนาย (Prediction) และเพื่อควบคุม (Control) พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ กู๊ดวินและคลอส ไมเออร์(Goodwill & Cross Mier,1975) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา ไว้ดังนี้
1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย
2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรื่น
5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม
7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
ระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา จำแนกได้ 7วิธี ดังนี้

1.วิธีทดลอง (Experimental Method)

การทดลองสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ไม่ว่าจะเป็นการทดลองชนิดใดต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่ การปฏิบัติซ้ำเพื่อตรวจสอบผลให้เกิดความมั่นใจ การควบคุมเพื่อไม่ให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวแปร คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ และต้องมีขอบเขตจำกัด ในการทดลองจะมีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวประกอบ 2 ตัว หรือ 2กลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental Group) เป็นกลุ่มที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม (Control Group) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกเปรียบเทียบกัน ปัจจุบัน วิธีทดลองถูกนำไปใช้ในจิตวิทยาสมัยใหม่เกือบทุกสาขาอย่างได้ผลดี

2.วิธีการตรวจสอบจิต (Introspection)

เป็นการให้บุคคลสำรวจตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวน และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา แล้วรายงานความรู้สึกออกมาดายการอธิบายทั้งเหตุและผลของการกระทำนั้นๆ การศึกษาด้วยวิธีการนี้มีข้อดีตรงที่เป็นข้อมูลตรงจากผู้ได้รับประสบการณ์ หากผู้รายงานจดจำได้แม่นยำ รายงานตามความเป็นจริงไม่ปิดบัง มีความซื่อสัตย์และจริงใจ แต่อาจเป็นข้อเสียถ้าผู้รายงานจำเหตุการณ์ไม่ได้หรือไม่ชัดเจนหรือไม่ต้องการบอกข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบซึ่งจะทำให้การตีความหมายของเรื่อง เหตุการณ์นั้นคิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

3.วิธีใช้แบบทดสอบ (Testing Method)

เป็นการใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆพฤติกรรม โดยให้ผู้รับการทดลองเป็นผู้ทำแบบทดสอบ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติก็ได้ แบบทดสอบจะช่วยวัดความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ รวมทั้งการวัดบุคลิกภาพ อารมณ์ ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และความคิดเห็นโดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาซึ่งมีหลายประเภท การใช้แบบทดสอบมีสิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือค่าความเชื่อมั่นและค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบซึ่งควรได้มาตรฐานและสามารแปรผลได้อย่างถูกต้อง

4.วิธีสังเกต (Observation)

การสังเกตมี 2 ลักษณะ คือ การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน และการสังเกตอย่างมีแบบแผน สำหรับการสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน เป็นวิธีสังเกตธรรมชาติ ไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนล่วงหน้า ผู้จะสังเกตสามารถสังเกตได้ตามความสะดวก เป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลตามสภาพธรรมชาติ วิธีนี้มีข้อเสียคือ ผู้สังเกตไม่สามารถควบคุมตัวประกอบเฉพาะส่วนที่สนใจจะศึกษาได้ ส่วนการสังเกตอย่างมีแบบแผนเป็นการสังเกตที่มีการเตรีมการและการวางแผนล่วงหน้า กำหนดวัน เวลา สถานที่ บุคคล พฤติกรรมและสถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จุดสำคัญของการสังเกตคือ จะต้องทำอย่างระมัดระวัง ผู้สังเกตต้องไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตัวสังเกต และต้องจดบันทึกสิ่งที่ได้เห็นอย่างละเอียด โดยไม่เพิ่มเติมความรู้ส่วนตัวลงไป นอกจากนั้นผู้สังเกตควรได้รับการฝึกหัดสังเกตมาพอสมควร ต้องเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน และรู้จัดเทคนิคการสังเกตเป็นอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและกำจัดความลำเอียงให้มีน้อยที่สุด

5.วิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

เป็นวิธีการศึกษาในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจในสิ่งนั้น วิธีนี้ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นการตั้งปัญหา (Problem) เป็นการตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจ ต้องการศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- ขั้นการรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด และต้องวางแผนไว้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้ด้วยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การทดลอง
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เป็นการนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำแปลความหมายด้วยกาสรวิเคราะห์ตามหลักสถิติ
- ขั้นการสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลและรายงานผลที่ได้จาการศึกษาค้นคว้าและนำผลนั้นไปใช้ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อไปด้วย

6.วิธีการศึกษารายกรณี (Case Study Method)

เป็นการศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของบุคคลซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณา ตีความเพื่อให้เขาใจความเป็นมาในอดีตและช่วยชี้ให้เห็นปัญหาที่บุคคลนั้นกำลังเผชิญอยู่ ทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและพฤติกรรมปัจจุบัน เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ โดยการศึกษาหาข้อมูลของบุคคลอย่างละเอียด เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด สุขภาพ การเรียน สังคม อารมณ์ ซึ่งอาจได้จากการสัมภาษณ์ จากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ทั้งนี้เพือให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดให้มากที่สุด

7.วิธีการสัมภาษณ์ (Interview)

เป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถทำได้ทั้งอย่างมีแบบแผนและไม่มีแบบแผน จุดประสงค์เพื่อต้องการรู้รายละเอียดและทำให้เข้าใจในตัวบุคคล การใช้เทคนิคการสัมภาษณ์มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม คือ เป็นการถามตอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการซึ่งสามารถทำได้ทั้งเป็นหมู่และเป็นรายบุคคล โดยมีวิธีการเป็นขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมสถานที่ คำถาม นัดหมายเวลา และสร้างความคุ้นเคยกับบุคคลที่จะถูกสัมภาษณ์ ขั้นสัมภาษณ์ เป็นการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ พยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดหรือแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด และขั้นสุดท้ายเป็นการยุติการสัมภาษณ์เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

แนวทัศนะของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา (Schools of Psychology) หมายถึง แนวคิด ทฤษฎีที่สำคัญและระเบียบวิธีการทางจิตวิทยาเพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจและเปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงของกลุ่มเป็นการจัดระเบียบแนวคิดให้เป็นหมวดหมู่ตามความเชื่อและวิธีการศึกษา โดยจัดแบ่งได้ 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1.กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต (Structuralism)

กลุ่มนี้เกิดขึ้นในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงความเจริญก้าวหน้าขิงวิชาเคมีที่มีการวิเคราะห์ สารประกอบของธาตุต่างๆ โดยอาศัยการตรวจพินิจภายในที่เกิดจากการใช้ความรู้สึก การสัมผัสและมโนภาพดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาในกลุ่มนี้คือ การวิเคราะห์หาโครงสร้างของจิตโดยเรียกกระบวนการศึกษาจิตวิธีนี้ว่า การพินิภายใน (Introspection) เป็นการให้ผู้ถูกทดลองพิจารณาประสบการณ์ทางจิตตนเองขณะได้รับสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัส ละอธิบายความรู้สึกของตนที่เกิดขึ้น ความเชื่อเบื้องต้นที่เป็นมูลเหตุให้สนใจศึกษาเรื่องจิตธาตุ (Mental Elements) มาจากความเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย (Body) กับจิตใจ (mind) ซึ่งต่างเป็นอิสระต่อกันแต่ทำงานสัมพันธ์กัน ดังนั้น การกระทำของบุคคลจึงเกิดจากการควบคุมและสั่งการจิตใจ ผู้นำกลุ่มนี้ คือ William Wundtเขาสรุปว่าส่วนนี้มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดเป็นความคิด อารมณ์ ความจำ เป็นต้น

2.กลุ่มหน้าที่แห่งจิต (Functionalism)

กลุ่มนี้เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1900 ผู้นำกลุ่มคือ John Dewey หรือ William James แนวคิดของกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism) และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยาคือ ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาล์ส ดาร์วิน (Chartles Darwin) จึงเกิดการรวมตัวขิง 2 กลุ่มนี้ขึ้น ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายถึงการดำรงอยู่ของสัตว์ที่ต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ซึ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตควรต้องศึกษาหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายในจิตใต้สำนึกมากกว่าการแยกแยะองค์ประกอบโครงสร้างของจิตออกเป็นส่วนๆ กลุ่มนี้เชื่อว่าจิตสำนึกของมนุษย์ทำให้กระบวนการคิดและการตัดสินใจช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ กล่าวโดยสรุปคือ กกลุ่มนี้เชื่อว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามทั้ง John Dewey และ William James ก็มีจุดเน้นที่ต่างกัน John Dewey เชื่อว่าเป็นประสบการณ์ (Experience) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ William James เชื่อในเรื่องสัญชาติญาณ (Instinct) ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญกว่า กลุ่มหน้าที่ของจิตใช้วิธีการศึกษาแบบสอบถาม การทดลองทางจิตวิทยาและวิธีพรรณนาเกี่ยวกับเชิงปรนัยมิใช่ใช้เพียงการพินิจภายในเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น John Dewey ยังได้นำหลักของความคิดแนวนี้มาใช้กับการศึกษา โดยเขาเห็นว่าการเรียนการสอนควรมีจุดเน้นที่ความต้องการของผู้เรียนไม่ใช่เนื้อหาในหลักสูตร กล่าวโดยสรุป แนวคิดของกลุ่ม Functionalism เป็นดังนี้
-การกระทำทั้งหมดหรือการแสดงออกมนุษย์เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษาจิตใจคนจึงต้องศึกษาที่การแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ
-การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล พฤติกรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป

3.กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychology)

ผู้นำกลุ่มคือ Sigmund Freud จิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เป็นผู้วางรากฐานของจิตวิทยาคลินิก ทฤษฎีของเขาเริ่มจากการศึกษาคนไข้โรคจิตในคลินิกของตัวเอง จุดเน้นของจิตวิเคราะห์อยู่ที่การประยุกต์วิธีใหม่ในการบำบัดรักษาบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้จากการสังเกตในคลีนิคมิได้มาจากทำลองในห้องปฏิบัติการ พื้นฐานแนวคิดนี้มาจากความสนใจเกี่ยวกับจิตใต้สำนึกและเชื่อว่าแรงขับทางเพศมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก ความคิดหลักของ Freud คือ จิตมีลักษณะเป็นพลังงานเรียกว่า พลังจิตซึ่งควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของ Freud ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก
ฟรอยด์ อธิบายว่า จิตของมนุษย์มี 3 ระดับ โดยเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง (Ice burg) คือ
จิตสำนึก (Conscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ส่วนที่พ้นผิวน้ำซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยเป็นสภาพที่บุคคลมีสติ รู้ตัว การแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผลและแรงผลักดันภายนอกสอดคล้องกับหลักของความจริง (Principle of Reality)
จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) หรือจิตกึ่งสำนึก (Preconscious) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ปริ่มผิวน้ำ เป็นสภาพที่บุคคลมีพฤติกรรมไม่รู้ตัวในบางขณะ หรือพูดโดยไม่ตั้งใจ ประสบการณ์ที่ผ่านมากลลายเป็นความทรงจำในอดีตที่จะถูกเก็บไว้ในจิตส่วนนี้ เมื่อไม่นึกถึงก็จะไม่รู้สึกอะไรแต่เมื่อนึกถึงจะสะเทือนใจทุกครั้ง
จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เปรียบเหมือน Ice burg ที่อยู่ใต้ผิวน้ำซึ่งมีปริมาณมากเป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่บุคคลกระทำโดยไม่รู้ตัว ซึ่ง Freud วิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากการถูกเก็บกดหรือพยายามจะลืม เช่น ความอิจฉา ความเกลียดชัง ความขมขื่นปวดร้าว บางเหตุการณ์เหมือนจะลืมไปจริงๆ แต่ Freud อธิบายว่าแท้จริงสิ่งเหล่านั้นมิได้หายไปไหนแต่จะถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึกและจะปรากฏออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ เป็นต้น
นักจิตวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตไร้สำนึกและการปฏิบัติงานของจิตไร้สำนึกเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตหรือระบบประสาท จิตไร้สำนึกจึงเป็นเหตุจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรมแทบทุกอย่าง นอกจากนั้นแนวคิดนี้ยังมีความเชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีเหตุจูงใจมากกว่าพลังแรงขับทางเพศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม Freud ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของบุคคลดำเนินไปสู่จุดหมายของหลักแห่งความพึงพอใจ (Principle of Pleasure) หรือเพื่อความสบายใจเป็นสำคัญส่วนใหญ่เป็นการแสดงพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากสัญชาติญาณแห่งการดำรงพันธุ์ (Sexual Instinct) อีกทั้งพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกยังต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามหลักแห่งความจริง (Principle ofReality) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตามสภาพแวดล้อมของสังคมและวัฒนธรรม ฉะนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่แสดงออกตามความพอใจ เช่น สัญชาติญาณแก่งการดำรงพันธุ์ซึ่งมีตั้งแต่เด็กจึงต้องถูกกดไว้ ในบางครั้งจึงเกิดภาวะการขัดแย้งอย่างรุนแรงผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นพลังแห่งงจิตไร้สำนึก
Freud กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของจิตไว้ 3 ส่วน คือ Id Ego และSuper ego รวม เรียกว่า พลังจิต
Id เป็นสัญชาติญาณ และแรงขับที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นแหล่งเก็บพลังงานจิตทั้งหมดที่มีอยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ การขับถ่าย การเคลื่อนไหว ความต้องการทางเพศ รวมทั้งสัญชาติญาณแห่งการทำลายและสัญชาติญาณแห่งความตาย (Death Instinct) มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความพอใจจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้ตามความต้องการ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือกฎระเบียบของสังคมใดๆ Id จึงเป็นความต้องงการใฝ่ต่ำที่มีพลังขับให้ทำตามความต้องการที่มีมาแต่เกิด และพลังขับที่มีแรงผลักดันมากคือ สัญชาติญาณทางเพศ
Ego เป็นพลังจิตส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมให้เหมาะสม ซึ่งบุคคลได้จากการเรียนรู้และการอบรม เป็นพลังที่ควบคุม Id ไม่ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม เป็นความพยายามในการปรับปรุงตัวให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ทางออกของ Ego ส่วนหนึ่งคือ การใช้กลวิธานในการป้องตนเอง (Defence Mechanism) เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายความทุกข์จากการเก็บกดและการระงับความขัดแย้งระหว่างความต้องการของตนเองกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี Ego เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมระหว่าง Id และ Super ego
Super ego เป็นผลของการถูกลงโทษจากสังคมทำให้เกิดการเรียนรู้ จนกลายเป็นทัศนคติ (Attitude) คุณค่า (Value) และอุดมคติ (Ideal) เป็นความสามารถในการควบคุมตนเอง สามารถแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงได้ ดังนั้น Super ego จึงหมายถึง ค่านิยม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม คุณธรรม หลักศีลธรรมเป็นพลังที่กำหนดให้บุคคลแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับหลักแห่งความจริงและเลือกใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (Defence Mechanism) อย่างเหมาะสม
นอกจากนั้น Freud ยังอธิบายว่า โครงสร้างของบุคลิกภาพมนุษย์ มี 5 ขั้น คือ
ขั้น Oral Stage (0-2 ปี ) เป็นขั้นที่ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การใช้ปาก การแสดงความสุขและความพอใจของมนุษย์ระยะนี้อยู่ที่การได้รับการตอบสนองจากการใช้ปาก เช่น การดูดนม การดูดนิ้วมือ นิ้วเท้า รวมทั้งการสัมผัสสิ่งต่างๆ ด้วยปาก ถ้าเด็กได้การตอบสนองให้มีความสุขความพอใจเต็มที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่ถ้าถูกขัดขวางเด็กจะเกิดภาวะชะงักงัน (Fixation) เมื่อเติบโตขึ้นจะเป็นผู้ใหญ่ช่างนินทาว่าร้าย กินจุกกินจิก ติดบุหรี่ หมากฝรั่ง เป็นต้น
ขั้น Anal Stage (2-3 ปีเป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่ทวารหนัก เด็กจะมีความสุข มีความพอใจในการขับถ่าย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกเด็กขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วยวิธีการผ่อนปรนและประนีประนอม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เครียดและเติบโตขึ้นอย่างบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม แต่หากตรงข้าม การฝึกอย่างเข้มงวด เคร่งครัด ถูกทำโทษหรือฝึกหัดด้วยความฝืนใจจะทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ มีความเครียดและเก็บความรู้สึกโกรธไว้ในจิตไร้สำนึก ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมาจะกลายเป็นคนตระหนี่ จู้จี้ เจ้าระเบียบ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำร้ายผู้อื่น
ขั้น Phallic Stage (3-6 ปีเป็นขั้นที่มีความสุขของมนุษย์อยู่ที่อวัยวะเพศ เด็กจะเริ่มสนใจอวัยวะเพศและเริ่มเรียนรู้การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและจะเริ่มรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง เด็กชายจะต้องการความรักจากแม่มมากกว่าพ่อและเด็กหญิงจะรักพ่อมากกว่าแม่ Freud เรียกระยะนี้ว่า Oedipol Stage เด็กสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โยการที่เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมพ่อเพื่อให้แม่รัก หรือเด็กเลียนแบบแม่เพื่อให้พ่อรัก จากนั้นจะเข้าสู่บทบาทที่ถูกต้องตามเพศของตน แต่หากเกิดภาวะชะงักชะงัน (Fixation) ในขั้นนี้ ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายไม่อาจแสดงบทบาททางเพศได้สมบูรณ์หรือขาดพ่อหรือแม่เพื่อเป็นตัวแบบ เด็กจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติเมื่อโตขึ้น เช่น การเกิดภาวะรักร่วมเพศ (Homosexuality)
ขั้น Latency Stage (6-12 ปีเรียกว่า ขั้นแฝง เป็นระยะสงบเงียบที่เด็กจะต้องเปลี่ยนแปลงเข้าสู้วัยรุ่น และเด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมและสติปัญญาเต็มที่และไม่มีปัญหาในเรื่องเพศ ระยะนี้เด็กชายจะหันมาสนใจพ่อมากกว่าแม่ และเด็กหญิงจะรักมามากกว่าพ่อ เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาทของเพศเดียวกันจากพ่อและแม่มากขึ้น และเป็นระยะที่ไม่ชอบเพศตรงข้าม
ขั้น Genital Stage (12 ปีขึ้นไปเป็นขั้นการสืบพันธุ์ เมื่อภาวะร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น เด็กเริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศและเป็นระยะที่เด็กต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมายทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อย่างไรก็ตาม Freud เชื่อว่า ถ้าบุคคลสามารถผ่านขั้นตอนการพัฒนาในระยะ 3 ขั้นแรกได้จะนำไปสู่ภาวะทางอารมณ์อย่างสมบูรณ์ที่สุด

4.กลุ่มเกสตอลท์ (Gestalt Psychology)

กลุ่มนี้เกิดที่ประเทศเยอรมันในเวลาใกล้เคียงกันกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งกำลังแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา โดยมี Max Wertheimer Woffganng Kohlor และ Kurt Koffka เป็นกลุ่มผู้ริเริ่ม ซึ่งต่อมมา Kurt Lewin ได้นำเอาทฤษฎีนี้มาปรับเป็นทฤษฎีใหม่ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
Gestalt เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า Totality ซึ่งแปลว่า กระสวน โครงร่าง รูปร่าง รูปแบบ การรวมหน่วยย่อยหรือโครงสร้างทั้งหมด จิตวิทยากลุ่มเกสตอลจึงหมายถึง จิตวิทยาที่ยึดถือส่วนรวมเป็นสำคัญ นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า การศึกษาจิตวิทยานั้นต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวม จะแยกเป็นทีละส่วนไม่ได้ และเห็นว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความพยายามจะแยกศึกษาในหน่วยย่อย เช่น สิ่งเร้า การตอบสนองซึ่งน่าจะเป็นศาสตร์แขนงอื่น ดังนั้นกลุ่มนี้จึงสนใจพิจารณาพฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างเป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยมองในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งการเรียนรู้ใดๆ ก็ตามบุคคลจะต้องเรียนรู้จากส่วนรวมกันแล้วจึงแยกเป็นส่วนย่อยเช่นกัน แนวคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มี 2 ประการ คือ การรับรู้ (Perception) และการหยั่งเห็น(Insight)
การรับรู้ (Perception) หมายถึง การที่บุคคลเข้าใจสถานการณ์โดยรวมทั้งหมดก่อน (Whole) แล้วจึงจะพิจารณาส่วนย่อย (Part) เป็นส่วนๆในภายหลัง ส่วนการหยั่งเห็น(Insight) เป็นรูปแบบของการแก้ไขปัญหาของคนและสัตว์ชั้นสูง ซึ่งได้จากการสะสมประสบการณ์จากการเรียนรู้ โดยถือว่าเมื่อเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดบุคคลจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้น การเรียนรู้ของคนและสัตว์จึงมิได้เกิดจากการแยกส่วนแต่เป็นการแปลความหมายของสถานการณ์ทั้งหมดเป็นส่วนรวมจนเกิดการหยั่งเห็นขึ้นในใจ

5.กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

แนวคิดนี้เกิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย John B. Watson โดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานมาจากนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ชื่อ Pavlov ซึ่งอธิบายถึงการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองเพราะการวางเงื่อนไข ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์จึงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เนื่องจากจิตไม่มีตัวตน สิ่งที่สังเกตได้คือ การแสดงออกในรูปแบบของการกระทำหรือพฤติกรรมซึ่งอาจสังเกตได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสหรือด้วยเครื่องมือวัดวิธีการศึกษาของกลุ่มนี้ส่วนมากใช้วิธีการทดลองประกอบกับการสังเกตอย่างมีแบบแผน แล้วบันทึกไว้เป็นหลักฐาน Watson เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยJohn Hopkins ได้ประกาศทฤษฎีของเขาในหนังสือ “จิตวิทยาในทัศนะของนักพฤติกรรมนิยม” โดยมีแนวคิดที่สำคัญ คือ พฤติกรรมทั้งหลายเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเรากับการตอบสนอง (S-R Bond) โดยอธิบายว่า เมื่ออินทรีย์ (Organism) ถูกเร้าจะมีการตอบสนองเกิดขึ้น วิธีการศึกษาของกลุ่มนี้อาศัยการทดลองจากสัตว์ เนื่องจากการทดลองกับสัตว์ง่ายกว่าการทดลองกับคน และเราสามารถเรียนรู้เรื่องของคนได้จากการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์
แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้ คือ
1.กลุ่มพฤติกรรมนิยมศึกษาเนื้อหา ระเบียบวิธีแนววิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
2.มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้หรือสามารถวัดได้
3.มุ่งศึกษาเกี่ยวกับกลไกทางสรีรวิทยา เช่น การทำงานของต่อมระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ
4.ยอมรับเฉพาะระเบียบวินัยวิธีปรนัย ไม่ยอมรับวิธีการสังเกตตนเองหรือลักษณะวิธีแบบอัตนัย
5.มุ่งศึกษาพฤติกรรมโดยเฉพาะ ต้องการให้จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรม
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21